ข้ามไปเนื้อหา

ฉบับร่าง:สโนว์ชู (แมว)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
  • ความคิดเห็น: วิกิพีเดียปฏิเสธเนื้อหาที่คัดลอกและวาง (copy-pasted) จากแหล่งอื่นนอกโครงการทุกกรณี เพราะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ -- Chainwit. พูดคุย 〉 23:35, 5 ธันวาคม 2567 (+07)

รายงานละเมิดลิขสิทธิ์

แมวสโนว์ชู
Common nicknamesSnowshoe Siamese,
Silver Laces
ต้นกำเนิด สหรัฐอเมริกา
มาตรฐานพันธุ์
FIFestandard
TICAstandard
WCFstandard
ACFA/CAAมาตรฐาน
GCCFมาตรฐาน
แมวบ้าน (Felis catus)

สโนว์ชู เป็นพันธุ์แมวที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 1950 มีการพัฒนาสายพันธุ์แมวสยามร่วมกับแมวเบอร์แมนให้มีลักษณะทางกายภาพที่แตกต่าง โดยปรับเปลี่ยนลักษณะของอุ้งเท้าให้มีสีขาว เรียกสายพันธุ์นี้ว่าแมวซิลเวอร์เลซ แต่ไม่สบความสำเร็จเท่าไหร่นัก จึงล้มเลิกไปในที่สุด จนกระทั่งปี 1960 นักผสมพันธุ์แมวสยามชาวฟิลาเดลเฟียที่มีชื่อว่า โดโรธี ฮินดส์ ดอร์เฮอร์ธี ได้ทำการพัฒนาสายพันธุ์ แมวสยามร่วมกับแมวอเมริกันช็อตแฮร์ลายจนประสบความสำเร็จกลายเป็นแมวสโนว์ชูในที่สุด ซึ่งมีลักษณะที่โดดเด่น และแตกต่างจากแมวสยามทั่วไปคือ ลักษณะของอุ้งเท้าที่เป็นสีขาวล้วนเหมือนกับรองเท้าหิมะนั่นเอง นับตั้งแต่นั้นมาก็ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น และมีความนิยมเป็นอย่างมากในปี 1982 จนถึงปัจจุบัน[1]

ประวัติ

[แก้]

แมวพันธุ์สโนว์ชูจะยังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเป็นทางการจนกระทั่งกลางศตวรรษที่ 20 โดยจากประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ พบว่า ลูกแมววิเชียรมาศที่มีเท้าสีขาวและมีรอยสีขาวบนหน้านั้นเกิดขึ้นตามธรรมชาติ

ในช่วงทศวรรษ 1960 โดโรธี ฮินส์ โดเฮอร์ตี้ ( Dorothy Hinds-Daugherty ) ผู้เพาะพันธุ์วิเชียรมาศในฟิลาเดลเฟียสังเกตเห็นว่าลูกแมวสามตัว ซึ่งทั้งหมดมาจากครอกเดียวกัน ได้พัฒนารูปแบบ Snowshoe แทนที่จะเป็นจุดสีทึบ เนื่องจากเท้าสีขาวนั้นไม่เป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานสายพันธุ์วิเชียรมาศ เธอจึงตัดสินใจเริ่มต้นสายพันธุ์ใหม่ ดังนั้นแมวพันธุ์สโนว์ชูจึงได้เริ่มต้นขึ้น

เมื่อลูกแมวเท้าขาวโตเต็มวัย พวกเขาจะถูกผสมข้ามกับแมวอเมริกันช็อตแฮร์ที่มีลายทักซิโด้ ในตอนแรกลูกแมวที่เกิดมาถูกเรียกว่าแมวซิลเวอร์แลนซ์ ( Silver Lace ) คนอื่น ๆ รวมถึงผู้เพาะพันธุ์แมว วิกกิ โอแลนเดอร์ ( Vikki Olander ) ต่างก็สังเกตเห็น และรอยสีขาวซึ่งแต่เดิมมองว่าเป็นแมววิเชียรมาศที่บกพร่อง ก็กลายเป็นจุดเด่นของแมวสายพันธุ์ใหม่ที่ยอดเยี่ยมที่ผสมผสานลักษณะที่ดีที่สุดของสมาชิกผู้ก่อตั้งเข้าด้วยกัน

American Cat Fanciers Association (ACFA) ยอมรับ สโนว์ชู ในปี 1982 และได้รับสถานะแชมป์ในปี 1990 International Cat Association (TICA) ให้การยอมรับแมว สโนว์ชู อย่างเป็นทางการในปี 1993 ในสหราชอาณาจักร สโนว์ชู ได้รับสถานะเต็มสายพันธุ์กับ The Governing Council of the Cat Fancy (GCCF) ในปี 2013

ปัจจุบัน แมวพันธุ์สโนว์ชูได้รับการยอมรับไปทั่วโลก แต่แมวพันธุ์สโนว์ชูที่มีคุณภาพค่อนข้างหายาก เนื่องจากอาจเป็นเรื่องยากที่จะเพาะพันธุ์ลูกแมวที่มียีนด้อยสำหรับทั้งจุดสี และรูปแบบวงกลมที่ทำให้ สโนว์ชูมีรูปลักษณ์ที่โดดเด่น การหาสโนว์ชู ที่มีสีขาวมากเกินไปหรือน้อยเกินไปจะหาได้ง่ายกว่า[2]

ลักษณะ

[แก้]

ถึงแม้จะมีลักษณะคล้ายกับแมวสยาม แต่แมวสโนว์ชูก็มีความแตกต่างเฉพาะตัว ไม่ว่าจะเป็นลักษณะทางกายภาพ หรือลักษณะนิสัย โดยความแตกต่างของน้องแมวสโนว์ชูสามารถสังเกตได้ ดังนี้

  • หู ลักษณะของหูแมวสายพันธุ์สโนว์ชูจะมีขนาด:กลางตลอดจนขนาดใหญ่ โดยจะมีปลายหูที่โค้งมนเล็กน้อย
  • หัว
มีรูปทรงเป็นรูปสามเหลี่ยม ซึ่งแตกต่างจากแมวสายพันธุ์อื่น ๆ ทั่วไป แต่ในบางครั้งเราสามารถพบน้องแมวที่มีลักษณะของหัวคล้ายแอปเปิ้ลเหมือนแมวตัวอื่น ๆ ได้เช่นเดียวกัน
  • ลำตัว แมวสายพันธุ์สโนว์ชูมีลำตัวขนาดกลาง มี:ความยาวกว่าแมวทั่วไป น้ำหนักสุทธิอยู่ที่ประมาณ 6 กิโลกรัมหรือมากกว่าขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดู รวมถึงลักษณะของเส้นขนที่มีความสั้น แต่มีลวดลายแทรกแทรงอยู่ตามเส้นขน สลับขาวดำทำให้มีลวดลายที่แตกต่างจนกลายเป็นความโดดเด่นด้วยการแรเงาของสีขนตามลำตัว เช่น หลัง ไหล่ และสะโพก เป็นต้น
  • ขา และ อุ้งเท้า
ขาเรียว สัดส่วนกับลำตัว อุ้งเท้าเป็นวงรีขนาดกลาง ขอบเขตของสีขาวบนอุ้งเท้าของแมวใกล้เคียงกันที่เท้าหน้า และเท้าหลังทั้งสองข้าง
  • ดวงตา แมวสายพันธุ์สโนว์ชูเป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์ที่โดดเด่น เพราะจะลักษณะของสีตาที่เต็มไปด้วยสีฟ้า และขนาดกลมโต คล้ายกับถั่ววอลนัท
  • ขน
ขนสั้นปานกลางโดยไม่มีขนชั้นในที่สังเกตเห็นได้ชัดเจนให้ความรู้สึกหนาแน่น และยืดหยุ่นดูมันวาว และเรียบเนียน
  • อุ้งเท้า
อุ้งเท้าของแมวสายพันธุ์สโนว์ชูนั้นจะเป็นสีขาวทั้งหมด ไม่มีสีอื่นแทรกเข้ามาจนกลายเป็นลวดลาย เพียงแต่สีจะเข้ม หรืออ่อนนั้นขึ้นอยู่กับอายุ
  • สี
สโนว์ชูทุกตัวมีอุ้งเท้าสีขาวสี่อันที่ตัดกับจุดสีของแมว ซึ่งโดยปกติจะเป็นสีแมวน้ำ หรือสีน้ำเงิน แมวอาจมีสีขาวได้ไม่เกิน ⅓ ของร่างกายโดยรวม สีขาวอาจขยายไปถึงเอี๊ยม ขาสีขาว หน้าท้องสีขาว และรูปตัว V กลับหัวบนใบหน้าที่ขยายจากดั้งจมูกผ่านแผ่นหนวด และลงไปถึงคาง คางก็ควรเป็นสีขาวเช่นกัน สโนว์ชูแบบคัลเลอร์พอยต์ สโนว์ชูแบบสองสี และสโนว์ชูสีขาว หรือ สีฮาลีย์ควิน ( Harlequin: พื้นตัวขาว มีแต้มบนหัว มีจุดสีตามตัวแบบสุ่ม หางมีสี ) อาจได้รับการพิจารณาว่า เหมาะสำหรับการจัดแสดง หรือไม่ โดยสโนว์ชูขนยาวอาจได้รับการยอมรับให้แสดง แต่โดยทั่วไปไม่ถือว่าเหมาะสำหรับการผสมพันธุ์

นิสัย

[แก้]

แมวสโนว์ชูเป็นแมวอารมณ์ดีมีความน่ารักหากไว้ใจใครแล้วก็จะมอบความจงรักภักดีให้อย่างทุ่มสุดตัว พร้อมที่จะช่วยปลอบโยนแมวสโนชูยังมีเฉลียวฉลาด แมวสายพันธุ์นี้ขึ้นชื่อเรื่องความฉลาดเป็นอย่างมาก พร้อมที่จะเรียนรู้ทักษะต่าง ๆ อยู่เสมอ แมวสายพันธุ์สโนว์ชูก็สามารถปรับตัวให้เข้ากับชุดคำสั่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อ้างอิง

[แก้]
  1. "6 ข้อควรรู้ก่อนเลี้ยงแมวสโนว์ชู!". 2023-01-19.
  2. Meowbarn (2022-03-08). "แมวสโนว์ชู". Meowbarn (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).

หมวดหมู่:พันธุ์แมว หมวดหมู่:พันธุ์แมวที่มีต้นกำเนิดในสหรัฐ หมวดหมู่:พันธุ์แมวหายาก