ฉลาด วรฉัตร
ฉลาด วรฉัตร | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตราด | |
ดำรงตำแหน่ง 22 เมษายน พ.ศ. 2522 – 19 มีนาคม พ.ศ. 2526 | |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร | |
ดำรงตำแหน่ง 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 – 8 เมษายน พ.ศ. 2530 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด |
เสียชีวิต | 14 ธันวาคม พ.ศ. 2564 (78 ปี) เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร |
คู่สมรส | จันทรา วรฉัตร |
เรืออากาศตรี ฉลาด วรฉัตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตราดและกรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ นักเคลื่อนไหวทางการเมือง ผู้ได้รับฉายาว่า "จอมอด"
ประวัติ
[แก้]ร.ต.ฉลาด เกิดวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 ที่จังหวัดตราด[1] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านวิศวกรรมศาสตร์ จาก Adamson University[2] ประเทศฟิลิปปินส์
งานการเมือง
[แก้]ร.ต.ฉลาด วรฉัตร เคยเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตราด (ส.ส.ตราด) สังกัดพรรคประชาปัตย์ ในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2522
ในปี พ.ศ. 2523-2524 ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (ไกรสร ตันติพงศ์)
ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 ดำรงตำแหน่งประธานชมรมเคเบิลทีวี
ในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2529 ได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส.กรุงเทพมหานคร
และเคยเป็นรองหัวหน้าพรรคมวลชน[3] แต่เป็นได้ไม่นานก็ลาออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองด้วยตัวเอง ด้วยการประท้วงอดข้าวจนเป็นที่รู้จักกันดี
วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2535 ร.ต.ฉลาด ประกาศอดข้าวประท้วงหน้ารัฐสภาจนกว่า พลเอก สุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรีจะลาออก แต่ไม่ได้รับการตอบรับจากรัฐบาล นับว่าเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงบุคคลแรกที่ต่อต้านรัฐบาลขณะนั้นอย่างเปิดเผย
ร.ต.ฉลาด กลับมาอดข้าวประท้วงอีกหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 เพื่อประท้วงการยึดอำนาจ และต่อเนื่องด้วยการขังตัวเองอยู่ในกรงขังหน้ารัฐสภาเพื่อประท้วงการรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่ง ร.ต.ฉลาดได้กล่าวว่าจะผูกคอตายถ้าการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านการลงประชามติ[ต้องการอ้างอิง] แต่ไม่ได้กระทำตามนั้น
เรืออากาศตรี ฉลาด อดข้าวประทัวงหน้าอาคารรัฐสภาอีกครั้ง ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เพื่อต่อต้านการใช้กฎอัยการศึก ตลอดจนการกระทำรัฐประหารของกองทัพ[4]
วันที่ 10 มิถุนายน 2557 ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาฯ เรืออากาศตรี ฉลาด วรฉัตร พร้อมทนายความ ยื่นฟ้องพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พร้อมคณะ ปลัดกระทรวงต่าง ๆ และเจ้ากรมพระธรรมนูญ รวม 27 คน ในความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ และกบฏ จากกรณีที่ร่วมกันประกาศกฎอัยการศึกและยึดอำนาจปกครองประเทศ
เรืออากาศตรี ฉลาด กล่าวว่า การประกาศกฎอัยการศึกนั้น ประเทศต้องอยู่ในภาวะสงครามหรือเกิดเหตุการณ์ความรุนแรง และต้องประกาศเฉพาะในพื้นที่ที่เกิดเหตุการณ์ และยังต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและพระบรมราชโองการ แต่ทหารละเมิดอำนาจ หากหลังจากนี้ถูก คสช. เรียกให้ไปรายงานตัว ก็จะไม่ไปตามนั้น แต่ไม่หลบหนี ให้ไปจับที่หน้ารัฐสภา[5]
วันที่ 6 กรกฎาคม 2557 เรืออากาศตรี ฉลาด ได้ประกาศยุติการอดอาหารประท้วงโดยมีสาเหตุจากปัญหาด้านสุขภาพ[6]
การเสียชีวิต
[แก้]เรืออากาศตรีฉลาด ได้ถึงแก่อนิจกรรมลงด้วยอาการหัวใจวายเฉียบพลัน ณ บ้านพักการเคหะท่าทราย แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร สิริอายุรวม 78 ปี[7]ในวันที่17 ธันวาคม พ.ศ. 2564 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานหีบทองลายสลักประกอบศพ
ในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2564 จัดพิธีพระราชทานเพลิงศพที่วัดพระศรีมหาธาตุ โดยมีประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ อดีตสมาชิกวุฒิสภาเป็นประธาน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2529 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[8]
- พ.ศ. 2526 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ฉลาดอดข้าว
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2014-06-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กรมการปกครอง
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคมวลชนเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคราชกิจจานุเบกษา เล่ม 105 ฉบับพิเศษ ตอนที่ 162ก วันที่ 5 ตุลาคม 2531
- ↑ ประชาไท, 'ฉลาด วรฉัตร' ยันอดอาหารต้านรัฐประหารจนตาย
- ↑ ฉลาด-ฟ้อง-ประยุทธ์-คณะคสช-ข้อหากบฏ-หมิ่นสถาบัน
- ↑ "ฉลาด"ประกาศยุติอดอาหารประท้วง เก็บถาวร 2014-07-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, โพสต์ทูเดย์, 6 กรกฎาคม 2557
- ↑ "ปิดตำนาน จอมอดข้าวประท้วง "ฉลาด วรฉัตร" หัวใจวายเฉียบพลัน ในวัย 78 ปี". www.thairath.co.th. 2021-12-15.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘๐๒, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เอกสารวิชาการ โครงการตลาดวิชา มหาวิทยาลัยชาวบ้าน - พฤษภา 35 Bloody May 1992
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2486
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2564
- การเมืองภาคประชาชน
- นักเคลื่อนไหวชาวไทย
- ทหารอากาศชาวไทย
- นักการเมืองจากจังหวัดตราด
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตราด
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- พรรคมวลชน
- นักการเมืองพรรคพลังธรรม
- บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
- บุคคลจากจังหวัดตราด
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ม.
- บุคคลในประวัติศาสตร์ไทย พ.ศ. 2516–2544
- บุคคลในประวัติศาสตร์ไทย หลัง พ.ศ. 2544