ฉบับร่าง:สภาอุตสาหกรรมภาพยนตร์แห่งประเทศไทย
นี่คือบทความฉบับร่างซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถแก้ไขได้ โปรดตรวจสอบว่าเนื้อหามีลักษณะเป็นสารานุกรมและมีความโดดเด่นควรแก่การรู้จักก่อนที่จะเผยแพร่เป็นบทความลงในวิกิพีเดีย กรุณาอดทนรอผู้เขียนคนอื่นมาช่วยตรวจให้ อย่าย้ายหน้าไปเป็นบทความเองโดยพลการ ค้นหาข้อมูล: Google (books · news · newspapers · scholar · free images · WP refs) · FENS · JSTOR · NYT · TWL สำคัญ: ถ้าลบป้ายนี้ออกจะทำให้บันทึกหน้าไม่ได้ ผู้แก้ไขหน้านี้คนล่าสุด คือ PanImage (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) เมื่อ 53 วันก่อน (ล้างแคช) |
ต้นสังกัดหน่วยงาน |
---|
สภาอุตสาหกรรมภาพยนตร์แห่งประเทศไทย เป็นนิติบุคคลภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีให้ผู้ประกอบการภาพยนตร์มีส่วนร่วมในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย[1] ซึ่งจะจัดตั้งขึ้นในอนาคตภายหลังร่างพระราชบัญญัติภาพยนตร์ พ.ศ. ... มีผลบังคับใช้
ประวัติ
[แก้]สภาอุตสาหกรรมภาพยนตร์แห่งประเทศไทยเตรียมจัดตั้งขึ้นตามมาตรา 20 ของร่างพระราชบัญญัติภาพยนตร์ พ.ศ. ... ซึ่งร่างขึ้นเพื่อมาใช้แทนพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวิดีทัศน์ พ.ศ. 2551[1]
วัตถุประสงค์
[แก้]ตามมาตรา 21 กำหนดให้สภามีวัตถุประสงค์ดังนี้
(๑) เป็นตัวแทนของสมาชิกในการเสนอความเห็น ประสานงาน และสนับสนุนการดำเนินงานด้านนโยบายระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนเกี่ยวกับอุตสาหกรรมภาพยนตร์
(๒) เสนอความเห็นและข้อเสนอแนะต่อภาครัฐในเรื่องที่เกี่ยวกับแนวทาง คำสั่ง กฎ ระเบียบ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมภาพยนตร์
(๓) เสนอความเห็นหรือให้คำปรึกษาต่อหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในเรื่องที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมภาพยนตร์
(๔) ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาขีดความสามารถของสมาชิกให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล
(๕) ส่งเสริมและพัฒนาทักษะของบุคลากรในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ให้มีมาตรฐานสากล
(๖) ส่งเสริมและกำกับดูแลให้เกิดคุณภาพ มาตรฐาน และจรรยาบรรณในการประกอบกิจการในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ รวมทั้งควบคุมและกำกับดูแลให้สมาชิกปฏิบัติตามข้อบังคับและจรรยาบรรณในการประกอบกิจการ รวมทั้งปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการประกอบกิจการในอุตสาหกรรมภาพยนตร์
(๗) ประสานงานและทำความตกลงร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อประโยชน์ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์
(๘) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการประกอบกิจการในอุตสาหกรรมภาพยนตร์รวมทั้งเสนอแนะแนวทางแก้ไขต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(๙) ดำเนินกิจการอื่นเพื่อประโยชน์ของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ หรือตามที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง
คณะกรรมการบริหารสภา
[แก้]ตามมาตรา 30 กำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารสภาอุตสาหกรรมภาพยนตร์แห่งประเทศไทยจำนวนไม่เกิน 15 คน โดยเลือกตั้งจากผู้แทนสมาชิกสามัญและสมาชิกวิสามัญในการประชุมใหญ่ของสภา โดยมีประธานสภา 1 คน รองประธานสภา 1 คนหรือหลายคนก็ได้ เลขาธิการสภา 1 คน และตำแหน่งอื่น ๆ ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของสภา
สมาชิก
[แก้]สภาอุตสาหกรรมภาพยนตร์แห่งประเทศไทยประกอบด้วยสมาชิก 3 ประเภทคือ
- ประเภทสามัญ ได้แก่ นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและประกอบกิจการที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมภาพยนตร์หรืออุตสาหกรรมบันเทิง และสมาคมที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมหรือสนับสนุนการประกอบกิจการที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ หรืออุตสาหกรรมบันเทิง
- ประเภทวิสามัญ ได้แก่ บุคคลธรรมดาที่อยู่ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ หรืออุตสาหกรรมบันเทิง
- ประเภทกิตติมศักดิ์ ได้แก่ ผู้ซึ่งคณะกรรมการบริหารสภาเชิญมาเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์จาก
- ผู้ทรงคุณวุฒิในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ หรืออุตสาหกรรมบันเทิง
- ผู้ทรงคุณวุฒิในสถาบันการศึกษาที่จัดการศึกษาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ หรืออุตสาหกรรมบันเทิง
- บุคคลหรือนิติบุคคลผู้ซึ่งทำประโยชน์ให้แก่สภา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "วธ. เปิดร่าง พ.ร.บ.ภาพยนตร์ ฉบับใหม่ คุมเข้มเนื้อหากระทบ "เกียรติภูมิประเทศ"". ไทยพีบีเอส. 30 กรกฎาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2024.