จักรพล ตั้งสุทธิธรรม
จักรพล ตั้งสุทธิธรรม | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ | |
ดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 (3 ปี 361 วัน) | |
ก่อนหน้า | เยาวภา วงศ์สวัสดิ์ |
ถัดไป | ณัฐพล โตวิจักษณ์ชัยกุล |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 18 กันยายน พ.ศ. 2523 จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย (2561–ปัจจุบัน) |
จักรพล ตั้งสุทธิธรรม (เกิด 18 กันยายน พ.ศ. 2523) ชื่อเล่น ท็อป เป็นนักการเมืองชาวไทย ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (สรวงศ์ เทียนทอง) เเละโฆษกกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ และอดีตรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย
ประวัติ
[แก้]จักรพล ตั้งสุทธิธรรม เกิดเมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2523 ที่จังหวัดเชียงใหม่ สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย และปริญญาตรีจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยพายัพ และปริญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์การเมือง จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การทำงาน
[แก้]จักรพล เป็นนักธุรกิจ ผู้บริหารกลุ่มเทพพยอมกรุ๊ป[1] เป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดเชียงใหม่ เจ้าของกิจการตลาดสดต้นพยอม โรงแรมพิงค์พยอม รวมไปถึงคอนโดมิเนียม[2]
งานการเมือง
[แก้]จักรพล เข้าทำงานการเมืองโดยการเป็นคณะทำงานของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี ต่อมาเป็นประธานสาขาพรรคเพื่อไทย จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต 3[3] เป็นสมัยแรก
จักรพล ได้รับแต่งตั้งเป็นรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย และเป็นคณะทำงานด้านเศรษฐกิจของพรรค[4]
จักรพล เป็นผู้เสนอญัตติด่วน ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือ PM 2.5 จนนำไปสู่การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) อย่างเป็นระบบ[5][6]
ในปี 2566 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เขต 1 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง[7]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]จักรพล ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2567 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[8]
- พ.ศ. 2565 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ จักรพล ตั้งสุทธิธรรม ขอให้ท็อปดูแลเธอ
- ↑ ส.ส.ท็อป-จักรพล ตั้งสุทธิธรรม เลือกทำงานหนักเพื่อแก้ปัญหาประชาชน
- ↑ ผลการเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขต
- ↑ “จักรพล” จี้เร่งออก “พาสปอร์ตวัคซีน” ซัด “บิ๊กตู่” ตกยุค ให้แก้ รธน.แล้วลาออกไป
- ↑ ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง ตั้งคณะกรรมาธิการสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM ๒.๕) อย่างเป็นระบบ
- ↑ ราชกิจจาฯ ประกาศตั้ง 49 กมธ.แก้ไขฝุ่น PM 2.5 อย่างเป็นระบบ
- ↑ ครม.เศรษฐา เห็นชอบตั้ง ขรก.การเมือง 34 ตำแหน่ง - ชัย วัชรงค์ โฆษกป้ายแดง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๗, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๓, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๕, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2523
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักการเมืองจากจังหวัดเชียงใหม่
- นักธุรกิจจากจังหวัดเชียงใหม่
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- บุคคลจากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยพายัพ
- บุคคลจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.