ข้ามไปเนื้อหา

ชอฮือซึนดา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Shah-i-Zinda
Shah-i-Zinda in 2007
ศาสนา
ศาสนาศาสนาอิสลาม
ที่ตั้ง
ที่ตั้งซามาร์กันด์ อุซเบกิสถาน
สถาปัตยกรรม
ประเภทสุสานใหญ่
รูปแบบตีมูริด

ชอฮีซินดา (อุซเบก: Shohizinda; เปอร์เซีย: شاه زنده; Shah-i-Zinda, แปลว่า "กษัตริย์ผู้ยังดำรงชีพอยู่") เป็นสุสานใหญ่ในซามาร์กันด์ ประเทศอุซเบกิสถาน หมู่อาคารประกอบด้วยสิ่งปลูกสร้างย่อยสามกลุ่ม: ตอนบน ตอนกลาง และตอนล่าง ทั้งหมดเชื่อมต่อกันด้วยทางเดินมีโดมคลุมเรียกว่า chartak สิ่งปลูกสร้างที่เก่าแก่ที่สุดในชอฮีซินดาอายุราวศตวรรษที่ 11-12 ส่วนสิ่งปลูกสร้างส่วนใหญ่ที่ยังเห็นถึงปัจจุบันอายุมาจากศตวรรษที่ 14-15 ถึงแม้จะมีการก่อสร้างใหม่ในศตวรรษที่ 16-19 แต่ก็ไม่ได้มีผลมากต้อองค์ประกอบหรือลักษณะของหมู่อาคารมากนัก[1] ส่วนหลักของหมู่อาคารเดิมทีคือหมู่อาคารกูซามิบน์อับบาส (Kusam-ibn-Abbas) ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วยหลายอาคาร โดยมีอาคารที่เก่าแก่สุดคือกูซามิบน์อับบาส (Kusam-ibn-Abbas) และมัสยิด จากศตวรรษที่ 16[2]

หมู่อาคารตอนบนประกอบด้วยอนุสรณ์ศพจำนวนสามอาคารหันหน้าเข้าหากัน ในจำนวนนี้มีอาคารเก่าแก่สุดคืออนุสรณ์ไว้ศพโฆดยา-อัฆมัด (Khodja-Akhmad Mausoleum, สร้างในทศวรรษ 1340)[3][4][5] หมู่อาคารตอนกลางประกอบด้วยอนุสรณ์ไว้ศพจากปลายศตวรรษที่ 14 ถึงต้นศตวรรษที่ 15 มีชื่อตั้งตามชื่อของญาติ นายพล และขุนนางของจักรพรรดิตีมูร์ อาคารสำคัญในหมู่อาคารตอนกลางนี้มีอาคารทางตะวันตก คืออนุสรณ์ศพชาดีมูลก์อากา (Mausoleum of Shadi Mulk Aga) หลานสาวของจักรพรรดิตีมูร์ ส่วนตรงข้ามกันเป็นอนุสรณ์ไว้ศพของชีรินบีกาอากา (Mausoleum of Shirin Bika Aga) พี่/น้องสาวของจักรพรรดิตีมูร์[6][7][8] ในบรรดาหมู่อาคารตอนล่างมีอาคารสำคัญคืออนุสรณ์ไว้ศพของกาซี ซาเด อัลรูมี นักวิทยาศาสตร์และนักดาราศาสตร์คนสำคัญ สร้างขึ้นโดยอูลุก เบก และมีความสูงเทียบเท่ากับอนุสรณ์ศพของสมาชิกในราชวงศ์[9]

อ้างอิง

[แก้]