ข้ามไปเนื้อหา

ชะมดต้น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชะมดต้น
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Malvales
วงศ์: Malvaceae
สกุล: Abelmoschus
สปีชีส์: A.  moschatus
ชื่อทวินาม
Abelmoschus moschatus
Medik.
ชื่อพ้อง[1]
รายการ
    • Abelmoschus abelmoschus (L.) H.Karst. nom. inval.
    • Abelmoschus betulifolia Wall.
    • Abelmoschus chinensis Wall.
    • Abelmoschus ciliaris Walp.
    • Abelmoschus cryptocarpus Walp.
    • Abelmoschus cubensis Walp.
    • Abelmoschus cucurbitaceus Walp.
    • Abelmoschus haenkeanus C.Presl
    • Abelmoschus marianus C.Presl
    • Abelmoschus palustris Walp.
    • Abelmoschus pseudoabelmoschus (Blume) Walp.
    • Abelmoschus roseus Walp.
    • Abelmoschus sublobatus C.Presl
    • Hibiscus abelmoschus L.
    • Hibiscus collinsianus Nutt. ex Torr. & A. Gray
    • Hibiscus moschatus (Medik.) Salisb.

ชะมดต้น ชื่อวิทยาศาสตร์: Abelmoschus moschatus มีชื่อสามัญหลายชื่อ เช่น Abelmosk, ambrette seeds, annual hibiscus, Bamia Moschata, Galu Gasturi, muskdana, musk mallow,[2]เป็นพืชในวงศ์ Malvaceae เป็นพืชล้มลุก อายุปีเดียว ใบเดี่ยว ผิวใบมีขนรูปดาวทั้งสองด้าน ก้านใบยาว ดอกเดี่ยว กลีบดอกสีเหลือง โคนกลีบสีแดง เกสรตัวผู้จำนวนมาก เชื่อมติดเป็นท่อยาว เมล็ดรูปไต มีกลิ่นฉุน

เทียนชะมด

เมล็ดของพืชชนิดนั้ทางแพทย์แผนไทยเรียกเทียนชะมด ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ ขับลม บดกับน้ำนมใช้ทาแก้หิด ถ้าเคี้ยวจะได้กลิ่นเหมือนชะมดเช็ด เมล็ดบดเป็นผง ใช้โรยตู้เสื้อผ้าเพื่อป้องกันแมลง น้ำมันที่กลั่นจากเมล็ดใช้ทำน้ำหอม[3] เมล็ดใช้แต่งกลิ่นกาแฟ ใบใช้รับประทานเป็นผัก ในอินเดีย พืชชนิดนี้ใช้ทำยาตามตำราอายุรเวท[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "The Plant List: A Working List of All Plant Species". สืบค้นเมื่อ June 14, 2014.
  2. "USDA GRIN Taxonomy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 2014-06-15.
  3. ชยันต์ พิเชียรสุนทร และ วิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 3 เครื่องยาสัตววัตถุ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2556.หน้า 245 - 246
  4. L. D. Kapoor (2000). Handbook of Ayurvedic Medicinal Plants: Herbal Reference Library. Taylor & Francis.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]