ข้ามไปเนื้อหา

จีเกา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จีเกา
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม โรดรีกู ฌูนีโยร์ เปาลา ซิลวา[1]
วันเกิด (1988-05-07) 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1988 (36 ปี)[2]
สถานที่เกิด ดูกีจีกาเชียส, บราซิล[2]
ส่วนสูง 1.87 m (6 ft 1 12 in)[2]
ตำแหน่ง เซ็นเตอร์แบ็ก[2]
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
2009–2013 ฟลูมีเน็งซี[2] 92 (4)
2014–2016 อัลฮิลาล 45 (1)
2016–2017 อัชชัรญะฮ์ 26 (1)
2017–2019 กรูเซย์รู 15 (0)
2018–2019ฟลูมีเน็งซี (ยืม) 64 (5)
2020 ฟลูมีเน็งซี 22 (2)
2020–2022 บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 11 (0)
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น
ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 4 พฤษภาคม 2022

โรดรีกู ฌูนีโยร์ เปาลา ซิลวา (โปรตุเกส: Rodrigo Junior Paula Silva; เกิดวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1988 ที่ดูกีจีกาเชียส) หรือ จีเกา (Digão) เป็นนักฟุตบอลชาวบราซิลที่เล่นในตำแหน่งกองหลัง เขาเคยเล่นให้แก่บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ในไทยลีก ฤดูกาล 2563–64 และฤดูกาล 2564–65[1][2]

สโมสรอาชีพ

[แก้]

ฟลูมีเน็งซี

[แก้]

จีเกาได้เล่นให้แก่ฟลูมีเน็งซีระหว่าง ค.ศ. 2009 ถึง 2013[3] เขาลงเล่นนัดแรกให้แก่สโมสรในนัดที่เสมอกับเนาชีกู[3] โดยลงเล่นเป็นตัวจริงครบ 90 นาที[4] ฤดูกาลแรกกับสโมสร เขาลงเล่นในลีก 8 นัดแต่ทำประตูไม่ได้[3] เขาลงเล่นนัดแรกในฤดูกาล 2010 ในนัดที่พบกับเซอารา[3] แต่ทีมของเขาแพ้ด้วยประตูเดียว[5] เขาได้ลงเล่นในลีกให้แก่สโมสรอีกสามนัด ได้แก่นัดที่พบกับอาตแลชีกูโกยานีเย็งซี, อาตแลชีกูมีเนย์รู และวีตอเรีย[3] ต่อมาในฤดูกาล 2011 เขาลงเล่น 10 นัดและทำประตูไม่ได้[3] ระหว่างฤดูกาล เขาได้รับบาดเจ็บจนต้องพักฟื้นสามเดือน[6] ต่อมาในวันที่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 2011 เขาขยายสัญญากับสโมสรจนถึงเดือนธันวาคม ค.ศ. 2013[6]

บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด

[แก้]

ในวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 2020 สโมสรฟุตบอลฟลูมีเน็งซีแถลงว่าได้ปล่อยตัวจีเกาให้แก่สโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ในไทยลีก เป็นที่เรียบร้อยแล้ว[7] และในปลายเดือนเดียวกันนี้เอง ทางสโมสรได้เปิดตัวจีเกาในฐานะผู้เล่นใหม่ โดยเขาจะสวมเสื้อแข่งขันหมายเลข 26[8] ต่อมาในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2021 จีเกาได้ลงเล่นนัดแรกให้แก่สโมสรในการแข่งขันช้าง เอฟเอคัพ 2020–21 รอบ 16 ทีมสุดท้าย ในนัดที่บุรีรัมย์ออกไปเยือนการท่าเรือ อย่างไรก็ตาม เขาได้รับบาดเจ็บจนต้องถูกเปลี่ยนตัวออกในนาทีที่ 60 สุดท้ายแล้ว หลังจากเสมอกันในเวลา 120 นาทีแบบไร้ประตู บุรีรัมย์เอาชนะด้วยการยิงลูกโทษไปได้ 9–8 ทำให้ผ่านเข้าสู่รอบก่อนรองชนะเลิศได้สำเร็จ[9]

สถิติอาชีพ

[แก้]
ณ วันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 2022
สโมสร ฤดูกาล ลีก ถ้วยแห่งชาติ ทวีป อื่น ๆ ทั้งหมด
ระดับ ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู
ฟลูมีเน็งซี 2009[3] แซรีอีอา 8 0 0 0 5[a] 0 2[b] 0 15 0
2010[3] แซรีอีอา 4 0 3 0 4[b] 0 11 0
2011[3] แซรีอีอา 10 0 0 0 3[c] 0 3[b] 0 16 0
2012[3] แซรีอีอา 17 2 0 0 3[c] 0 8[b] 0 28 2
2013[3] แซรีอีอา 12 2 0 0 4[c] 0 9[b] 0 25 2
รวม 51 4 3 0 15 0 26 0 95 4
อัลฮิลาล 2013–14[3] ซาอุดีโปรลีก 8 0 2 0 14[d] 0 2[e] 0 26 0
2014–15[3] ซาอุดีโปรลีก 23 1 4 0 9[d] 1 4[e] 2 40 4
2015–16[3] ซาอุดีโปรลีก 14 0 2 0 5[d] 0 1[e] 0 22 0
รวม 45 1 8 0 28 1 7 2 88 4
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 2020–21 ไทยลีก 0 0 3 0 3 0
2021–22 ไทยลีก 11 0 0 0 11 0
รวม 11 0 3 0 14 0

เกียรติประวัติ

[แก้]
ฟลูมีเน็งซี
อัลฮิลาล
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Futebol - Elenco Profissional" (ภาษาโปรตุเกส). Fluminense Football Club. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 May 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-06-08.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 "Digão Facts". The Guardian. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 July 2012. สืบค้นเมื่อ 2009-12-11.
  3. 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 3.11 3.12 3.13 "Soccerway profile". Soccerway. สืบค้นเมื่อ 26 March 2015.
  4. "Nautico vs Fluminense". Soccerway. สืบค้นเมื่อ 26 March 2015.
  5. "Ceara vs Fluminense". Soccerway. สืบค้นเมื่อ 26 March 2015.
  6. 6.0 6.1 "Fluminense renova o contrato de zagueiro Digão até dezembro de 2013" (ภาษาโปรตุเกส). Globo Esporte. สืบค้นเมื่อ 26 March 2015.
  7. "กองหลังจอมพังประตู!ฟลูมิเนนเซยืนยันปล่อย ดิเกา ซบบุรีรัมย์". สืบค้นเมื่อ January 2, 2020.
  8. "ลุงเน คว้าตัว ดิเกา กัปตันทีมฟลูมิเนนเซ่ อุดช่องแผงหลัง". สืบค้นเมื่อ January 2, 2020.
  9. "ปราสาทสายฟ้า แม่นโทษ บุกดับ สิงห์เจ้าท่า ฉลุยรอบ 8 ทีม ช้าง เอฟเอ คัพ 2020". สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)