ข้ามไปเนื้อหา

ฉบับร่าง:พรรคสามัญชน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรรคสามัญชน
Commoners Party
ชื่อย่อพ.สมช
CMP
ผู้ก่อตั้งกิตติชัย งามชัยพิสิฐ และอดีตผู้นำของ อ้วน YT (Youth Training Center)
หัวหน้าอาหามะ ลีเฮ็ง (รักษาการ)
รองหัวหน้าอาหามะ ลีเฮ็ง
เลขาธิการศิววงศ์ สุขทวี
รองเลขาธิการพักตร์วิไล สหุนาฬุ
นายทะเบียนสมาชิกปธานิน กล่อมเอี้ยง
โฆษกสุมาพร แต่งเกลี้ยง
รองโฆษกลักษมี หวนถิ่น
ก่อตั้ง2 มีนาคม พ.ศ. 2561
ที่ทำการ208/860 ม.8 ซอย 5/3 ต.บ้านเป็ด อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000[1]
อุดมการณ์พิพัฒนาการนิยม
สังคมนิยมประชาธิปไตย
ประชาธิปไตยเสรีนิยม
จุดยืนการเมืองฝ่ายซ้ายกลาง[2]
กลุ่มระดับสากลพันธมิตรพิพัฒนาการนิยม (ผู้มาเยือนตั้งแต่ พ.ศ. 2561)[3]
สี   สีดำ, สีแดง
เว็บไซต์
https://commoners.party/
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคสามัญชน (อังกฤษ: Commoners Party, ชื่อย่อ: พ.สมช, ชื่อย่ออังกฤษ: CMP) เป็นพรรคการเมืองในของไทยที่ได้ยื่นจดจองชื่อพรรคต่อ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2561

พรรคสามัญชนก่อตั้งโดยนายกิตติชัย งามชัยพิสิฐ นักศึกษาที่ลาออกจากมหาวิทยาลัยและช่างไฟฟ้า และอดีตผู้นำของ อ้วน YT (Youth Training Center) เป้าหมายของพรรคสามัญชนคือการเลือกคนจนเข้าไปในรัฐสภา แทนที่พยายามจะเป็นตัวแทนและกระบอกเสียงของคนจน พรรคสามัญชนมีเป้าหมายเพื่อที่จะให้เขาพูดเพื่อตนเอง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทางพรรคตั้งชื่อว่า "พรรคสามัญชน" และสัญลักษณ์ของพรรคเป็นเครื่องหมาย เสมอภาค (=)

กลุ่มสามัญชนก่อตั้งโดยนักเคลื่อนไหวในปี พ.ศ. 2555 เพื่อที่จะประท้วงรัฐบาลไทยที่ไม่สนใจมากนักเกี่ยวกับคนจนในประเทศไทย[4]

อุดมการณ์ของพรรคสามัญชนคือ ประชาธิปไตยเสรีนิยม ซึ่งพรรคสามัญชนต่อต้านรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา[5] นอกจากพรรคที่จะสนับสนุนคนยากจนและผู้ด้อยโอกาสไว้ในรัฐสภาแล้ว พรรคสามัญชนก็ปลุกปั่นสิทธิ LGBT สิทธิสตรี การปฎิรูปการศึกษาในภาคใต้ตอนล่าง สิทธิในทรัพยากรธรรมชาติของท้องถิ่น การทำให้สวัสดิการด้านสุขภาพดีขึ้น สิทธิแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติ การกระจายอำนาจและการกำหนดตนเองในท้องถิ่น[6] พรรคสนับสนุนการยกเลิกความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112[7]

นโยบายของพรรค

[แก้]

นโยบายด้านประชาธิปไตยรากฐาน

[แก้]
  • (๑) สนับสนุนการสร้างกระบวนการสร้างการเมืองที่เน้นกระบวนการมีส่วนร่วม อย่างกว้างขวางจากฐานราก
  • (๒) ผลักดันกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญที่มาจากกระบวนการมีส่วนร่วม ที่สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และความเท่าเทียมเป็นธรรม
  • (๓) ผลักดันกฎหมายเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองในทุกระดับและทุกรูปแบบ อำนวยความสะดวกในการใช้สิทธิในการเลือกหรือลงสมัครรับเลือกตั้งให้กับทุกคนในประเทศ รวมถึง ผู้ต้องขังและผู้ที่ยังเข้าไม่ถึงสิทธิในการเลือกตั้ง
  • (๔) คืนอ านาจการจัดการตนเองให้ชุมชนท้องถิ่น และสนับสนุนการมีส่วนร่วมทางตรง โดยไม่ขัดต่อหลักการประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน ความเท่าเทียมเป็นธรรม และสิทธิเสรีภาพพื้นฐาน ของบุคคล
  • (๕) ส่งเสริมสิทธิในการเข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร โดยก าหนดให้หน่วยงานภาครัฐจะต้อง เปิดเผยต่อสาธารณะ โดยไม่ต้องร้องขอ
  • (๖) ส่งเสริมเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ปกป้องสิทธิ ข้อมูลส่วนบุคคล ส่งเสริมความปลอดภัย และเสรีภาพทางอินเตอร์เน็ต
  • (๗) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองทางตรงในกระบวนการนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ และการเคลื่อนไหวรณรงค์ทางสังคม[8]

นโยบายที่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิมนุษยชน และชุมชนท้องถิ่น

[แก้]
  • (๑) ผลักดันการบัญญัติรับรองคำประกาศหลักการสิทธิมนุษยชนสากล และหลักการสิทธิมนุษยชน ระหว่างประเทศที่ได้รับการเห็นชอบจากรัฐสภาให้มีสถานะเป็นกฎหมาย ภายในและสามารถยกขึ้นมาอ้างในการต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรมได้
  • (๒) ผลักดันการให้สัตยาบันหลักการสิทธิมนุษยชน ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วย ศาลอาญาระหว่างประเทศจัดทำกฎหมายและนโยบายที่มาจากกระบวนการมีส่วนร่วมที่เคารพศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ สิทธิมนุษยชนและสิทธิชุมชน
  • (๓) สร้างกลไกการให้ความคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในชุมชน และประกัน ความรับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน (Human Rights Defender) ให้การรับรองอนุสัญญา ระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลสูญหาย
  • (๔) ส่งเสริมสิทธิเด็ก สวัสดิการสำหรับเด็กและครอบครัวในการส่งเสริมพัฒนาการ ที่สอดคล้องกับช่วงวัย เช่น เงินอุดหนุนการเลี้ยงดูที่เพียงพอ สถานรับเลี้ยงเด็กที่ใกล้บ้านหรือที่ท างาน
  • (๕) ส่งเสริมการเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ ที่มีคุณภาพ ใกล้บ้าน ส่งเสริมความรู้ที่หลากหลายอย่างเท่าเทียม ส่งเสริมให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการกำหนดรูปแบบ เนื้อหา การจัดการ และเวลา ยอมรับความแตกต่างของผู้คน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
  • (๖) ผลักดันสิทธิการเข้าถึงหลักประกันสุขภาพมาตรฐานเดียวทั่วประเทศ ยกมาตรฐาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปรับปรุงสิทธิระบบรักษาสุขภาพของข้าราชการ และครอบครัว และประกันสังคมให้อยู่บนมาตรฐานของหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กระจายอำนาจ ในการจัดการไปสู่ระดับจังหวัด
  • (๗) ผลักดันสิทธิการมีชีวิตที่เพียงพอสำหรับผู้เกษียณ สิทธิบ านาญพื้นฐานที่เพียงพอ ต่อการมีชีวิตสำหรับผู้ที่อายุ ๖๐ ปีขึ้นไป มีบ้านพักรองรับ มีการจัดการศพที่เหมาะสมและสอดคล้อง กับวัฒนธรรม
  • (๘) ผลักดันสิทธิการมีที่อยู่อาศัย ที่ทำกิน และที่สาธารณะประโยชน์ที่ประชาชนใช้ ร่วมกัน และกระจายอ านาจให้ท้องถิ่นบริหารจัดการ
  • (๙) จัดตั้งกลไกการติดตามตรวจสอบ ศึกษาพัฒนา และประเมินผลประสิทธิภาพ การเข้าถึงสวัสดิการ และบริการสาธารณะที่ยึดโยงกับการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยตรง (๑๐) ผลักดันการสร้าง กระบวนการยุติธรรมที่รวดเร็ว ตรวจสอบได้ และรับผิดชอบ ต่อประชาชน
  • (๑๑) ผลักดันการสร้างความมั่นคงในความหมายใหม่ ลดขนาดกองทัพ เพิ่มประสิทธิภาพ การป้องกันประเทศ และปรับโครงสร้างหน่วยงานความมั่นคงให้สอดคล้องกับสิทธิมนุษยชน ค านึงถึง ความมั่นคงปลอดภัยและประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก
  • (๑๒) สิทธิเนื้อตัวของผู้หญิงด้านเสรีภาพการทำแท้งที่ต้องปลอดภัย ถูกกฎหมาย และ มีการแก้ไขการเอาผิดต่อการตัดสินใจในการเข้าถึงบริการที่มีโอกาสและทางเลือก เพื่อยุติการตั้งครรภ์ไม่ ปลอดภัย[8]

นโยบายเพื่อสร้างความเท่าเทียมเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและโอกาสทางสังคม

[แก้]
  • (๑) ส่งเสริมสิทธิและโอกาสของผู้พิการในการเข้าถึงการศึกษา สุขภาพ การทำงาน และบริการสาธารณะอย่างเท่าเทียม
  • (๒) ส่งเสริมสิทธิและโอกาสของบุคคลเพศสภาพที่หลากหลายในการก่อตั้งครอบครัว การทำาน สุขภาพ และความเท่าเทียมระหว่างเพศสถานะที่หลากหลายในสังคม
  • (๓) ส่งเสริมสิทธิและโอกาสของกลุ่มชาติพันธ์ดั้งเดิม คนไร้รัฐ คนไทยพลัดถิ่น ผู้ลี้ภัยและอื่น ๆ ในการเข้าถึงสิทธิอยู่อาศัย สถานะทางกฎหมาย และสิทธิพื้นฐาน
  • (๔) ส่งเสริมผลักดันสิทธิการก่อตั้งและเข้าร่วมสหภาพแรงงาน สิทธิและเสรีภาพ ในการสมาคมและสิทธิในการรวมตัวและเจรจาต่อรอง ตามอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ILO ฉบับที่ ๘๗ และ ๙๘ สิทธิในการนัดหยุดงาน การพัฒนาระบบแรงงานสัมพันธ์และระบบ ไตรภาคี ที่คนทำงาน มีสิทธิเลือกผู้แทนของตนอย่างแท้จริง รวมทั้งหลักประกันในการดำรงชีวิต ทั้งในระหว่างการทำงานและเมื่อพ้นภาวะการทำงาน
  • (๕) ผลักดันค่าจ้างที่เป็นธรรม หลักประกันความปลอดภัย อาชีวอนามัย การประกันสังคมการพัฒนาสมรรถนะแรงงาน สวัสดิภาพ สวัสดิการในการทำงานโดยไม่เลือกปฏิบัติ การจัดตั้งธนาคารแรงงานหรือกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ใช้แรงงาน
  • (๖) ผลักดันการพัฒนาคุณภาพชีวิต คุ้มครองสิทธิและสร้างความเป็นธรรม ด้านแรงงาน โดยคำนึงถึงความแตกต่าง หลากหลาย ในกลุ่มแรงงานรัฐวิสาหกิจ แรงงานเอกชน แรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบ แรงงานไทย แรงงานเพื่อนบ้าน (Migrants) แรงงาน ภาคอุตสาหกรรม แรงงานภาคการเกษตร แรงงานภาคบริการ (Sex Worker) แรงงานหญิง และแรงงานทำงานบ้าน เป็นต้น
  • (๗) สร้างระบบประกันสังคมที่เป็นอิสระ โปร่งใส ตรวจสอบได้ และตอบสนองต่อ ความต้องการของสมาชิกผู้ประกันตนทุกคน รวมถึงขยายการค รอบคลุมถึงคนทำงานทุกกลุ่มในประเทศ
  • (๘) สร้างความเป็นธรรมในภาคการเกษตรด้วยการออกเอกสารสิทธิที่ดินในเขตปฏิรูป ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ที่ดินป่าไม้ ที่ดินรัฐให้แก่เกษตรกรรายย่อย จัดเก็บภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้า ออกมาตรการ ช่วยเหลือและคุ้มครองที่ดินเกษตรรายย่อย พยุงราคาพืชผลการเกษตร
  • (๙) สนับสนุนการค้าที่เป็นธรรมในภาคการเกษตร (Fair Trade) ด้วยการกำหนด ราคาที่สอดคล้องกับต้นทุนการผลิตเพื่อป้องกันการผูกขาดของพ่อค้าคนกลางและกลไกตลาดโลก ที่ทำลายความยั่งยืนและคุณภาพชีวิตของเกษตรกรภายในประเทศ สนับสนุนมาตรการเลิกใช้สารเคมี ในภาคการเกษตรและก าหนดมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ใช้สารเคมีในระยะเปลี่ยนผ่าน
  • (๑๐) สนับสนุนการสร้างความมั่นคงทางอาหารของประชาชน ควบคุมระบบ อุตสาหกรรมอาหาร ที่ครอบครองทรัพยากรที่ดิน พันธุกรรมพืชและสัตว์ สารเคมีการเกษตร เทคโนโลยีการผลิตขนาดใหญ่ เครื่องมือประมงที่ทำลายล้างทรัพยากรธรรมชาติ ไปจนถึงการเข้าถึง การตลาดของคนเล็กคนน้อย
  • (๑๒) สร้างความเป็นธรรมในการจัดการทรัพยากรที่ดิน ผลักดันการใช้ประโยชน์ จากที่ดินรัฐในการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน การกระจายการถือครองที่ดินผ่านกฎหมายภาษีที่ดิน อัตราก้าวหน้า ภาษีมรดกอัตราก้าวหน้า ธนาคารที่ดิน รวมถึงกระจายอำนาจการบริหารจัดการที่ดิน โดยชุมชน
  • (๑๓) สนับสนุนระบบการค้าที่เป็นธรรม ปรับปรุงระบบโควตา ลดการผูกขาดของ หน่วยงานรัฐ กระจายการจัดการสู่ผู้ค้ารายย่อยโดยรัฐรับผิดชอบความเสี่ยง เช่น สลากกินแบ่งรัฐบาล คลื่นความถี่ การขนส่ง เป็นต้น รวมถึงการจัดการทรัพยากรโดยการมีส่วนร่วมแทนระบบสัมปทาน ผูกขาดโดยเอกชน โดยเพิ่มสัดส่วน ผู้ถือหุ้นระหว่างรัฐกลาง ท้องถิ่นและเอกชน
  • (๑๔) ผลักดันระบบภาษีที่เป็นธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ผ่านการคืนภาษี สำหรับผู้มีรายได้น้อย ปรับอัตราภาษีก้าวหน้าสำหรับผู้มีรายได้สูงสุด
  • (๑๕) กระจายอำนาจให้ท้องถิ่นในการจัดการภายในชุมชนและเขตเมืองในการป้องกัน และรักษาสิ่งแวดล้อมภายในชุมชนท้องถิ่นของตนเอง รวมถึงการกำหนดมาตรการภาษีและมาตรการอื่น ๆ เพื่อสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ปลอดภัยและเอื้ออำนวยให้ทุกคนเข้าถึงได้
  • (๑๖) สนับสนุนให้ทุกคนสามารถเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพ ราคาเป็นธรรม ครอบคลุมทุกพื้นที่
  • (๑๗) สนับสนุนการจัดการพลังงานที่กระจายการจัดการสู่ชุมชนท้องถิ่นและให้ความสำคัญ กับพลังงานสะอาดเป็นอันดับแรก
  • (๑๘) สนับสนุนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่อยู่บนพื้นฐานการกระจายอำนาจสู่ผู้ประกอบการ รายย่อย ป้องกันการผูกขาด ทั้งการปลูกพืช เช่น พืชสมุนไพร การผลิตเครื่องดื่ม เช่น สุรา ภูมิปัญญาชุมชน การแปรรูปอาหารและการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจชนิดใหม่รวมถึงการท าธุรกรรมการเงิน ระหว่างบุคคลต่อบุคคล (P2P) การท ากิจกรรมทางเศรษฐกิจบนพื้นฐานสินทรัพย์ดิจิตอล

อ้างอิง

[แก้]
  1. "เอกสารการจัดตั้งพรรคสามัญชน" (PDF).
  2. "Project for Social Democracy meets the Commoners' Party of Isan, Neo Isan Movement".
  3. [1][ต้องการอ้างอิงเต็มรูปแบบ]
  4. ธิติ มีแต้ม (8 March 2018). "สำรวจพรรคการเมืองสตาร์ทอัพ นับหนึ่งสู่การเลือกตั้ง". the101.world March 8, 2018.[ต้องการอ้างอิงเต็มรูปแบบ]
  5. พิชิตศักดิ์ แก่นนาคำ (20 March 2018). "ถอดโมเดล 'พรรคสามัญชน' เชื่อม 'ประชาธิปไตยจากฐานราก' เข้าสู่สภา". voicetv.co.th March 20, 2018.[ต้องการอ้างอิงเต็มรูปแบบ]
  6. "claiming-rights-domestic-workers-movements-and-global-advances-for-labor-reform;hr". doi:10.1163/2210-7975_hrd-2156-3020. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)[ต้องการอ้างอิงเต็มรูปแบบ]
  7. "พรรคสามัญชน ลั่น เลือกตั้งรอบนี้ หวังกวาด 6 ที่นั่ง เป็นพรรคเดียว เสนอนโยบาย #ยกเลิก112". VoiceTV. 2023-04-05. สืบค้นเมื่อ 2023-04-06.
  8. 8.0 8.1 https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/17101448.pdf