ข้ามไปเนื้อหา

ม้าสายลม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Wind horse)
ม้าสายลมบนธงมนตร์ในสาธารณรัฐตูวา

ม้าสายลม (อังกฤษ: wind horse) หรือในภาษาทิเบตเรียก ลุงตา (ทิเบต: རླུང་རྟ་, ไวลี: rlung rta) เป็นสัญลักษณ์แทนวิญญาณมนุษย์ในธรรมเนียมลัทธิชามานของเอเชียตะวันออกและเอเชียกลาง ในศาสนาพุทธแบบทิเบตถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญในสัตว์สี่ชนิดที่แทนทิศทั้งสี่รวมถึงเป็นสัญลักษณ์แทนแนวคิดของความโชคดีและความเป็นอยู่ที่ดี นอกจากนี้คำว่า ลุงตา ยังเป็นชื่อเรียกของธงมนตร์รูปแบบที่มีรูปสัตว์ห้าชนิด ส่วนในมองโกเลียซึ่งเรียกม้าสายลมว่า คีย์โมรี (มองโกเลีย: хийморь, Khiimori) ยังใช้คำเดียวกันนี้ยังอาจเรียกแทนคำว่าวิญญาณ ม้าสายลมยังถูกนำมาประยุกต์เป็นรูปของตราแผ่นดินของมองโกเลียเช่นกัน

ในวัฒนธรรมทิเบตนั้น ศาสนาพุทธ (ไวลี: lha chos, "พระธรรมเลิศล้ำ") กับศาสนาพื้นถิ่น (ไวลี: mi chos, "พระธรรมมนุษย์") ดำรงอยู่ร่วมกัน[1] ม้าสายลมเป็นองค์ประกอบหลักที่ปรากฏในศาสนาพื้นถิ่น และเป็นสัญลักษณ์ของทางโลกหรือของฆราวาส มากกว่าจะเป็นแนวคิดในศาสนาพุทธ ดังที่อธิบายไว้โดยนักวิชาการด้านทิเบต ซัมเตน จี คาร์มาย[2] แม้เดิมที ม้าสายลมจะไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธ แต่ต่อมาก็ได้ผสมกลมกลืนเข้าเป็นองค์ประกอบทางศาสนาของพุทธ[2] โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลามะสมัยศตวรรษที่ 19 ในขบวนการริเม โดยเฉพาะจู มีพัม เริ่มที่จะผสานลัทธิชามานพื้นถิ่น ตำนานมุขปาฐะ ตันตระแบบพุทธ ลัทธิเต๋า จงเชนและ กาลจักรตันตระเข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบ[3] ที่ซึ่งม้าสายลมกลายมาเป็นสัญลักษณ์ที่มีความพุทธมากขึ้น และถูกนำมาประยุกต์ใช้ในทางศาสนาพุทธแบบทิเบตเรื่อยมา

ม้าสายลมมีหลายความหมาย ความหมายที่นิยมตีความในคติของทิเบตคือม้าสายลมเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นอยู่ที่ดีและโชคดี แนวคิดนี้ปรากฏในคำกล่าวเช่น rlung rta dar ba (ม้าสายลมเพิ่มขึ้น) สำหรับแทนเมื่อเรื่องดี ๆ เกิดขึ้น[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Davidson, Ronald M. (2005). Tibetan Renaissance : tantric Buddhism in the rebirth of Tibetan culture. New York, NY [u.a.]: Columbia Univ. Press. p. 76. ISBN 9780231134705.
  2. 2.0 2.1 2.2 Karmay, Samten G. The Arrow and the Spindle: Studies in History, Myths, Rituals and Beliefs in Tibet. Mandala Publishing: 1998 pg. 415
  3. Kornman, Robin. "The Influence of the Epic of King Gesar on Chogyam Trungpa," in Recalling Chogyam Trungpa, edit. Fabrice Midal. pgs 369-370