จิม โจนส์
จิม โจนส์ | |
---|---|
โจนส์ ตอนอยู่หน้า the International Hotel ในปีค.ศ.1977 | |
เกิด | James Warren Jones 13 พฤษภาคม ค.ศ. 1931 ครีต, รัฐอินดีแอนา, สหรัฐ |
เสียชีวิต | 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1978 โจนส์ทาวน์, ประเทศกายอานา | (47 ปี)
สาเหตุเสียชีวิต | อัตวินิบาตกรรม |
สัญชาติ | อเมริกัน |
อาชีพ | ผู้นำลัทธิ |
มีชื่อเสียงจาก | ผู้นำลัทธิพีเพิลส์เทมเปิล |
คู่สมรส | Marceline Baldwin Jones (สมรส 1949; เสียชีวิต 1978) |
บุตร | 9 |
เว็บไซต์ | "Alternative Considerations of Jonestown & Peoples Temple". jonestown.sdsu.edu/. |
เจมส์ วาร์เรน โจนส์ (อังกฤษ: James Warren Jones; ค.ศ. 1931 - ค.ศ. 1978) เป็นชาวอเมริกัน เป็นผู้นำการฆ่าตัวตายหมู่ครั้งที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ มีผู้เสียชีวิตกว่า 900 คน ที่เมืองโจนส์ทาวน์ ประเทศกายอานา ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1978
ประวัติ
[แก้]เจมส์ วาร์เรน โจนส์เกิดในวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 1931ในพื้นที่ชนบทของครีต รัฐอินดีแอนา สหรัฐ จาก James Thurman Jones กับ Lynetta Putnam[1][2][3][4] ในวัยเด็ก โจนส์ได้ชื่อเล่นจิมมี เขามีเชื้อสายไอริชและเวลส์[5] เขาและแม่ของเขาอ้างว่ามีเชื้อสายเชอโรคีบางส่วน แต่ไม่มีหลักฐานสนับสนุนข้ออ้างนี้[5][6]
เขาอาศัยอยู่ในชุมชนเคร่งศาสนา จิมเติบโตขึ้นเป็นผู้มีความศรัทธาในศาสนาคริสต์อย่างแรงกล้า เขาเริ่มท่องจำไบเบิ้ลตั้งแต่อายุ 8 ปี และเมื่ออายุ 12 เขาก็สามารถเทศน์สอนเด็กในละแวกบ้านราวกับเป็นนักบวชจริงๆ เมื่ออายุได้ 17 ปี จิมก็ไปเป็นนักเรียนฝึกหัดเพื่อจะเป็นบาทหลวงของนิกายเมโธดิสต์ พออายุ 21 ปี เขาก็ได้แต่งงานกับ มัลเซลีน บอลด์วินด์ ซึ่งเป็นนางพยาบาล และจิมก็ถอนตัวออกจากเมโธดิสต์ออกมาเป็นนักเผยแพร่ศาสนาอิสระ
แนวคิดและความเชื่อ
[แก้]ใน ค.ศ. 1957 จิมก่อตั้งลัทธิโบสถ์มวลชน (Peoples Temple) ขึ้นมาเพื่อเผยแพร่คำสอน โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลักเป็นคนผิวดำในเขตเกตโต้ เขาให้ความช่วยเหลือแก่คนผิวดำในรูปของอาหาร ที่พัก และหางานให้ทำ แต่ถูกต่อต้านจากชาวผิวขาวที่มีทัศนคติเหยียดสีผิว แต่จิมก็ไม่ยอมแพ้และทำการเผยแพร่ศาสนาต่อไปเรื่อยๆ ในขณะนั้นพลเมืองผิวดำของเมืองอินดีแอนาโพลิส เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับอเมริกากำลังรณรงค์การมีส่วนร่วมในการปกครองของคนผิวดำ เนื่องจากจิมมีพรสวรรค์ในการเทศน์ ทำให้จำนวนผู้ศรัทธาในตัวเขาจึงเพิ่มขึ้นมาก และโบสถ์มวลชนก็เติบโตอย่างรวดเร็ว ปี 1959 จิมรับเด็กเชื้อสายนิโกรและเด็กเชื้อสายเกาหลีอย่างละคนมาเป็นบุตรบุญธรรม นอกเหนือไปจากลูก 2 คนของเขากับมัลเซลีนและเรียกครอบครัวของตัวเองว่า Rainbow Family จิมได้รับอิทธิพลทางความคิดเรื่องการต่อต้านสงคราม และการรณรงค์สิทธิเสรีภาพ จากบาทหลวง มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์, แมลคัม เอ็กซ์และพรรคแบล็คแพนเธอร์ เขาตั้งสังคมอุดมคติเป็นแบบสังคมนิยมซึ่งไม่มีการแบ่งแยกเชื้อชาติ และเริ่มทำการรณรงค์เพื่อต่อต้านการแบ่งแยกสีผิว ทั้งการออกเดินขบวนและ ออกรายการโทรทัศน์ จิมมีทัศนคติว่ารัฐบาลและผู้แยกตัวออกจากโบสถ์เป็นศัตรู และจัดให้มีองครักษ์อยู่ข้างตัวเขาเกือบตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งส่งคนไปคอยจับตาดูบ้านของผู้แยกตัวออกจากโบสถ์ด้วย
การอพยพและก่อเหตุอื้อฉาว
[แก้]ในปี 1965 จิมย้ายโบสถ์มวลชน มายังเมืองยูเกียในแคลิฟอร์เนีย และต่อมาในปี 1967 จิมย้ายโบสถ์ไปยังเมืองซานฟรานซิสโก เขาเทศน์เรื่องความเสมอภาคในเชื้อชาติ ให้ความช่วยเหลือคนยากจน คนตกงาน คนมีคดีติดตัว ผู้ติดยาเสพติด โบสถ์เติบโตอย่างรวดเร็ว เขามีสาวกหลายพันคน เขาเข้าไปมีส่วนร่วมในการปกครองส่วนท้องถิ่น สร้างเส้นสายในหมู่นักการเมือง ซึ่งทำให้โบสถ์มีอำนาจมากขึ้นเรื่อยๆ ต่อมาเขาได้รับเลือกให้เป็นผู้บริหารเมือง จิมเริ่มมีท่าทีรุนแรงขึ้น เริ่มปฏิเสธพระเจ้า จิมมีสภาพจิตใจผิดปกติ มีอารมณ์รุนแรงและต้องพึ่งยาระงับประสาท จิมชักชวนให้สาวกบริจาคสมบัติทั้งหมดแก่โบสถ์ และมาใช้ชีวิตในโบสถ์ จิมสร้างฮาเร็มขึ้นในหมู่สาวก เด็ก ๆ ถูกแยกจากพ่อแม่ จิมสั่งให้สาวกเรียกเขาว่า "บิดาผู้ศักดิ์สิทธิ์" และเริ่มสร้างความศรัทธาในการฆ่าตัวตายหมู่ เพื่อที่วิญญาณของทุกคนจะได้เป็นหนึ่งเดียว และได้รับความสุขอันเป็นนิรันดร์ที่ดาวดวงอื่น
ในปี 1977 โบสถ์มวลชนย้ายสาวกมากกว่าพันคนไปสร้างเมือง "โจนส์ทาวน์" ขึ้น บนพื้นที่กว่า 300 เอเคอร์ ในประเทศกายอานา ทวีปอเมริกาใต้ เป็นเมืองในระบบเผด็จการ สาวกชายหญิงถูกแยกออกไปอยู่คนละเขต เด็กถูกกันไปอยู่อีกที่หนึ่ง มีการปกครองโดยกลุ่มคนผิวขาว คนผิวดำต้องทำงานใช้แรงงานตั้งแต่เช้าจรดเย็น ก่อนจะถูกบังคับให้เข้าพิธีในตอนกลางคืน ผู้ที่คิดหลบหนีจะถูกลงโทษอย่างรุนแรง ในปีนี้ เกรซ สโตน อดีตคนรักของจิม ออกมาเปิดโปงเบื้องหลังของโบสถ์ต่อสื่อมวลชน ส่งผลให้อดีตสาวกจำนวนมากออกมาฟ้องศาล และเกิดกลุ่มแอนตี้โจนส์ขึ้น
การเสียชีวิต
[แก้]วันที่ 14 พฤศจิกายน 1978 สส.ไรอันจากรัฐแคลิฟอร์เนีย พร้อมกับนักข่าว อดีตสาวก และครอบครัวของสาวกจำนวน 19 คนได้ไปยังประเทศกายอานา เพื่อเข้าตรวจโจนส์ทาวน์ ได้พบคนแก่และคนเจ็บถูกจับนอนเรียงกันบนเตียงเก่าๆจนแน่นไปหมด ในห้องเต็มไปด้วยกลิ่นเหม็น แมลงวันบินว่อน มีหนอนคลานอยู่จนทั่ว เมื่อนักข่าวจะถ่ายรูปก็มียามมาห้ามไว้ วันที่ 18 พฤศจิกายน ไรอันเดินทางออกจากโจนส์ทาวน์ตามกำหนดการ และพาสาวกจำนวน 16 คนซึ่งต้องการถอนตัวกลับไปด้วย แต่เมื่อทั้งหมดกำลังจะขึ้นเครื่องบิน ได้ถูกกลุ่มสาวกติดอาวุธเข้าโจมตีสังหาร เป็นผลให้ สส.ไรอันและผู้ติดตามรวม 5 คนเสียชีวิตแต่ทว่ามีนักบินผู้หนึ่งได้พบเห็นเหตุการณ์ได้แจ้งไปยังวิทยุการบินทำให้รัฐบาลสหรัฐรับรู้และส่งกองกำลังไปยังโจนส์ทาวน์เพื่อปราบปรามลัทธินอกรีตของจิม โจนส์ เวลา 5 โมงเย็นวันเดียวกัน เพียง 40 นาทีหลังการโจมตีสนามบิน จิมรวบรวมสาวกทั้งหมดกว่า 1100 คน เข้าร่วมในพิธีกรรม "ไวท์ไนท์" โดยนำน้ำผลไม้ผสมไซยาไนด์ให้สาวกดื่ม มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 909 คน 304ศพ เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ศพของจิมถูกพบบนแท่นเวที ที่ศีรษะด้านขวามีรอยกระสุน มีเพียง 167 คนที่รอดชีวิตมาได้
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Rolls 2014, p. 100.
- ↑ Hall 1987, p. 3.
- ↑ Levi 1982.
- ↑ Reiterman & Jacobs 1982, pp. 9–10.
- ↑ 5.0 5.1 Kilduff 1978, p. 10.
- ↑ Guinn 2017, p. 10.
บรรณานุกรม
[แก้]- Chidester, David (2004). Salvation and Suicide: Jim Jones, the People's Temple and Jonestown (Religion in North America) (2nd ed.). Indiana University Press. ISBN 978-0-253-21632-8.
- Collins, John Andrew (2017). Jim Jones: The Malachi 4 Elijah Prophecy. Dark Mystery Publications. ISBN 978-1548102630.
- Guinn, Jeff (2017). The Road to Jonestown: Jim Jones and People Temple. Simon & Schuster. ISBN 978-1-4767-6382-8.
- Hall, John R. (1987). Gone from the Promised Land. Transaction Publishers. ISBN 978-0-88738-801-9.
- Kilduff, Marshall (1978). The Suicide Cult. US: Bantam Books. ISBN 0-553-12920-1.
- Layton, Deborah (1998). Seductive Poison. Anchor Books. ISBN 978-1-85410-600-1.
- Maaga, Mary McCormick (1998). Hearing the voices of Jonestown. Syracuse University Press. ISBN 978-0-8156-0515-7.
- Moore, Rebecca (1985). A Sympathetic History of Jonestown. Lewiston: E. Mellen Press. ISBN 0-88946-860-5.
- Reiterman, Tom; Jacobs, John (1982). Raven: The Untold Story of Rev. Jim Jones and His People. E. P. Dutton. ISBN 978-0-525-24136-2.
- Rolls, Geoff (2014). Classic Case Studies in Psychology (3rd ed.). Taylor & Francis. ISBN 978-1-317-90961-3.
- Wessinger, Catherine (2000). How the Millennium Comes Violently: From Jonestown to Heaven's Gate. Seven Bridges Press. ISBN 978-1-889119-24-3.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Bebelaar, Judy and Ron Cabral. "And Then They Were Gone: Teenagers of Peoples Temple". Sugartown Publishing, 2018. ISBN 978-0-9987096-8-0.
- Brinton, Maurice. "Suicide for socialism?" Brinton's analysis of the bizarre mass suicide of a socialist cult led by American Jim Jones in Jonestown, Guyana, which discusses the dynamics of political sects in general.
- Fagan, Kevin. November 12, 1998. "Haunted by Memories of Hell. San Francisco Chronicle.
- Flynn, Daniel J. (2018). Cult City: Jim Jones, Harvey Milk, and 10 Days that Shook San Francisco. ISI Books. ISBN 978-1-61017-151-9.
- Hatfield, Larry D. November 8, 1998. "Utopian nightmare Jonestown: What did we learn?", with contributions by Gregory Lewis, Eric Brazil, and Judy Canter. San Francisco Examiner.
- Hutchinson, Sikivu (2015). White Nights, Black Paradise. Infidel Books. ISBN 978-0-692-26713-4.
- Isaacson, Barry. "From Silver Lake to Suicide: One Family's Secret History of the Jonestown Massacre เก็บถาวร 2012-10-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". LA Weekly.
- Kahalas, Laurie Efrein. April 8, 1999. "Jonestown: Dismantling the Disinformation". New Dawn 53. Kahalas is an 812-year member of the Peoples Temple who was living in the Temple building in San Francisco when tragedy struck.
- Kilduff, Marshall, and Phil Tracy. August 1, 1977. "Inside Peoples Temple". Used by permission of authors for the San Francisco Chronicle.
- Klineman, George; Butler, Sherman (1980). The Cult That Died. G. P. Putnam's Sons. ISBN 978-0-399-12540-9.
- Lattin, Don. February 2, 2012. "The End To Innocent Acceptance Of Sects Sharper scrutiny is Jonestown legacy". San Francisco Chronicle.
- Levi, Ken (1982). Violence and Religious Commitment: Implications of Jim Jones's People's Temple Movement. Penn State University Press. ISBN 978-0-271-00296-5.
- Litke, Larry Lee. [1980] 2019. "The Downfall of Jim Jones". Alternative Considerations of Jonestown & Peoples Temple.
- Nakao, Annie. January 23, 2012. "The ghastly Peoples Temple deaths shocked the world. Berkeley Rep takes on the challenge of coming to terms with it". SF Chronicle.
- Naipaul, Shiva (1980). Black & White. London: Hamish Hamilton. ISBN 978-0-241-10337-1.
- Rapaport, Richard. Jonestown and City Hall slayings eerily linked in time and memory Both events continue to haunt city a quarter century later.
- Szasz, Thomas S. February 5, 1979. "The Freedom Abusers". Inquiry.
- Taylor, Michael. November 12, 1998. "Jonestown: 25 Years Later How spiritual journey ended in destruction: Jim Jones led his flock to death in jungle". San Francisco Chronicle.
- — "Jones Captivated S.F.'s Liberal Elite: They were late to discover how cunningly he curried favor". San Francisco Chronicle.
- Taylor, Michael and Don Lattin. February 3, 2012. And Most Peoples Temple Documents Still Sealed". San Francisco Chronicle
- Zane, Maitland. November 13, 1998. "Surviving the Heart of Darkness: Twenty years later, Jackie Speier remembers how her companions and rum helped her endure the night of the Jonestown massacre". San Francisco Chronicle.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- The Jonestown Institute
- FBI No. Q 042 The "Jonestown Death Tape", recorded November 18, 1978 (Internet Archive)
- Transcript of Jones's final speech, just before the mass suicide
- Jonestown Audiotape Primary Project: Transcripts
- "Jim Jones". Encyclopædia Britannica. [2002] 2020.
- จิม โจนส์ ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส
- The first part of a series of articles about Jim Jones published in the San Francisco Examiner in 1972.
- History Channel Video and Stills
- "Mass Suicide at Jonestown: 30 Years Later". Time.
- Jonestown 30 Years Later, photo gallery published Friday, October 17, 2008.
- American Experience. 2007. Jonestown: The Life and Death of Peoples Temple. US: PBS. Retrieved June 20, 2020.