ข้ามไปเนื้อหา

ฉบับร่าง:พระพรหมวัชรวิมลมุนี (บุญชิต ญาณสํวโร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระพรหมวัชรวิมลมุนี (บุญชิต ญาณสํวโร) ,วิ. ป.ธ.9 รองศาสตราจารย์[1] ดร. เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ[2] คณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร,กรรมการมหาเถรสมาคม[3],เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร[4],ผู้อำนวยการสถาบันวิปัสสนาธุระ[5]มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ชาติกำเนิด

[แก้]

พระพรหมวัชรวิมลมุนี มีนามเดิมว่า บุญชิต สุดโปร่ง เกิดเมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2503 ณ บ้านเลขที่ 85 หมู่ 1 ตำบลบึงเนียม อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น บิดาชื่อ นายอินทร์ สุดโปร่ง มารดาชื่อ นางที สุดโปร่ง

การบรรพชา และอุปสมบท

[แก้]

บรรพชา (ครั้งที่ 1) เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2514 ณ วัดศิริธรรมิกาวาส ตำบลโคกศรี อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น โดยมี พระครูสิริสารธรรม (เหลา ปญฺญาธโร) เป็นพระอุปัชฌาย์

บรรพชา (ครั้งที่ 2 ตามธรรมเนียมวัด) เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2520 ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร โดยมี พระธรรมปัญญาบดี (สวัสดิ์ กิตฺติสาโร) ป.ธ.5 เป็นพระอุปัชฌาย์

อุปสมบท เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2526 ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสโภ) ป.ธ.8 เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นพระพิมลธรรม วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระธรรมวิสุทธาจาย์ (เหล่ว สุมโน) ป.ธ.5 เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชสารเวที วัดธาตุ พระอารามหลวง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) ป.ธ.9 เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นพระเทพสิทธิมุนี วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นพระอนุสาวนจารย์

วุฒิการศึกษา

[แก้]

สมณศักดิ์

[แก้]
  • พ.ศ. 2528 เป็น เปรียญธรรม 9 ประโยค
  • พ.ศ. 2541 เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระศรีวรญาณ (5 ธันวาคม พ.ศ. 2541)[6]
  • พ.ศ. 2548 เป็น พระราชาคณะชั้นราช ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระราชสิทธิมุนี ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี (5 ธันวาคม พ.ศ. 2548)[7]
  • พ.ศ. 2562 เป็น พระราชาคณะชั้นเทพ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระเทพวิสุทธิมุนี วิปัสสนาวิธีวรนายก ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี (28 กรกฎาคม พ.ศ. 2562)[8]
  • พ.ศ. 2564 เป็น พระราชาคณะชั้นธรรม ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระธรรมวชิรมุนี ศรีวิปัสสนาคณาจารย์ ไพศาลศาสนกิจดิลก ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี (5 มิถุนายน พ.ศ. 2564)[9]
  • พ.ศ. 2567 เป็น พระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏ ฝ่ายวิปัสสนาธุระมีราชทินนามตามที่จารึกในหิรัญบัฏว่า พระพรหมวัชรวิมลมุนี ศรีวิปัสสนาวรนายก ดิลกศาสนกิจพิธาน ปฏิภาณธรรมสาธก ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี (17 พฤษภาคม พ.ศ. 2567)[10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สภาวิชาการ | มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย | Mahachulalongkornrajavidyalaya University". www.mcu.ac.th.
  2. matichon (2024-05-17). "ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์ "พระธรรมวชิรมุนี -พระธรรมวัชรบัณฑิต" ขึ้นเป็นรองสมเด็จฯ". มติชนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2024-12-31.
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งกรรมการมหาเถรสมาคม [จำนวน ๒๐ รูป ๑. สมเด็จพระวันรัต ฯลฯ], เล่ม ๑๓๘, ตอนพิเศษ ๓๐๓ ง, ๑๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๔
  4. "พระธรรมวชิรมุนี วิ". สำนักงานเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร.
  5. "สถาบันวิปัสสนาธุระ". 2021-03-02.
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๑๕, ตอนที่ ๒๔ ข, ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๑, หน้า ๘
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๒๓, ตอนที่ ๒ ข, ๑๒ มกราคม ๒๕๔๙, หน้า ๗
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๓๖, ตอนที่ ๔๐ ข, ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๒, หน้า ๙
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๓๘, ตอนที่ ๒๙ ข, ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๔, หน้า ๓
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์ [จำนวน ๒ รูป ๑. พระธรรมวชิรมุนี ๒. พระธรรมวัชรบัณฑิต], เล่ม ๑๔๑, ตอนที่ ๒๐ ข, ๑๗ พ.ค. ๒๕๖๗, หน้า ๑