จัตุรัสฟิรเดาส์
จัตุรัสฟิรเดาส์ (Firdos Square) | |
---|---|
จัตุรัสเมือง | |
จัตุรัสฟิรเดาส์และมัสยิดเราะมะฎอนด้านหลัง (ภาพ ค.ศ. 2003) | |
ที่ตั้ง | ถนนอัล-ซะดูน (Al-Sadoon) และถนนอะบู-นูวอ์อัส (Abu-Nuw'as), เขตอัล-รุซะฟา แบกแดด, ประเทศอิรัก |
พิกัด: 33°18′52.68″N 44°25′14.43″E / 33.3146333°N 44.4206750°E |
จัตุรัสฟิรเดาส์ (อังกฤษ: Firdos Square; อาหรับ: ساحة الفردوس, อักษรโรมัน: Sāḥat al-Firdaus) เป็นพื้นที่เปิดสาธารณะใจกลางเมืองแบกแดด ประเทศอิรัก ชื่อของจัตุรัสนั้นตั้งมาจากคำในภาษาเปอร์เซีย: فردوس, อักษรโรมัน: Firdows แปลว่า "สวรรค์"
โดยรอบของจัตุรัสเป็นที่ตั้งของมัสยิดเราะมะฎอนที่ 17 และโรงแรมสำคัญสองแห่ง คือโรงแรมปาเลสไตน์ และ โรงแรมอิชตอร
วงเวียนใจกลางจัตุรัสนั้นเคยเป็นที่ตั้งของรูปปั้นมากมายมาก่อน เริ่มจากซุ้มประตูเฉลิมฉลอง ทหารนิรนาม (The Unknown Soldier) ในปี ค.ศ. 1959 ซึ่งต่อมาถูกแทนที่ด้วยรูปปั้นของซัดดัม ฮุสเซนที่ถูกทำลายลงระหว่างสหรัฐบุกยึดครองอิรักในปี 2003 ต่อมารูปปั้นนามธรรมสีเขียวโดย บีสมิ ฮะมัด อัฎเฎาะวิรี ได้ถูกนำมาตั้งแทนที่รูปปั้นของซัดดัม สถาปนิกผู้สร้างอนุสรณ์ทหารนิรนาม ริฟัต ตุลญัดเราะญี ได้ระบุในปี 2009 ว่ามีความสนใจที่จะสร้างอนุสรณ์สถานทหารนิรนามขึ้นใหม่ ณ ที่วงเวียนเดิมนี้[1] ในปี 2013 รูปปั้นของอัฎเฎาะวิรี และเสาประดับได้ถูกนำออกจากจัตุรัสฟิรเดาส์[2]
การทำลายรูปปั้น
[แก้]เมื่อเดือนเมษายน 2002 รูปปั้นของซัดดัม ฮุสเซน สูง 12 เมตร (39 ฟุต) ออกแบบโดยประติมากร คอลิด อะซุต ได้ถูกตั้งขึ้นเพื่อฉลองวันเกิดปีที่ 65 ของซัดดัม ฮุสเซน[3]
ในปี 2003 รูปปั้นได้ถูกทลายลงมาโดยประชาชนอิรักภายใต้การช่วยเหลือของสหรัฐในการเข้ายึดอิรัก ต่อหน้าฝูงชนนับร้อยคน และได้รับการถ่ายทอดไปเป็นจำนวนมาก[4] โรเบิร์ต ฟิสก์ กล่าวว่าเป็น "ภาพจัดฉากที่สำคัญที่สุดตั้งแต่อิโวจิมะเป็นต้นมา"[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Famed Iraqi architect rebuilds Baghdad landmark"
- ↑ Hadi Mizban. "In this Sunday, April 7, 2013 photo, a general view of Firdous Square". Yahoo! News. AP Photo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 มิถุนายน 2013. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2020.
where the statue of Saddam Hussein was pulled down by U.S. forces and Iraqis on April 9, 2003, in central Baghdad, Iraq. Ten years ago, a statue fell in Paradise Square. Joyful Iraqis helped by a U.S. Army tank retriever pulled down their longtime dictator, cast as 16 feet of bronze. The scene broadcast live worldwide became an icon for a war, a symbol of final victory over Saddam Hussein. But for the people of Baghdad, it was only the beginning. The toppling of the statue on April 9, 2003, remains a potent symbol that has divided Iraqis ever since.
- ↑ Lucas, Dean (2007). "Famous Pictures Magazine - Fall of Saddam Hussein's Statue". Famous Pictures Magazine. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2007.
- ↑ "Doctored Photo from the London Evening Standard". The Memory Hole. 13 พฤษภาคม 2003.
- ↑ "Lights, camera, rescue". Seattle Post-Intelligencer. 30 พฤษภาคม 2003.