ข้ามไปเนื้อหา

จักรยานเสือภูเขา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
A full-suspension mountain bike
Fatbike

จักรยานเสือภูเขา (A mountain bike or mountain bicycle) (เรียกย่อว่า เอ็มทีบี (MTB) หรือ เอทีบี (ATB) เหมาะสำหรับ ทางทุกสภาพภูมิประเทศ) ซึ่งเป็น จักรยาน ที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ปั่นในเส้นทางออฟโรด

จักรยานเสือภูเขา โดยทั่วไปจะใช้ปั่นในเส้นทางที่เป็นภูเขาเทือกเขา, แนวกันไฟ, ทางโคลน, และเส้นทางดิน ลักษณะภูมิประเทศแบบนี้ โดยทั่วไปจะมีก้อนหิน อุปสรรค, ร่องน้ำ, ทรายร่วน, กรวดร่วน, รากไม้, และทางลาดชัน (ทั้งขึ้นและลง) จักรยานเสือภูเขาสร้างถูกขึ้นมาเพื่อรับมือกับสภาพภูมิประเทศและอุปสรรคที่เหมือนกับ ท่อนไม้ ทางขาด และก้อนหินขนาดเล็ก

โครงสร้างของจักรยานเสือภูเขาจะแตกต่างจากจักรยานทั่วไปหลายอย่าง โดยสิ่งที่เป็นจุดสังเกตที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ การใช้งาน ระบบกันสะเทือน เข้ามาแทนที่ในตะเกียบหน้าและเฟรม, ยางที่มีดอกยางขนาดใหญ่, ล้อ ที่ใหญ่และหนักกว่าปกติ, เบรกที่มีประสิทธิภาพสูง, และเกียร์ที่มีอัตราทดต่ำ สำหรับทางลาดชันซึ่งมีอุปสรรคมากมาย

ตั้งแต่มีการพัฒนาทางด้านการกีฬาในช่วงปี 1970 จักรยานเสือภูเขา ในรูปแบบย่อย ๆ ได้ถูกพัฒนาขึ้นมากมาย เช่นจักรยานประเภท ครอสคันทรี (XC) ใช้ปั่นในทางขรุขระเล็กน้อยโดยทั่วไป เช่นปั่นเส้นทางระหว่างเมือง, จักรยานประเภทเอ็นดูรานจะมีความยากของเส้นทางเพิ่มขึ้นมามากกว่าแบบครอส, จักรยานประเภท ฟรีไรด์ ใช้ปั่นในทางภูเขาทั้งขึ้นและลง อาจมีโดดสูง ๆ, จักรยานประเภทดาวฮิลล์ ใช้ขี่ลงเขาโดยส่วนมาก, และประเภทแทร็คและสลาลมอีกหลายแบบ ในแต่ละประเภทความต้องการจักรยานจะมีความแตกต่างกันออกไปเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดจากการออกแบบ การพัฒนาจักรยานเสือภูเขามีการเพิ่มเกียร์เป็น 30 สปีด เพื่อให้ง่ายในการขึ้นและลงทางชัน อย่างไรก็ตาม ความก้าวหน้าในการออกแบบในปัจจุบันนี้ได้มีแนวโน้มในการใช้งานเฟืองหน้าแบบเฟืองเดียว 1x (ออกเสียงภาษาอังกฤษว่า วันบาย) การเปลี่ยนเกียร์ที่ง่ายในการใช้งานเฟืองหน้าเพียงเฟืองเดียวและใช้เฟืองหลังหลายเฟือง โดยทั่วไปเฟืองหลังที่ใช้จะมีจำนวนเฟืองที่ 9, 10 หรือ 11 ชิ้น[1] ซึ่งทำให้น้ำหนักของอุปกรณ์ลดลง ในขณะที่ยังสามารถใช้เกียร์ที่ยังมีให้เลือกมากเหมือนเดิม จักรยานเสือภูเขาซิงเกิ้ลสปีด(มีเฟืองหน้าและเฟืองหลังเพียงอย่างละหนึ่ง) ก็กำลังจะเป็นที่นิยมมากขึ้นเช่นกัน [ต้องการอ้างอิง] การพัฒนาการใช้เบรกแบบดิสเบรกแทนที่การใช้เบรกแบบจับขอบล้อเดิม (ริมเบรก) และล้อขนาด 27.5" และ 29" ที่จะมาแทนล้อแบบเก่าที่มีขนาด 26"

ประวัติ

[แก้]
A cross country mountain bike race.

ประวัติของการขี่จักรยานเสือภูเขาได้รับการสนับสนุนจาก ไซโคครอส ในยุโรป และ สมาคม Roughstuff [2] ในกลุ่มประเทศสหราชอาณาจักร ชื่อของ "จักรยานเสือภูเขา (mountain bike)" ปรากฏตัวครั้งแรกในสิ่งพิมพ์ในปี 1966 ว่า "mountain bicycle" โดยที่จักรยานเสือภูเขาได้รับการดัดแปลงหลายอย่างจาก จักรยานครุยเซอร์ ซึ่งใช้สำหรับการขี่ลงเส้นทางภูเขา และกีฬาประเภทนี้ได้กลายเป็นที่นิยมในปี 1970 ในทางเหนือของแคลิฟอเนียร์, ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งผู้ขี่จะใช้รถซิงเกิ้ลสปีดแบบดั้งเดิม ยางจักรยานแบบบอลลูน เพื่อขี่ลงภูเขาที่มีความขรุขระ[3] Joe Breeze, ผู้ผลิตเฟรมจักรยาน, ได้ใช้แนวคิดจากสิ่งนี้ในการออกแบบจักรยานเสือภูเขาคันแรก[4] ในปี 2007 ภาพยนตร์สารคดี, Klunkerz: A Film About Mountain Bikes, แสดงให้เห็นถึงช่วงเวลาขณะนั้นที่มีการใช้จักรยานเสือภูเขาแบบละเอียด อย่างไรก็ตาม จักรยานเสือภูเขายังไม่ได้รับความนิยมในช่วง 1970 และช่วงต้น 1980 จนกระทั่ง โรงงานที่ผลิต จักรยานเสือหมอบ เริ่มที่จะผลิตจักรยานเสือภูเขาโดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเช่น วัสดุที่มีน้ำหนักเบาเป็นพิเศษ เช่นอะลูมิเนียมรหัส M4 การผลิตจักรยานเสือภูเขาแบบผลิตครั้งละมาก ๆ เป็นครั้งแรกคือจักรยานสเปเชียลไลซ์รุ่นสตัมป์จัมเปอร์ (Specialized Stumpjumper), ในปี 1981[5] ตลอดปี 1990 และ 2000 จักรยานเสือภูเขาได้เปลี่ยนจากกีฬาที่เล่นกันในกลุ่มเล็ก ๆ ไปเป็นการแข่งขันระหว่างประเทศและการแข่งขันชิงแชมป์โลก

การออกแบบ

[แก้]

จักรยานเสือภูเขาสามารถแบ่งออกได้เป็นสี่ประเภทตามพื้นฐานของระบบกันสะเทือนดังนี้:

  • ริกิด (Rigid): เฟรมเชื่อมต่อกับตะเกียบหน้าหลังแบบตายตัว ไม่มีระบบกันสะเทือน
  • ฮาร์ดเทล (Hard Tail): เฟรมที่มีระบบกันสะเทือนหน้า แต่ตะเกียบหลังเป็นโครงแข็ง ไม่มีระบบกันสะเทือนหลัง
  • ซอร์ฟเทล (Soft tail): เฟรมที่มีระบบกันสะเทือนหลังแบบที่ยุบได้เล็กน้อย โดยสร้างจากวัสดุที่มีความยืดหยุ่นแทนที่จะใช้แกนหมุน
  • ดูอัล (Dual) หรือ ฟูลซัสเพนชั่น (Full suspension): มีระบบกันสะเทือนหน้าแทนที่ตะเกียบหน้าและระบบกันสะเทือนหลังที่ใช้โช้ค ซึ่งมีแกนเชื่อมต่อไปยังล้อหลังเพื่อให้ล้อหลังสามารถเคลื่อนที่โดยผ่านแกนหมุน

พื้นฐานการออกแบบ

[แก้]
2008 GT Zaskar Pro Carbon Hardtail cross country mountain bike with carbon frame and disc brakes
Mountain bikes are built tough to withstand jumps and drops.

จักรยานเสือภูเขามีรูปแบบที่หลากหลาย โดยทั่วไปจะแบ่งประเภทโดยลักษณะภูมิประเทศที่ใช้ และลักษณะของผู้ใช้งาน รูปแบบของการขับขี่จักรยานเสือภูเขาและ รูปแบบของลักษณะของจักรยานเสือภูเขา ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วงปีที่ผ่านมา ซึ่งนำไปสู่คำว่า ฟรีไรด์ และ "เทลไบค์" ซึ่งนำไปเป็นประเภทหนึ่งของจักรยานเสือภูเขาโดยที่คำจำกัดความของจักรยานเสือภูเขาประเภทต่าง ๆ ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายแสดงไว้ตามด้านล่างนี้

ครอสคันทรี หรือเรียกว่าเอ็กซี(XC) จักรยานประเภทนี้ได้รับการออกแบบเพื่อเป็นพื้นฐานของการใช้งานแบบการปั่นในทางที่เป็นทางแข่งขันระหว่างเมือง การแข่งขันระหว่างเมืองหรือ ครอสคันทรี่จะเน้นไปในทางขี่ขึ้นเขาที่มีผิวทางขรุขระซึ่งต้องการความเร็วและความทนทาน จักรยานที่ต้องการสำหรับทางแบบนี้คือ ต้องมีทั้งประสิทธิภาพและ น้ำหนักเบา ในปี 1980 และช่วงต้นของปี 1990 จักรยานแบบครอสคันทรี จะใช้เฟรม ฮาร์ดเทล ที่ทำจากโละผสมน้ำหนักเบา และใช้ตะเกียบ จนกระทั่งปี 1990 จักรยานครอสคันทรี ได้พัฒนาโดยการผสม เฟรมอลูมิเนียนน้ำหนักเบา และมีระบบกันสะเทือนหน้าที่โช้คมีช่วงยุบสั้น ๆ (65 ถึง 110 มิลลิเมตร) เมื่อไม่นานมานี้การออกแบบให้มีการใช้งาน ระบบกันสะเทือนแบบฟูลซัสเพนชั่น และการใช้เฟรมที่ทำจากคาร์บอนไฟเบอร์ ซึ่งมันจะทำให้จักรยานที่ใช้ระบบกันสะเทือนแบบหน้าหลังสามารถมีน้ำหนักรวมทั้งคัน ต่ำกว่า 10 กิโลกรัม รูปทรงของจักรยานเสือภูเขาแบบครอสคันทรีจะนิยม ให้มีความสามารถในการปีนขึ้นที่สูง และตอบสนองต่อการกดบันไดอย่างรวดเร็ว และการลงเขาอย่างมีเสถียรภาพที่ดีซึ่งมุมของคอจักรยานจะอยู่ที่ช่วง 70–71 องศา แม้ว่าการออกแบบมาเพื่อการใช้งานในทางออฟโรด จักรยานเสือภูเขาแบบครอสคันทรี ก็ยังได้รับการออกแบบมาให้มีน้ำหนักเบา และไม่ได้ออกแบบมาให้มีความทนทานต่อทางขึ้นลงเขาที่ชันมาก ๆ

"เทลไบค์" (trail Bikes) ได้รับการพัฒนาเพิ่มเติมจาก จักรยานแบบครอสคันทรี โดยทั่วไปใช้ในทางที่สร้างขึ้น หรือทางธรรมชาติ โดยมีช่วงยุบของระบบกันสะเทือนหลังยาวประมาณ 5 นิ้ว (120–140 มิลลิเมตร น้ำหนักทั้งคันประมาณ 11 ถึง 15 กิโลกรัม (24 ถึง 33 ปอนด์), และมีรุปทรงที่ท่านั่งถอยไปทางด้านหลังมากกว่า ครอสคันทรีเล็กน้อย แต่ไม่ถึงกับจักรยานออลเมาเท่น ตัวอย่างของรุ่นที่เป็นเทลไบค์เช่น ไจเอ้นเทรนซ์ (Giant Trance), เทรคตระกูลฟูเอลอีเอ็ก (Trek Fuel EX series), และสเปเชี่ยลไลซ์ สตัมจัมเปอร์ (Specialized Stumpjumper FSR), และรุ่นอื่น ๆ โดยที่ไม่ค่อยสนใจเรื่องน้ำหนักมากนัก เทลไบค์ส่วนมากจะสร้างมาโดยให้สามารถควบคุมรถในทางที่มีความขรุขระที่มากกว่าจักรยานครอสคันทรี โดยมีคอแฮนด์ที่มีมุมเอียงน้อยกว่า อยู่ที่ประมาณ 69-68 องศา ซึ่งจะให้การควบคุมที่นิ่งขึ้นในการลงเขา

เอ็นดูโร่ หรือ ออลเมาเท่น (AM) จักรยานประเภทนี้ เป็นส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างครอสคันทรี่กับ ฟรีไรด์ เช่นจักรยานเทรครุ่น รีมาดี (Trek Remedy), สเปเชี่ยลไลซ์ เอ็นดูโร่ น้ำหนักรวมทั้งคันจะอยู่ที่ประมาณ 13 ถึง 16 กิโลกรัม (29 ถึง 35 ปอนด์) จักรยานประเภทนี้จะมีระบบกันสะเทือนที่มากกว่าเทลไบค์ โดยทีระบบกันสะเทือนหลังจะมีความยาว ที่ 6 นิ้ว (150 มิลลิเมตร) หรือ 7 นิ้ว ของทั้ง หน้าและหลัง โดยส่วนมากจะปรับได้ สำหรับรุ่นกลางและสูง การออกแบบจะเน้นไปในการขี่ทั้งขึ้นและลงเขาได้เป็นอย่างดี จักรยานประเภทนี้จะออกแบบให้สามารถปั่นได้ทั้งทางขึ้นชันและลงชันโดยสามารถไปได้ทุกที่ตลอดเวลา ดังนั้นจึงเป็นที่มาของคำว่า ออลเมาเท่น

This is an upgraded entry level Downhill/Freeride bike: Specialized Bighit 2006 with 203 มิลลิเมตร (8.0 นิ้ว) of travel in the front and 190 มิลลิเมตร (7.5 นิ้ว) of travel in the back

ดาวฮิลล์ (DH) จักรยานประเภทนี้จะมีระบบกันสะเทือนที่มีระยะยุบที่แปดนิ้ว หรือมากกว่า (200 มิลลิเมตร) มันถูกสร้างขึ้นมาด้วยเฟรมที่มีความแข็งแรง น้ำหนักค่อนข้างมาก โดยส่วนมากต้องใช้อะลูมิเนียมที่มีความแข็งแรงและราคาสูง และเมื่อไม่นานมานี้ได้มีการใช้งานคาร์บอนไฟเบอร์มาทำเฟรม ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา จักรยานดาวฮิลล์ที่มีน้ำหนักเบาจะมีน้ำหนักทั้งคันอยู่ที่ 40 ปอนด์ (18 กิโลกรัม) มีช่วงการใช้เกียร์ที่มีอัตราทดสูง, ขนาดที่ยาวกว่า, มีรูปทรงที่เยื้องหลังมากกว่า, จักรยานประเภทดาวฮิลล์ สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ขี่ในทางลงเขาเท่านั้น จักรยานประเภทนี้จะมีระยะยุบของระบบกันสะเทือนที่มากกว่าจักรยานทั่วไปเนื่องจากใช้รับการกระแทกในขณะลงเขาด้วยความเร็ว มุมคอส่วนมากจะอยู่ที่ 62 องศา ในหลายๆครั้งที่ จักรยานที่เร็วที่สุด จะเป็นจักรยานประเภทดาวฮิล์ การใช้งานที่ความเร็วสูงเนื่องจากการขี่ลงเขาทำให้จักรยานดาวฮิลล์ส่วนมากจะมีจานหน้าเพียงแค่จานเดียว และมี บัชการ์ด (เพื่อไม่ให้โซ่หลุดออกจากจานหน้า)ขนาดใหญ่ ดังนั้นในการแข่งขัน นักแข่งมักจะใช้ เชนไกด์โดยที่ไม่มีบัชการ์ด เพื่อลดน้ำหนัก บางบริษัทที่ผลิตจักรยานได้มีการออกแบบระบบเกียร์ที่มีตัวเปลี่ยนเกียร์ติดอยู่ที่เฟรม การออกแบบนี้เพื่อแก้ปัญหาความต้องการใช้งานตีนผีด้านหลัง แต่ไม่ให้มีอุปกรณ์ยื่นออกมาเพื่อให้มีความคงทนในขณะแข่งขัน

ฟรีไรด์ (FR) จักรยานประเภทนี้จะเหมือนกับ ดาวฮิลล์ , แต่มีน้ำหนักที่น้อยกว่า และมีความแข็งแรงมากกว่า จักรยานฟรีไรด์ มีความตั้งใจที่จะทำมา เพื่อให้รองรับการใช้งานที่มีการยุบของระบบกันสะเทือนที่มีระยะยุบอย่างน้อยที่ 7 นิ้ว (180 มิลลิเมตร) อุปกรณ์ประกอบอื่นๆทำมาเพื่อความแข็งแรง จึงมีน้ำหนักมาก มันสามารถนำไปปั่นขึ้นเขาได้ ไม่สะดวกมากนัก เพราะว่าองศาของท่อคอที่ไปทางด้านหลัง จะทำให้การถ่ายน้ำหนัก หรือ บาลานซ์น้ำหนักทำได้ยาก ขณะใช้ความเร็วต่ำ มันจะมีประสิทธิภาพสูงเมื่อนำไปขี่ทางลงเขา เฟรมจะมีความชันขององศามากกว่า จักรยานดาวฮิลล์ ซึ่งข้อดีคือสามารถข้ามอุปสรรค ขนาดเล็กได้อย่างคล่องตัว จักรยานฟรีไรด์ โดยทั่วไปจะมีน้ำหนักที่ประมาณ 14 ถึง 20 กิโลกรัม (31 ถึง 44 ปอนด์). จักรยานฟรีไรด์ที่มีความทนทานสูงก็จะมีน้ำหนักที่มากตามไปด้วย และการที่มีระยะยุบตัวของระบบกันสะเทือนที่มากขึ้น ก็จะทำให้ไม่สะดวกในการนำไปปั่นขึ้นเขา อย่างไรก็ตาม ในรถรุ่นใหม่ๆ จะมาพร้อมกับระบบกันสะเทือนชนิดพิเศษที่ช่วยให้สามารถปั่นขึ้นเขาได้ง่ายขึ้นโดย สามารถปรับระยะยุบให้น้อยลงโดยอัตโนมัติเมื่อปั่นขึ้นเขา

สโลปสไตล์ (SS) เป็นส่วนผสมระหว่าง ฟรีไรด์และดาวฮิลล์

ไทรอัล จักรยานประเภทนี้ ถูกสร้างขึ้นเป็นพิเศษ จักรยานจะมี 2 ประเภทคือล้อขนาด 26 นิ้ว (อ้างถึง 'สต็อก') และมีแบบล้อขนาด 20 นิ้ว (อ้างถึง 'ดัดแปลง' - เพราะว่าในอดีต มีการดัดแปลงจาก บีเอ็มเอ็ก) โดยทั่วไปจะไม่มีระบบกันสะเทือนทั้งหมด,แม้ว่าจะได้ประโยชน์จากมันบ้าง แต่ในกฎการแข่งขันบางครั้งจะยอมให้ใช้ล้อขนาด 26 นิ้วเท่านั้น และมีเกียร์ได้หลายเกียร์ แต่ นักแข่งส่วนมากไม่เคยต้องเปลี่ยนเกียร กฎการแข่งขันไม่ต้องการให้จักรยานแบบดัดแปลง ต้องมีหลายเกียร์ นักแข่งส่วนมากจะใช้เกียร์เดียวในการแข่งขัน โดยเลือกเกียร์ที่ให้ความเร็วต่ำ อัตราทดสูง จักรยาน ไทรอัลสมัยใหม่จะไม่มีแม้แต่อาน, ผู้ขี่จะยืนบนบันไดตลอกการแข่งขันโดยไม่นั่ง จักรยานแบบนี้ ถือเป็นจักรยานที่มีน้ำหนักเบาที่สุดในตระกูลจักรยานเสือภูเขา, โดยน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 7 ถึง 11 กิโลกรัม (15 ถึง 24 ปอนด์) ซึ่งจะทำให้การเคลื่อนไหวสามารถทำได้โดยง่าย

A simple dirt jump bike.

เดิร์ทจัมพ์ , เออบาน และ สตรีท เป็นตระกูลเสือภูเขาที่อยู่ระหว่าง บีเอ็มเอ็กและฟรีไรด์ โดยส่วนมากจะมีความแข็งแรงมากซึ่งมีช่วงยุบของระบบกันสะเทือนหน้าประมาณ 4 ถึง 6 นิ้ว (100 ถึง 150 มิลลิเมตร) และไม่ค่อยมีระบบกันสะเทือนหลัง (3 to 4 inches, 76 to 100 mm, ถ้ามี), ส่วนมากจะมีเก้าเฟืองหลังหรือมีอย่างน้อยหนึ่ง ยางสำหรับจักรยานประเภทนี้ส่วนมากใช้ยางทางเรียบ หรือกึ่งทางเรียบ โดยส่วนมากจะใช้เฟรมที่ใช้กับยางขนาด 24-26 นิ้ว , และใช้บัชริง (เป็นเหมือน บัชการ์ด) ใส่แทนที่เฟืองหน้าอันที่ใหญ่ที่สุด จักรยานประเภทเดร์ทจัมพ์ จะมีอานที่ต่ำมาก และใช้แฮนด์ โอเวอร์ไซส์ และมีเบรก หลังที่ต่อด้วยอุปกรณ์พิเศษ และไม่มีเบรกหน้า เพื่อให้ผู้ขี่สามารถหมุนแฮนด์ ได้รอบโดยที่ไม่ติดสายเบรก

ซิงเกิ้ลสปีด (SS) จักรยานเสือภูเขาที่มีเกียร์เดียว โดยใช้เฟืองที่มีอัตราทดขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิประเทศที่ใช้ ความแข็งแรงและทักษะของผู้ขี่ และขนาดของจักรยาน(จักรยานที่มีวงล้อขนาด 29 นื้ว ส่วนมากต้องการใช้อัตราทดที่ต่างจากจักรยานที่มีวงล้อขนาด 26 นิ้ว) จักรยานซิงเกิ้ลสปีดส่วนมากจะไม่มีระบบกันสะเทือนหน้าหลัง , เฟรมเหล็ก ซึ่งเหมาะที่จะใช้ปั่นไปในสภาพภูมิประเทศที่มีความขรุขระปานกลาง

เมาเท่นครอส หรือ "โฟร์ครอส" (4X) เป็นรูปแบบใหม่ของการขี่จักรยานดาวฮิลล์ , จักรยานแบบบีเอ็มเอ็ก, สนามแข่ง, เป็นการง่ายที่จะขี่ลงก่อน จักรยานแบบนี้จะมีระบบกันสะเทือนหน้าหลังที่มีระยะยุบ 3 ถึง 4 นิ้ว (76 ถึง 102 มิลลิเมตร) , หรือฮาร์ทเทล, และมีเฟรมที่แข็งแรง มีเชนไกด์หน้าและเกียร์หลัง มีองศาคอที่เอน, เชนสเตย์ที่สั้น และ กะโหลกที่ต่ำ เพื่อการเข้าโค้ง และ การเร่งความเร็วที่ดี

ดูอัลสลาลม (DS) จะเหมือนกับ โฟร์ครอส, แต่แทนที่จะแข่งกันสี่คน , จะมีแค่สองคน สนามแข่งโดยทั่วไปจะมีทางวื่งของใครของมันโดยเฉพาะ แต่บางครั้งก็จะรวมเป็นทางเดียว ในบางที่หรือบางสนาม สนามแข่งโดยทั่วไปจะต้องใช้ทักษะด้วยการโดดเนินขนาดเล็กๆ มากกว่าสนามของโฟร์ครอส การแข่งดูอัลสลาลมแบบดั้งเดิม จัดขึ้นที่ สนามที่เป็นเนินเขามีพ้นเป็นหญ้า โดยมีเนินโดน้อยมาก แต่ในปัจจุบัน จะใช้สนามที่สร้างขี้นมา และใช้จักรยานเหมือนกับที่ใช้แข่ง โฟร์ครอส

อินดี้ครอส (IX) ใช้หลักการเดียวกับเมาเท่นครอสแต่มีความหลากหลายของการแข่งขันมากกว่า[6]

นอร์ทชอร์ ลักาณะจักรยานจะเหมือนกับฟรีไรด์ในรูปทรง และ ดาวฮิลล์ ในเรื่องของอุปกรณ์ เพราะว่า ผู้ที่ขี่นอร์ทชอร์ได้รับการพัฒนาไม่ใช่เฉพาะทางที่มีความง่าย หรือซับซ้อนแต่ยังมีทางดรอปที่สูงและความเร็วที่มากขณะลงเขา โดยทั่วไปจักรยานประเภทนี้จะใช้งานเหมือนดาวฮิลล์และฟรีไรด์ อย่างไรก็ตามด้วยความเร็วและการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วต้องออกแบบเฟรมที่มีน้ำหนักเบา

เซอร์เคิลเดิร์ทแทรค เรซซิ่ง ในการแข่งขันประเภทนี้ จักรยานที่ใช้ส่วนมากจะเป็นฮาร์ทเทล ซึ่งมีระบบกันสะเทือนที่ล้อหน้า ความแตกต่างอยู่ที่การสร้างสนามแข่งที่ต้องการใช้เฟรมที่มี น้ำหนักลดลง เพิ่มแรงเบรกมากขึ้น , ใช้มุมเอียงแบบต่างๆ (เมื่อจักรยานเข้าโค้งที่ระดับต่างๆ หน้ายางจะได้สัมผัสกับทางได้ดีขึ้น ทำให้เกาะพื้นได้ดีขึ้น), และใช้เกียร์ที่มีอัตราทดต่างๆอีก

จะสังเกตได้ว่าในช่วงแรกของจักรยานเสือภูเขา, จักรยานทั้งหมดจะมีการกำหนดเอง, สร้างด้วยเครื่องมือที่บ้านเอง, และใช้โดยตัวแสดงผาดโผน, การแสดงโชว์, การแข่งขันหรือ กิจกรรมอื่นๆ การออกแบบโดยทั่วไปของจักรยานก็จะเหมือนๆกัน เป็นการเติบโตของวงการกีฬา, การออกแบบพิเศษและ อุปกรณ์ใหม่ๆ ได้ถูกนำมาใช้ ส่วนแบ่งทางการตลาดในอนาคต ยังคงเป็น จักรยานเสือภูเขาที่มีระบบกันสะเทือนหน้า แบบ ครอสคันทรี ที่เกิดขึ้นตั้งแต่กลางปี 1990, ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ อุปกรณ์เสริมของแต่ละบริษัทยังคงตอบสนองต่อผู้ใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น

การออกแบบสมัยใหม่

[แก้]
A 2002 rigid 21 speed Trek 800 Sport

ชุดขับเคลื่อน

[แก้]

จากปี 1980 จนถึงช่วงปลายปี 2000, จักรยานเสือภูเขาส่วนใหญ่จะมี 21, 24, หรือ 27 สปีด, โดยมี 3 เกียร์ที่เฟืองหน้า และมี 7, 8, หรือ 9 เกียร์ที่เฟืองหลัง จักรยานเสือภูเขาที่มี สามสิบสปีด ยังไม่เป็นที่นิยมในช่วงก่อนหน้า , เนื่องจากการที่โคลนจะเข้าไปติด ที่ เฟืองหลังทั้งสิบเฟือง, และช่องว่างระหว่างตีนผียังไม่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม, นักจักรยานมืออาชีพหลายคน สามารถใช้งานโซ่สิบสปีดของจักรยานถนน ไปใส่ในเฟืองเก้าสปีดของจักรยานเสือภูเขาได้เพื่อเป็นการลดน้ำหนักลง ในช่วงต้นของปี 2009, อุปกรณ์ ซแรม(SRAM) ได้เปิดตัว ชุดขับเคลื่อนเอ็กเอ็ก( XX) , ซึ่งใช้เฟืองหน้าสองเฟืองและเฟืองหลังสิบเฟือง, ซึ่งเหมือนกับจักรยานถนน การป้องกันการติดโคลนของอุปกรณ์ สิบสปีดนี้ สามารถทำให้เหมาะสมกับจักรยานเสือภูเขาได้ โดยใช้เครื่องกลึง CNC เนื่องจากเวลาและค่าใช้จ่ายทำให้เกิดผลิตภัณฑ์, โดยมีความตั้งใจที่จะผลิตเพื่อการแข่งขันในอุปกรณ์ระดับสูงสุด อย่างไรก็ตาม, 10 สปีดได้กลายเป็นอุปกรณ์ทั่วไปในปี 2011 และผู้นำตลาดอย่าง ชิมาโน ก็ยังให้มีชุดขับเคลื่อนสิบสปีดในชุดอย่าง อะลีวีโอ ซึ่งเป็นชุดขับเคลื่อนรุ่นราคาประหยัด[7] ในเดือนกรกฎาคม 2012, ซแรม ได้นำเสนอชุดขับเคลื่อน 1x11 เรียกว่าเอ็กเอ็กวัน(XX1) ซึ่งไม่ต้องมีชุดเปลี่ยนเฟืองหน้าเพื่อลดน้ำหนักลงและใช้งานง่าย[8] ในปี 2014 ผู้แข่งขัน Commonwealth Games ที่ Glasgow ใช้ชุดขับเคลื่อน 1x11

สัดส่วนของจักรยาน

[แก้]

มุมที่สำคัญของ สัดส่วนของจักรยาน คือ มุมคอ (คือมุมของ ถ้วยคอ), และมุมของท่อนั่ง (มุมของ ท่อนั่ง) มุมเหล่านี้วัดจากแนวนอน , และส่งผลต่อประสิทธิภาพของผู้ขับขี่อย่างมาก รูปทรงของจักรยานเสือภูเขาส่วนมากจะมีมุมที่ท่อนั่งประมาณ 73 องศา, และมุมที่ท่อคอประมาณ 60-73 องศา การใช้งานจักรยานที่ต่างประเภทเรื่ององศาของมุมจักรยานมีผลกระทบต่อผู้ใช้อย่างมากโดยทั่วไป มุมตั้ง ที่ใกล้เคียง 90 องศาจากแนวนอน จะเพิ่มประสิทธิภาพในการปั่นขึ้นทางชัน และควบคุมการเลี้ยวได้ง่าย แต่ถ้ามุมต่ำลง (เอนมาทางแนวนอน) จะทำให้ใช้งานในความเร็วสูงและมีความมั่นคงในขณะลงเขามากขึ้น

ระบบกันสะเทือน

[แก้]
A full suspension mountain bike

ในอดีต จักรยานเสือภูเขาไม่มีระบบกันสะเทือน ในช่วงต้นของปี 1990 จักรยานเสือภูเขาที่ใช้ระบบกันสะเทือนคันแรกได้เกิดขึ้น สิ่งนี้ทำให้การปั่นในทางที่ขรุขระ ทำได้โดยง่ายและเสียพลังงานน้อยลง ระบบกันสะเทือนในยุคแรกๆ มีระยะยุบตัวได้เพียง 1½ ถึง 2 นิ้ว (38 ถึง 50 มิลลิเมตร) ในปัจจุบันระบบกันสะเทือนของจักรยานสามารถมีช่วงยุบได้มากถึง 8 นิ้ว (200 มิลลิเมตร) หรือมากกว่า (ดูเรื่องการออกแบบ) จักรยานที่มีระบบกันสะเทือนที่ล้อหน้าและไม่มีระบบกันสะเทือนที่ล้อหลัง หรือเรียกว่า ฮาร์ทเทล ได้กลายเป็นที่นิยม ในขณะที่การออกแบบจักรยานแบบ ฮาร์ทเทลมีจุดมุ่งหมายที่การลดค่าใช้จ่าย, ลดการบำรุงรักษา, และเพิ่มประสิทธิภาพของการออกแรงกดบันได, มันได้ลดความนิยมลง ในขณะที่การออกแบบจักรยานแบบฟูลซัสเพนชั่นมีการพัฒนามากขึ้น

จักรยานเสือภูเขารุ่นใหม่ๆได้มีการเพิ่มส่วนของระบบกันสะเทือนทั้งหน้าและหลัง เรียกว่า "ฟูลซัสเพนชั่น" หรือ "ฟูลซัส", หมายถึงทั้งล้อหน้าและล้อหลังต่างก็มี โช้คเพื่อรองรับการสั่นสะเทือนทั้งคู่ สิ่งนี้จะทำให้การขี่จักรยานราบลื่นขึ้นในทาง ขี้นเขาลงเขา หรือการขี่ผ่านอุปสรรคเล็กๆน้อยๆ ระบบกันสะเทือนหน้าหลัง ที่มีประสิทธิภาพสูง ก็จะมีราคาที่สูงตามไปเช่นกัน , แต่ราคาที่เพิ่มขึ้นจะนำมาสู่ประสิทธิภาพ การขี่ในทางขรุขระ ซึ่งจะทำให้สามารถขี่แบบดาวฮิลล์ ได้เร็วขึ้นสามารถผ่านอุปสรรค รากไม้สิ่งกีดขวางได้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องอาศัยเทคนิคจากผู้ขี่มากนัก สิ่งที่ทำให้ช้าลงเมื่อขับขี่บนทางขรุขระคือเมื่อล้อกระทบกับสิ่งกีดขวาง จะเกิดแรงกระแทกกลับขึ้นมา ทำให้แรงที่จะไปข้างหน้าลดลง รถจึงวิ่งช้าลงเช่นกันระบบกันสะเทือนจะช่วยแก้ปัญหานี้โดยรับแรงที่กระแทกขึ้นมาเก็บไว้ที่โช้คทั้งหน้าและหลัง, ซึ่งจะส่งผลต่อแรงผลักไปข้างจะลดลงจากเดิมไม่มากนัก ดังนั้นก็จะไม่มีผลในการลดความเร็วของรถในการเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ข้อเสียของระบบกันสะเทือนหลังคือ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น , ราคาที่สูงขึ้น, และในบางครั้งการออกแบบที่แตกต่างกันของระบบกันสะเทือน ก็มีผลต่อการลดประสิทธิภาพของพลังที่ส่งจากการกดบันได, สิ่งนี้จะสังเกตได้ชัดเจน เมื่อปั่นจักรยานบนถนนด้วยรถฮาร์ทเทล ในตอนแรก, การออกแบบระบบกันสะเทือนหลังนั้นออกแบบได้หนักมาก, และทำให้เกิดการบ็อบ(คือการเสียแรงกดบันได เพื่อให้รถวิ่งไปข้างหน้าจะถูกดูดกลืนพลังงานไปที่ระบบกันสะเทือนแทนที่จะส่งไปที่ล้อทั้งหมด) หรือ ล็อกเอ้าท์

ดิสเบรก

[แก้]
A front disc brake, mounted to the fork and hub

จักรยานเสือภูเขารุ่นใหม่ๆส่วนมากจะใช้ดิสเบรก ซึ่งให้แรงในการหยุดรถที่มากกว่า(ออกแรงกดที่ก้านมือเบรกน้อยกว่า แต่ให้แรงเบรกมากกว่า) ในระบบเบรกที่ขอบล้อ โดยเฉพาะในเวลาที่มีสิ่งสกปรกสามารถไปติดที่ขอบล้อได้ง่ายกว่า , เพราะว่าระบบดิสเบรกมีจานเบรกอยู่ที่กลางล้อคือ ดุมล้อ ดังนั้นจานเบรกจะยังคงสะอาดอยู่ มากกว่า บริเวณขอบล้อ, ซึ่งทรายหรือสิ่งสกปรกอื่นๆอาจทำให้เบรกเสียหายได้ ข้อเสียของระบบดิสเบรกคือ ราคาที่สูงกว่า และโดยทั่วไป น้ำหนักของเบรกจะมีมากกว่าด้วย ในส่วนของการติดตั้ง วีเบรก หรือเบรกผีเสื้อ , ในสภาพการใช้งานแบบปกติ จะให้ผลเท่ากัน , ถ้าไม่ต้องการประสิทธิภาพในการหยุดมากนัก ดิสเบรกจะไม่ทำให้เกิดความร้อนสะสม ขึ้นที่ยางใน แต่ความร้อนของดิสเบรกจะไปเกิดที่จานเบรกแทนและมีความร้อนที่มากกว่าเป็นอย่างมาก

การออกแบบล้อและยาง

[แก้]

จักรยานเสือภูเขาส่วนมากใช้ ล้อ ขนาด 26 นิ้ว (559 มิลลิเมตร) , แต่ในบางรุ่นจะใช้ล้อขนาด 24 หรือ 29 นิ้ว (520 หรือ 622 มิลลิเมตร) , และ 27.5 ซึ่งกำลังเริ่มมีใช้ในปัจจุบัน ขนาดของยางสามารถเลือกได้ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศและขนาดตัวของผู้ขับขี่ ยางขนาดใหญ่อาจทำให้เกิดปัญหาในผู้ขับขี่ที่ตัวไม่สูง ขนาดของยางจักรยานเป็นการวัดแบบคร่าวๆ: 29 นิ้ว ในล้อจักรยานเสือภูเขา จริงๆแล้วคือ 622 มิลลิเมตร (24.5 นิ้ว)) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง (ในส่วนของ, เส้นผ่าศูนย์กลาง (BSD), ใช้ใน ETRTO ยางและขอบล้อ) 622 มิลลิเมตร เป็นล้อมาตรฐานของจักรยาน เสือหมอบซึ่งโดยทั่วไป เรียกว่า ล้อขนาด 700c ในบางประเทศ, โดยเฉพาะ Continental Europe, 700c (622 มิลลิเมตร) ล้อจักรยาน จะเรียกว่า ล้อขนาด 28 นิ้ว[9] ล้อขนาด 24 นิ้วจะใช้สำหรับ จักรยานโดด และบางครั้งก็ใชกับรถ ฟรีไรด์ด้วย , แต่ใช้เฉพาะล้อหลังเท่านั้น, ซึ่งจะทำให้จักรยานสามารถควบคุมได้ง่ายขึ้น ล้อขนาด 29 นิ้ว ในครั้งแรกออกแบบมาเพื่อใช้กับ รถ ครอสคันทรี , แต่หลังจากนั้น ในปัจจุบัน ได้นำมาใช้กับจักรยานเสือภูเขาทั่วไปด้วย จักรยานเสือภูเขาที่มีล้อขนาด 29 นิ้ว มักจะเรียกว่าจักรยานแบบ 29er, และจักรยานที่ใช้ล้อขนาด 27.5 นิ้วก็มักจะเรียกว่า เสือภูเขา 27.5 หรือ 650b ล้อจักรยานมีความกว้างขนาดต่างๆกัน, โดยความกว้างมาตรฐานจะมีขนาด ของขอบล้อที่ใส่กับยางจักรยานได้ตั้งแต่ยางขนาด 26 นิ้ว x 1.90 นิ้ว ไปจนถึง 2.10 นิ้ว (559 x 48 ถึง 53 มิลลิเมตร) 2.35 และ 3.00 in (60 และ 76 mm) ล้อขนาดที่กว้างขึ้นจะนิยมใช้กับจักรยาน ฟรีไรด์และ จักรยานดาวฮิลล์ อย่างไรก็ตามล้อที่มีน้ำหนักมาก จะนิยมใช้ในจักรยาน ฟรีไรด์และดาวฮิลล์ด้วยเช่นกัน , ความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องของเทคโนโลยีการผลิตล้อจะช่วยลดน้ำหนักของล้อ ออกจากล้อที่แข็งแรงลง ซึ่งเป็นข้อดีอย่างมาก ในการควบคุมรถ, และมีความสำคัญในการขี่รถแบบฟรีไรด์และดาวฮิลล์ ล้อที่มีความกว้างมากๆ บางครั้งใช้เพื่อ จักรยานขี่ลุยหิมะ ซึ่งใช้ขี่ในเส้นทางที่เป็นน้ำแข็งจากหิมะ

บริษัทผู้ผลิต ยางจักรยาน จะมีความหลากหลายของดอกยางจักรยาน เพื่อการใช้งานที่ต่างกัน ในรูปแบบเหล่านี้คือ: ยางทางเรียบ, ยางทางเรียบที่มีสันตรงกลาง และดอกยางด้านนอก, ยางที่มีดอกยางเต็มหน้ายาง, ยางเฉพาะล้อหน้า, ยางเฉพาะล้อหลัง, และยางสำหรับทางหิมะ ยางบางแบบ ออกแบบมาสำหรับ บางสภาพอากาศ (เปียกหรือแห้ง) และสภาพภูมิประเทศ (พื้นแข็ง, นุ่ม, โคลน, อื่นๆ) ยางแบบอื่นๆ ออกแบบเพื่อ ให้ใช้ได้ทุกสภาพ ยางที่มีราคาแพงกว่ามีแนวโน้มที่จะมีน้ำหนักเบาและมีแรงต้านการหมุนน้อยกว่า ยางที่เกาะถนนดีๆ จะเหมาะสำหรับ การใช้งานของ จักรยานฟรีไรด์และ ดาวฮิลล์ ในขณะที่ยางนี้ลงเขาอย่างรวดเร็ว , มันจะยึดเกาะได้ดีในทุกเงื่อนไข, โดยเฉพาะตอนเข้าโค้ง ยางและขอบล้อ ถูกออกแบบให้สามารถใช้งานได้ทั้งแบบมียางในและไม่มียางใน , ซึ่ง ยางทูปเลส (ไม่ต้องใช้ยางใน) เริ่มมีในปี 2004 และได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น เพราะว่าสามารถป้องกันยางรั่วได้

ยางโดยทั่วไปจะใช้กับยางใน, หรือแบบไม่ต้องใช้ยางใน ยางแบบใช้ยางในเป็นแบบมาตรฐานทั่วไปใช้งานง่ายและบำรุงรักษาง่าย ยางแบบไม่ใช้ยางในจะมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า เพราะว่าสามารถใช้มันแม้แรงดันลมต่ำ ซึ่งจะให้การยึดเกาะที่ดีกว่า และเพิ่มแรงต้านการหมุนมากกว่า ยางทูปเลสรีดดี้(Tubeless-ready) คือยางที่สามารถใช้ได้ทั้งแบบมียางในและไม่มียางใน น้ำยากาวยางจะช่วยป้องกันอากาศรั่วจากยางไปที่ขอบล้อ[10] ผู้ผลิตยางจักรยานยอดนิยมได้แก่ Wilderness Trail Bikes, Schwalbe, Maxxis, Nokian, Michelin, Continental, Tioga, Kenda, Hutchinson Specialized และ Panaracer

A tandem, full-suspension mountain bike

จักรยานสองตอน (Tandems)

[แก้]

จักรยานเสือภูเขาสามารถนำไปทำเป็น จักรยานสองตอนได้ ตัวอย่างเช่น แคนนอนเดล และ ซานตานาไซเคิ่ล มีออกมาในรุ่นที่ไม่มีระบบกันสะเทือน ในขณะที่ แอลวอท (Ellsworth), นิโคไลน์(Nicolai), และ เวนทาน่า(Ventana) ไม่ออกจักรยานสองตอนรุ่นที่มีระบบกันสะเทือนหน้าหลัง

See also

[แก้]

References

[แก้]
  1. J.A. Caldwel. "[HOW TO] BUILD A MOUNTAIN BIKE 1X DRIVETRAIN MADE EASY – 1×9 1×10 1×11". สืบค้นเมื่อ 2014-12-27.
  2. Steve Griffith. "Off Road Origins". Rough Stuff Fellowship. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-21. สืบค้นเมื่อ 2010-06-18.
  3. Jobst Brandt ((1998/2005)). "A Brief History of the Mountain Bike". สืบค้นเมื่อ 2013-12-26. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  4. Berto, Frank J. (2009). The Birth of Dirt: Origins of Mountain Biking. Van der Plas/Cycle Publishing. ISBN 978-1-892495-61-7.
  5. Rogers, Seb (23 October 2010). "Interview: Specialized founder Mike Sinyard". BikeRadar. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-25. สืบค้นเมื่อ 2 December 2010.
  6. "Diablo Freeride Park". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-03. สืบค้นเมื่อ 2008-09-21.
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-15. สืบค้นเมื่อ 2014-08-27.
  8. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-18. สืบค้นเมื่อ 2014-08-27.
  9. "Sheldon Brown: Tire Sizing Systems". สืบค้นเมื่อ 2008-09-21.
  10. Campbell, Dan; Charlie Layton (May 2009). "Know Your Rubber". Mountain Bike: 51.

แม่แบบ:Human-powered vehicles