จำลอง รุ่งเรือง
จำลอง รุ่งเรือง | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแม่ฮ่องสอน | |
ดำรงตำแหน่ง 24 เมษายน พ.ศ. 2526 – 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 | |
ก่อนหน้า | พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ |
ถัดไป | บุญเลิศ สว่างกุล |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี |
พรรคการเมือง | ประชาชน (2567–ปัจจุบัน) |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | กิจสังคม (2526–2538) มวลชน (2539–2543) ความหวังใหม่ (2544–2545) ชาติพัฒนากล้า (2562–2565) เพื่อไทย (2565)[1] พลังประชารัฐ (2565)[2] รวมไทยสร้างชาติ (2565–2566) ก้าวไกล (2567) |
คู่สมรส | สุพร รุ่งเรือง |
จำลอง รุ่งเรือง (เกิด 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2495) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแม่ฮ่องสอน 1 สมัย สังกัดพรรคกิจสังคม และอดีตเลขานุการรองนายกรัฐมนตรี (ทองหยด จิตตวีระ)
ประวัติ
[แก้]จำลอง เกิดเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 ที่อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรนายเพียร นางเกตุ รุ่งเรือง ด้านครอบครัวสมรสกับ สุพร รุ่งเรือง (สกุลเดิม: อุบลศิลป์) มีบุตร 3 คน คือ นางสาวพิมพ์สุวรรณ รุ่งเรือง นางสาวพิมพ์จำลอง รุ่งเรือง และนายลองเฉลิม รุ่งเรือง
จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ครุศาสตร์บัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร จบการศึกษาระดับปริญญาโท ครุศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
งานการเมือง
[แก้]ในปี พ.ศ. 2526 จำลอง ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เขต 1 สังกัดพรรคกิจสังคม และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ในปี พ.ศ. 2539 จำลอง ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เขต 1 สังกัดพรรคมวลชน แต่แพ้ให้กับปัญญา จีนาคำ ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์
ในปี พ.ศ. 2544 จำลอง ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เขต 1 สังกัดพรรคความหวังใหม่ แต่แพ้ให้กับปัญญา จีนาคำ ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์
ในปี พ.ศ. 2566 จำลอง ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เขต 1 สังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ แต่แพ้ให้กับปกรณ์ จีนาคำ ผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐ [3]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]จำลอง รุ่งเรือง ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดแม่ฮ่องสอน สังกัดพรรคกิจสังคม
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2528 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[4]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ จำลอง รุ่งเรือง ตัดสินใจลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย
- ↑ จำลอง รุ่งเรือง ตัดสินใจเข้าเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ ด้วยการแนะนำของ เสธหิ พร้อมใส่เสื้อพรรคพลังประชารัฐเป็นว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.แม่ฮ่องสอน เขต 1
- ↑ “เสธหิ” ขอโอกาสคนแม่ฮ่องสอนเลือก “จำลอง รุ่งเรือง”
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๒๘, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๓๐๔, ๕ ธันวาคม ๒๕๒๘
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2495
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภออู่ทอง
- นักการเมืองจากจังหวัดสุพรรณบุรี
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแม่ฮ่องสอน
- นักการเมืองพรรคกิจสังคม
- พรรคนำไทย
- พรรคมวลชน
- นักการเมืองพรรคความหวังใหม่
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2550)
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- นักการเมืองพรรคพลังประชารัฐ
- นักการเมืองพรรครวมไทยสร้างชาติ
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยสวนดุสิต
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.ช.