ฉบับร่าง:พระธรรมวชิราธิบดี (ฉ่ำ ปุญฺญชโย)
![]() | นี่คือบทความฉบับร่างซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถแก้ไขได้ โปรดตรวจสอบว่าเนื้อหามีลักษณะเป็นสารานุกรมและมีความโดดเด่นควรแก่การรู้จักก่อนที่จะเผยแพร่เป็นบทความลงในวิกิพีเดีย กรุณาอดทนรอผู้เขียนคนอื่นมาช่วยตรวจให้ อย่าย้ายหน้าไปเป็นบทความเองโดยพลการ ค้นหาข้อมูล: Google (books · news · newspapers · scholar · free images · WP refs) · FENS · JSTOR · NYT · TWL สำคัญ: ถ้าลบป้ายนี้ออกจะทำให้บันทึกหน้าไม่ได้ ผู้แก้ไขหน้านี้คนล่าสุด คือ Chayakrit Sornsetthee (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) เมื่อ 16 วันก่อน (ล้างแคช)
ฉบับร่างนี้ถูกส่งสำหรับการทบทวนแล้วและกำลังรอการทบทวน |
พระธรรมวชิราธิบดี (ฉ่ำ ปุญฺญชโย) | |
---|---|
![]() | |
คำนำหน้าชื่อ | ท่านเจ้าคุณ |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 9 มกราคม พ.ศ. 2503 (65 ปี) |
นิกาย | มหานิกาย |
การศึกษา | นักธรรมชั้นเอก เปรียญธรรม 9 ประโยค พุทธศาสตรบัณฑิต ศึกษาศาสตรบัณฑิต การศึกษามหาบัณฑิต |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร |
อุปสมบท | 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2524 |
พรรษา | 43 |
ตำแหน่ง | เจ้าคณะภาค 17 เลขานุการเจ้าคณะใหญ่หนใต้ เจ้าอาวาสวัดเบญจบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร |
พระธรรมวชิราธิบดี (นามเดิม: ฉ่ำ ไชยตาล; เกิด 9 มกราคม พ.ศ. 2503) เป็นพระภิกษุไทยผู้ทรงคุณวุฒิ และมีบทบาทสำคัญในวงการพระพุทธศาสนา ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร, เจ้าคณะภาค 7, เจ้าสำนักเรียนวัดเบญจมบพิตร, ประธานคณะพระธรรมจาริก, และเลขานุการเจ้าคณะใหญ่หนใต้
ประวัติ
[แก้]พระธรรมวชิราธิบดี เกิดที่จังหวัดเชียงราย โดยบิดาชื่อ นายคำมูล ไชยตาล และมารดาชื่อ นางแก้ว สมจิตร บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อปี พ.ศ. 2517 ณ วัดป่าอ้อดอนชัย อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย และอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อปี พ.ศ. 2524 ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร โดยมีสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สุวรรณ สุวณฺณโชโต) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระพุทธิวงศมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายา “ปุญฺญชโย”[1]
วิทยฐานะ
[แก้]วิทยฐานะสายสามัญ
[แก้]- พุทธศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- ศึกษาศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วิทยฐานะพระปริยัติธรรม
[แก้]ตำแหน่ง
[แก้]ฝ่ายปกครอง
[แก้]- พ.ศ. 2545 - 2549 เป็นรองเจ้าคณะภาค 16[2]
- พ.ศ. 2546 เป็นพระอุปัชฌาย์วิสามัญ[3]
- พ.ศ. 2549 - 2556 เป็นรองเจ้าคณะภาค 17
- พ.ศ. 2556 - 2561 เป็นเจ้าคณะภาค 17
- พ.ศ. 2557 เป็นเจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร[4]
- พ.ศ. 2561 เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะภาค 17[5]
- พ.ศ. 2564 เป็นเจ้าคณะภาค 17 เลขานุการเจ้าคณะใหญ่หนใต้[6]
งานเผยแผ่
[แก้]- พ.ศ. 2558 เป็นประธานคณะพระธรรมจาริก
สมณศักดิ์
[แก้]- พ.ศ. 2537 เป็นพระครูปลัดสัมพิพัฒนปัญญาจารย์ ฐานานุกรมในสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สุวรรณ สุวณฺณโชโต)
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2538 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ ที่พระศรีธรรมบัณฑิต[7]
- 12 สิงหาคม พ.ศ. 2547 เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่พระราชกิตติโสภณ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[8]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2552 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่พระเทพกิตติเวที ศีลาจารโสภิต ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[9]
- 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่พระธรรมวชิราธิบดี สีลาจารโสภณ วิมลธรรมานุสิฐ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ องคมนตรี เชิญสัญญาบัตร พัดยศ และผ้าไตร ไปถวายแด่พระราชาคณะ และพระสงฆ์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งสมณศักดิ์
- ↑ มติมหาเถรสมาคม เรื่อง เสนอขอแต่งตั้งรองเจ้าคณะภาคในเขตปกครองคณะสงฆ์หนใต้
- ↑ มติมหาเถรสมาคม เรื่อง เสนอขอแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์วิสามัญ ในเขตปกครองคณะสงฆ์หนใต้
- ↑ "มหาเถรสมาคม The Sangha Supreme Council of Thailand". www.mahathera.org.
- ↑ มติมหาเถรสมาคม เรื่อง รายงานการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าคณะภาค ในเขตปกครองคณะสงฆ์หนใต้
- ↑ "พระบัญชาแต่งตั้ง เจ้าคณะภาคทั่วประเทศ 2 นิกาย 28 รูป "เจ้าคุณมีชัย" คุมคณะภาค 1". www.thairath.co.th. 2021-05-13.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๑๒, ตอนพิเศษ ๔๗ ง, ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๘, หน้า ๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๒๑, ตอนที่ ๑๗ ข, ๑๕ กันยายน ๒๕๔๗, หน้า ๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๒๗, ตอนที่ ๓ ข, ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓, หน้า ๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ [จำนวน ๕๙ รูป ๑. พระเทพวินยาภรณ์ ฯลฯ], เล่ม ๑๓๙, ตอนที่ ๔๘ ข, ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๕, หน้า ๓
![]() | โปรดรอสักครู่
หน้านี้อาจใช้ระยะเวลานานถึงหนึ่งสัปดาห์ เนื่องจากฉบับร่างจะได้รับการทบทวนตามลำดับ ขณะนี้มี 131 หน้าที่กำลังรอการทบทวน
ขอความช่วยเหลือ
วิธีปรับปรุงบทความของคุณ
คุณยังสามารถดู วิกิพีเดีย:บทความคัดสรร และ วิกิพีเดีย:บทความคุณภาพ เพื่อค้นหาตัวอย่างบทความที่ดีที่สุดของวิกิพีเดียในหัวข้อที่คล้ายกับบทความที่คุณแจ้งทบทวน ทรัพยากรการแก้ไข
เครื่องมือตรวจสอบ
|