ข้ามไปเนื้อหา

ฉบับร่าง:พระเจ้าพงษาสุระ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
  • ความคิดเห็น: กรุณาอย่านำเว็บไซต์ socialและเว็บกระทู้ เช่น facebook มาอ้างอิงครับ เว็บที่ควรนำมาอ้างอิงควรเป็นเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือ Kaoavi (คาโอะเอวีไอ) (คุย) 21:41, 2 เมษายน 2567 (+07)

พงษาสุระ
ครองราชย์พ.ศ. 1806 - 1818
รัชสมัย12 ปี
ราชาภิเษกพ.ศ. 1806
ก่อนหน้าพระเจ้าจันทรภาณุ
ถัดไปล่มสลาย ไม่มีรัชทายาทสืบราชบัลลังก์
ประสูติไม่ทราบ
สวรรคตพ.ศ. 1818
ราชวงศ์ปัทมวงศ์
พระบิดาไม่ทราบ
พระมารดาไม่ทราบ
ศาสนาพุทธ

พระเจ้าพงษาสุระ[1] เป็นกษัตริย์ผู้ครองอาณาจักรตามพรลิงค์และแจฟฟ์นา[2] พระองค์เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าจันทรภาณุกษัตริย์แห่งตามพรลิงค์ในราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราชหรือปัทมวงศ์[3] พระองค์เข้ายึดภาคเหนือของศรีลังกาในปี พ.ศ. 1798 ในระหว่างที่พระองค์ปกครองอาณาจักรแจฟฟ์นา มาร์โค โปโล นักเดินทางชาวเวนิส ได้เดินทางมาเยือนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของศรีลังกา

โรคห่าครั้งใหญ่ในปลายรัชสมัยของพระองค์ ทรงเป็นพระอนุชาในพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชและพระเจ้าจันทรภาณุ[4]

การขึ้นครองราชย์[5]

[แก้]

หลังการสวรรคตของมหาราชจันทรภาณุ พระอนุชาของพระองค์ที่มีพระนามว่า “ พงษาสุระ ” ได้เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นพระเจ้าศรีธรรมโศกราช ท่ามกลางความเสื่อมสลายของบ้านเมือง ศรีวิชัยในตอนสุดท้ายนี้ ได้เปรียบประหนึ่งราชสีห์ที่ชราและบาดเจ็ด อยู่ท่ามกลางสัตว์ร้ายที่หนุ่มเต็มกำลัง ด้วยสภาวะบ้านเมืองที่ถดถอย จึงทำให้หัวเมืองที่ห่างไกล “ ค่อยๆ ” เอาใจออกห่าง บ้างก็ประกาศตัวเป็นอิสระ บ้างก็ส่งบรรณาการตามนึกชอบ

หลังจากที่ศรีวิชัยสูญเสียสิงหลให้กับราชวงศ์ศิริสังฆโพธิ ที่มีสำนักมหาวิหารคอยหนุนหลังแล้ว พระเจ้าปรากรมพาหุ พร้อมพระเถระในฝ่ายมหาวิหารได้เข้าชำระล้างฝ่ายอภัยคีรีวิหาร บีบบังคับให้ฝ่ายอภัยคีรีวิหาร “ ยอมแพ้ ” และ “ ยอมสวามิภักดิ์ ” แก่ฝ่ายมหาวิหาร ที่ตอนนี้กลายเป็นขั้วอำนาจเต็มในสิงหล ดินแดนสุดท้ายที่เป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแล้ว ชัยชนะได้ตกแก่ฝ่ายเถรวาท ทำให้พระภิกษุในนิกายเถรวาทจากลังกาเดินทางมายังดินแดนต่างๆ ในสุวรรณภูมิ ทางตะวันตกได้ผ่านอาณาจักรหงสาวดีเป็นหลัก ส่วนในทางตะวันออก กลุ่มภิกษุเถรวาทจากสิงหลได้ผ่านศิริธรรมนคร ขึ้นไปยังดินแดนต่างๆ ในราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งการเผยแผ่ของพระภิกษุนิกายเถรวาทนั้นเป็นไปอย่างรวดเร็ว เพราะพราหมณ์เจ้าถิ่นเองก็สนับสนุน ใช้พระภิกษุเถรวาทไปจัดการล้มล้างอิทธิพลของนักบวชวัชรยานให้หมดสิ้น ดังที่เห็นได้จากร่องรอยการเปลี่ยนแปลงทางความเชื่อในอาณาจักรพระนคร ที่มีการทำลายล้างศาสนสถานในนิกายวัชรยานอย่างราบคาบ

ความเสื่อมโทรมในปลายรัชสมัย

[แก้]

บ้านเมืองศรีวิชัยในยุคสมัยพระเจ้าศรีธรรมโศกราชพงษาสุระ เป็นยุคที่ต้องการ การฟื้นฟูอย่างหนักหลังจากที่ศรีวิชัยพ่ายแพ้ยุทธนาวีที่สิงหลถึงสองครั้ง การศาสนา ได้เกิดการผสมผสานระหว่างพระภิกษุในนิกายดั่งเดิม และนิกายที่มาจากต่างถิ่น จนกระทั่งพัฒนาเป็นระบบ “ พระครูสี่กา ” ขึ้นมาเพื่อดูแลพระมหาสถูปยอดทองในแต่ละทิศ หลังจากที่มหาราชพงษาสุระสามารถจัดการความวุ่นวายทางศาสนาลงได้ พระองค์ก็ต้องเผชิญกับภัยความขัดแย้งที่ใหญ่กว่า เมื่ออาณาจักรเดคีรีทางใต้ ได้กลายเป็นอาณาจักรสิงหัสส่าหรี นำโดยพระเจ้าเกียรตินคร หรือที่คนไทยรู้จักกันในนาม “ อิเหนามิสาระปันหยี ” ได้ยกทัพชาวชวาเข้าทำสงครามกับหัวเมืองมลายูทางตอนเหนือ และความขัดแย้งลุกลามบานปลายไปยังดินแดนบนคาบสมุทรแหลมทอง จนกระทั่งทางราชสำนักศรีวิชัยต้องส่งพระราชสาสน์ไปยังราชสำนักหยวนที่กรุงเป่ยจิ่ง พระจักรพรรดิแห่งมองโกลได้ส่งพระราชโองการให้ประเทศในมลายู และ หัวเมืองศรีวิชัยหยุดวิวาทกัน ซึ่งไม่มีความขัดแย้งภายในอาณาจักรครั้งใด จะต้องไปพึ่งพา “ ผู้มีอำนาจภายนอก ” มายุติความขัดแย้งเลยสักครั้ง

ความขัดแย้งระหว่างศรีวิชัย – สิงหัสส่าหรีครั้งนี้ มีบันทึกในตำนานพื้นเมืองนครศรีธรรมราช ได้กล่าวว่า “ พญาชวา ” ได้ยกทัพมาตีเมืองนครศรีธรรมราช ได้ทำอุบายจับกุมตัวพระเจ้าพงษาสุระ ให้พระอัครมเหสีมาไถ่ตัวและได้เรียกส่วยไข่เป็ด และทรัพย์สินอื่นๆ เป็นเครื่องบรรณาการอยู่นานถึง ๑๕ ปี จนบังเกิดมีขุนพลหนุ่มพื้นเมืองนามว่า “ พังพะการ ” ขึ้นมาช่วยกอบกู้บ้านเมืองจากชวา จึงทำให้เมืองนครศรีธรรมราช และอาณาจักรทั้งหมดรอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นอีกครั้ง

ผลจากสงครามระหว่างชวา และ ศรีวิชัยได้ส่งผลให้หัวเมืองในทางปลายคาบสมุทรเริ่มอยากเป็นอิสระ หลายเมืองจึงประกาศตนไม่ขึ้นต่อศิริธรรมนครอีกต่อไป แต่ยังมีอยู่บ้างเมืองที่ขึ้นต่อศิริธรรมนครอยู่ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ตอนปลาย ถึง พุทธศตวรรษที่ ๑๘ ตอนต้น โลกได้บังเกิดกระแสโลกาภิวัฒน์ เมื่อผลพวงจากการพิชิตโลกของราชวงศ์หยวนได้นำมาซึ่งการเชื่อมเส้นทางระหว่างผู้คนจากตะวันออกและตะวันตก พระจักรพรรดิจากดินแดนทุ่งหญ้าได้รวบรวมเอานักปราชญ์ และนายช่างผู้เชี่ยวชาญจากอาณาจักรต่างๆ ที่พระองค์พิชิตได้มารวมกันในราชสำนัก ให้เหล่าผู้เชี่ยวชาญในด้านวิทยาการช่วยกันพัฒนาสิ่งประดิษฐ์สำหรับเดินทาง เช่น เข็มทิศ เรือเดินทะเล อาวุธต่อสู้ ดินระเบิด และการค้าขาย จนทำให้พ่อค้าจากต้าหยวนสามารถเดินทะเลได้ยาวนานขึ้น สามารถล่องเรือทางไกลได้นานขึ้น และเดินทางไปยังเมืองท่าต่างๆ ได้โดยไม่ผ่านตัวกลางอีกต่อไป ส่งผลให้ตลาดการค้าของศรีวิชัยเปลี่ยนแปลง เนื่องจากขาดการพัฒนาให้สอดคล้องกับยุคสมัย ซึ่งส่งผลให้การค้าขายของศรีวิชัยในยุคของมหาราชพงษาสุระลดลง แม้ว่าพระเจ้าศรีธรรมโศกราชพระองค์สุดท้ายจะทรงงานเพื่อแก้ไขปัญหาในส่วนนี้ แต่เพราะราชสำนักของศรีวิชัย ในราชวงศ์ปทุมวงศ์ได้ สาวะวนอยู่กับความขัด แย้งในหมู่พระญาติ และ สนใจในทางพระศาสนาจนขาดความใส่ใจในเหตุการณ์ความเปลี่ยนแปลงในโลกภายนอก

ภัยพิบัติ[6]

[แก้]

สงครามที่จักรวรรดิมองโกลได้ก่อไว้ให้กำเนิดโรคระบาดที่ร้ายแรงที่สามารถคร่าชีวิตผู้คนทีละมากๆ เป็นที่รู้จักกันในนาม “ กาฬโรค ” โรคระบาดที่มีหนูเป็นพาหะ ได้ระบาดในทวีปยุโรปจนกลายเป็นยุคมืด และในช่วงเวลาเดียวกัน ในฝั่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เอง หลายอาณาจักรกลับประสบกับโรคระบาดที่เรียกกันว่า “ ไข้ห่า ” ที่มีอานุภาพรุนแรงทำให้ผู้คนล้มตายส่งผลให้เมืองร้างลงในระยะเวลารวดเร็ว ในบันทึกตำนานพื้นเมืองนครศรีธรรมราช ได้บันทึกถึงจุดจบของอาณาจักรศรีวิชัยว่าถูกโรคระบาดที่เรียกกันว่า “ ไข้ยมบน ” ระบาดในระยะเวลารวดเร็ว ผู้คนในราชสำนักต่างลงเรือเพื่ออพยพหลบ หนี แต่ไม่สามารถหนีโรคระบาดพ้นถึงแก่กาลเสียชีวิตหมดสิ้น ส่วนพระเจ้าพงษาสุระนั้น ตำนานพื้นเมืองได้ระบุว่าพระองค์ทรงหลบหนีไปอาศัยยังเทือกเขาทางตะวันตกจนกระทั่งสิ้นพระชนม์ที่นั้น พลเมืองส่วนใหญ่ของพระองค์สูญเสียไปจากโรคภัย ในครั้งนี้ จึงทำให้พระองค์ไม่สามารถฟื้นฟูบ้านเมืองของพระองค์ได้อีกเลย และศรีวิชัยที่ประสบผลจากโรคระบาดในทั่วทุกเมืองท่า ก็ไม่สามารถฟื้นบ้านคืนเมืองได้ เนื่องจากความร้ายแรงของกาฬโรค ที่สร้างความหวาดกลัวแก่ผู้คนจนยากจะกลับมายังถิ่นฐานเดิมได้

ในระหว่างที่โรคระบาดยังคงแพร่กระจายในดินแดนคาบสมุทรสยามนี้ คาดว่าความร้ายแรงของโรคคงจะกินเวลาหลายปีกว่าจะสงบ และในระยะ เวลานั้นเอง ได้คาดว่าพระเจ้าพงษาสุระคงจะสวรรคตลง ไม่สามารถหารัชทายาทสืบทอดบัลลังก์ และขาดกำลังคนในการฟื้นฟูอาณาจักร จึงทำให้ศรีวิชัยต้องล่มสลายลงไปตลอดกาล

สาเหตุของการล่มสลาย

[แก้]

สาเหตุสำคัญของการล่มสลายของอาณาจักรศรีวิชัยในยุคตอนปลายนั้น สามารถจับประเด็นได้โดยหลักๆ แล้ว มีอยู่ด้วยกัน ๓ ประการ คือ

๑. เพราะขาดความสนใจเหตุการณ์ของโลกภายนอก นี่เป็นจุดอ่อนประการหนึ่งของอาณาจักรทะเลใต้ ที่ไม่ใส่ใจต่อสถานการณ์ความเป็นไปของโลกภายนอก ส่งผลให้ไม่สามารถวิเคราะห์ความต้องการ และสนองความต้องการสินค้าของโลก

๒. ไม่สามารถควบคุมความสัมพันธ์ในระบบเครือญาติได้ ถึงแม้ว่าอาณาจักรรอบข้างศรีวิชัยจะล้วนเป็นเครือญาติกันทั้งสิ้น แต่ศรีวิชัยกลับไม่สามารถควบคุม หรือ ห้ามปราบได้ จนในที่สุดอาณาจักรเหล่านั้นจึงพากันวิวาทเพื่อแย่งชิงสิทธิ์ของความเป็นเจ้าแห่งน่านน้ำมหาสมุทร เป็นเหตุให้เกิดผลกระทบกับการค้าขาย

๓. เพราะรูปแบบการปกครองที่ใช้ระบบราชาธิบดี หรือ ระบบพระอินทร์ กล่าวคือ มหาราช ผู้ปกครองสูงสุดของศรีวิชัย มาจากการคัดเลือกของพระราชาหัวเมืองต่างๆ ภายในอาณาจักร จึงทำให้ “ ความภักดี ” และการควบคุมด้วยพระราชอำนาจของมหาราชจึงทำได้ไม่เต็มที่เหมือนระบบราชาธิปไตยสมบูรณ์ ถ้ามหาราชพระองค์ใดมีพระราชอำนาจเข้ม แข็ง ก็สามารถบังคับใช้พระราชอำนาจได้เต็มที่ แต่ถ้ามหาราชพระองค์ใดทรงอ่อนแอ ทำให้พระราชาที่ไม่พอพระทัยจะแสดงการแบ่งแยกทันที

หลังจากการล่มสลาย

[แก้]

ภายหลังจากการล่มสลายของอาณาจักรศรีวิชัยในรัชสมัยสุดท้าย เมืองนครศรีธรรมราชได้ถูกทิ้งปล่อยให้เป็นเมืองร้างอยู่เป็นเวลาราว 12 ปี จนกระทั่งในปี พ.ศ. 1830 พระพนมวัง พระเจ้ากรุงเพชรบุรี อันเป็นเครือพระญาติห่างๆ นับแต่สมัยพระเจ้าจันทรภาณุได้เข้ามาฟื้นฟูเมืองนครศรีธรรมราชแล้วสถาปนาเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นอีกครั้ง นอกจากการบูรณาการจัดระเบียบให้เมืองในภาคใต้เสียใหม่ ให้เป็นไปตามที่เคยมีแบบแผนมาในสมัยของพระเจ้าศรีธรรมโศกราชปทุมวงศ์แล้ว ก็ได้ระดมผู้คนพื้นเมือง ให้ออกมาช่วยกันสร้างบ้านสร้างเมือง

ข้อสันนิษฐานและข้อขัดแย้ง

[แก้]

การตีความถึงลำดับเชื้อสายแห่งราชวงศ์ปทุมวงศ์ของตามพรลิงก์กับราชวงศ์ไศเลนทร์แห่งศรีวิชัย บางประการยังเป็นที่ถกเถียงอยู่ บางข้อมูลได้กล่าวว่าเชื้อสายของราชวงศ์ปทุมวงศ์นั้นมีความเกี่ยวข้องกับราชวงศ์โมริยะแห่งชมพูทวีปหรืออินเดีย ซึ่งเป็นข้อสันนิษฐานอย่างนึงที่สามารถโยงไปกับประวัติของพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชว่ามาจากต่างถิ่นได้[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. watsritawee (2021-11-23). "ลำดับโครงสร้างพระมหากษัตริย์ผู้ปกครอง สุวรรณภูมิ-ศรีวิชัย (๒๙๖-๑๘๒๐) (๒๓ พ.ย. ๒๕๖๔) Order of the Monarchy Structure: Suvarnabhumi-Srivijaya (248BC-1277) (Nov 23, 2021)". วัดศรีทวี Wat Sritawee (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  2. Kallidaikurichi Aiyah Nilakanta Sastri (1929). The Pāṇḍyan kingdom from the earliest times to the sixteenth century. pp.176
  3. Cœdès, George (1968). The Indianized states of Southeast Asia. University of Hawaii Press. p. 184. ISBN 9780824803681. belonging to the family of the lotus (padmavamsa)
  4. ตำนานจตุคามรามเทพ และ กษัตริย์สามพี่น้อง
  5. ตำนานเมืองนครศรีธรรมราช ฉบับวัดศรีทวี https://clib.psu.ac.th/southerninfo/content/1/40518014
  6. ยมบน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ https://kaekae.oas.psu.ac.th/rlej/include/getdoc.php?id=3299&article=1196&mode=pdf
  7. พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช