จอห์น อัลดริดจ์
หน้านี้มีเนื้อหาเป็นภาษาต่างประเทศ คุณสามารถช่วยพัฒนาหน้านี้ได้ด้วยการแปล ยกเว้นหากเนื้อหาเกือบทั้งหมดไม่ใช่ภาษาไทย ให้แจ้งลบแทน |
ข้อมูลส่วนตัว | |||
---|---|---|---|
ชื่อเต็ม | จอห์น วิลเลียม อัลดริดจ์ | ||
วันเกิด | 18 กันยายน ค.ศ. 1958 | ||
สถานที่เกิด | ลิเวอร์พูล, อังกฤษ | ||
ส่วนสูง | 5 ฟุต 11 นิ้ว (1.80 เมตร)[1] | ||
ตำแหน่ง | กองหน้า | ||
สโมสรเยาวชน | |||
1978–1979 | South Liverpool | ||
สโมสรอาชีพ* | |||
ปี | ทีม | ลงเล่น | (ประตู) |
1979–1984 | Newport County | 170 | (70) |
1984–1987 | Oxford United | 114 | (72) |
1987–1989 | Liverpool | 83 | (50) |
1989–1991 | Real Sociedad | 63 | (33) |
1991–1998 | Tranmere Rovers | 243 | (138) |
รวม | 673 | (363) | |
ทีมชาติ | |||
1986–1996 | Republic of Ireland | 69 | (19) |
จัดการทีม | |||
1996–2001 | Tranmere Rovers | ||
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น |
จอห์น วิลเลียม อัลดริดจ์ (อังกฤษ: John William Aldridge, เกิด 18 กันยายน 1958) เป็นอดีตนักฟุตบอลอาชีพและผู้จัดการทีม เจ้าของฉายา อัลโด[2] เขาคือกองหน้าที่ทำประตูได้อย่างสม่ำเสมอและทำลายสถิติมากมาย เป็นที่รู้จักอย่างดีในช่วงเวลาที่เขาอยู่กับลิเวอร์พูลในปลายทศวรรษ 1980 เขายิงประตูในฟุตบอลลีกไปทั้งหมด 330 ประตู ซึ่งเป็นอันดับที่ 6 ของดาวยิงสูงสุดตลอดกาลในประวัติศาสตร์ฟุตบอลอังกฤษ[3]
เขาเริ่มต้นค้าแข้งจากลีกต่ำสุด ลงเล่นผ่านมาทุกระดับตั้งแต่ ดิวิชัน 4 (เดิม) จนถึง ดิวิชัน 1 (เดิม) ในช่วงแรก เขาถูกเซ็นสัญญามาร่วมทีมแทนที่เอียน รัชที่ย้ายไปร่วมทีมยูเวนตุส อัลดริดจ์ประสบความสำเร็จอย่างมากในช่วง 2 ฤดูกาลที่ลิเวอร์พูล คว้าแชมป์ลีกและเอฟเอคัพมาครองได้อย่างละ 1 สมัย และพลาดแชมป์ลีกอย่างหวุดหวิดอีก 1 สมัย อัลดริดจ์ลงเล่นให้เรอัลโซซิเอดัด 2 ฤดูกาล กลายเป็นผู้เล่นคนแรกที่ไม่ใช่ชาวบาสก์ที่เซ็นสัญญากับสโมสรในรอบหลายทศวรรษ หลังจากที่พวกเขายกเลิกนโยบายการสรรหาผู้เล่น ที่อนุญาตให้เซ็นสัญญาเฉพาะผู้เล่นที่มีเชื้อสายบาสก์เท่านั้น ในปี 1991 เขากลับมาอังกฤษเพื่อเล่นให้กับแทรนเมียร์โรเวอส์และกลายเป็นผู้เล่น–ผู้จัดการทีมของพวกเขาในปี 1996 เขาแขวนสตั๊ดในปี 1998 และลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีมในปี 2001 และไม่กลับมาเป็นผู้จัดการทีมอีกนับตั้งแต่บัดนั้น
อัลดริดจ์เป็นชาวเมืองลิเวอร์พูลโดยกำเนิด แต่เขาเลือกเล่นให้กับทีมชาติไอร์แลนด์ ตามนโยบาย กฎคุณยาย ของแจ็ค ชาร์ลตัน ผู้จัดการทีมชาติไอร์แลนด์ในขณะนั้น เนื่องจากคุณยายทวดของเขาอพยพมาจากเมืองแอธโลน ประเทศไอร์แลนด์ มาตั้งถิ่นฐานที่เมืองลิเวอร์พูลในศตวรรษที่ 19[4][5] เขาประสบความสำเร็จกับทีมชาติไอร์แลนด์ ในช่วงที่ทีมประสบความสำเร็จมากที่สุดในระดับนานาชาติ และเขาได้ลงเล่นในฟุตบอลโลกถึง 2 สมัยคือปี 1990 และ 1994[6][7]
ระดับสโมสร
[แก้]เซาท์ลิเวอร์พูลและนิวพอร์ตเคาน์ตี
[แก้]อัลดริดจ์ใช้เวลานานกว่าจะประสบความสำเร็จในลีกสูงสุดของอังกฤษ เขาเริ่มต้นอาชีพในกลางทศวรรษ 1970 กับเซาท์ลิเวอร์พูล สโมสรนอกลีก ก่อนที่จะแจ้งเกิดในวงการฟุตบอลอาชีพ เขาเซ็นสัญญากับนิวพอร์ตเคาน์ตีในลีกดิวิชัน 4 เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 1979 ด้วยค่าตัวเพียง 3,500 ปอนด์ ในวัย 20 ปี
ขณะลงเล่นในโซเมอร์ตันพาร์ก สนามเหย้าของนิวพอร์ตเคาน์ตี อัลดริดจ์ลงเล่นทั้งสิ้น 198 นัดยิงได้ 87 ประตู คิดเป็นเฉลี่ย 1 ประตูต่อ 2.25 นัด นอกจากนี้เขายังทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมในเอฟเอคัพ โดยยิงไป 7 ประตูจาก 12 นัด เขาร่วมทีมกับทอมมี ไทแนน และเดฟ กวิเทอร์ เป็นเวลา 4 ปี ช่วยให้นิวพอร์ตเลื่อนชั้นจากดิวิชัน 4 และคว้าแชมป์เวลช์คัพในฤดูกาลแรก และเข้าถึงรอบก่อนรองชนะเลิศยูโรเปียนคัพวินเนอร์สคัพในฤดูกาลที่ 2
ฤดูกาลแรกของเขากับนิวพอร์ตคือในฤดูกาล 1979–80 เขายิงไป 14 ประตูจาก 38 นัดพาทีมคว้าแชมป์เวลช์คัพและเลื่อนชั้นสู่ดิวิชัน 3 ในฤดูกาลถัดมา เขาพาทีมประสบความสำเร็จในฟุตบอลสโมสรยุโรป ในลีก เขาลงเล่นในลีกทั้งหมด 27 นัด และยิงได้ 7 ประตู ในฤดูกาล 1981–82 เขาทำได้ 11 ประตูจาก 36 นัด แต่ในฤดูกาล 1982–83 เขาทำผลงานได้ดียิ่งขึ้นไปอีกด้วยการกดไป 17 ประตู จาก 41 นัด พาทีมเกือบเลื่อนชั้นสู่ดิวิชัน 2[8]
ในฤดูกาล 1983–84 ทอมมี ไทแนน ออกจากทีม อัลดริดจ์ยิงไป 26 ประตู ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ แต่นิวพอร์ตเคาน์ตียังคงอยู่ในดิวิชัน 3[9]
ออกซ์ฟอร์ดยูไนเต็ด
[แก้]อัลดริดจ์ถูกขายให้กับออกซฟอร์ดยูไนเต็ดในวันที่ 21 มีนาคม 1984[10] ในขณะที่สโมสรกำลังเตรียมพร้อมสำหรับการเลื่อนชั้นสู่ดิวิชัน 3 ภายใต้การคุมทีมของจิม สมิท เขาประเดิมสนามครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 เมษายน 1984 โดยลงมาเป็นตัวสำรองในเกมที่ชนะวอลซอลล์ 1–0 ที่เฟลโลว์สพาร์ค ประตูแรกของเขาเกิดขึ้นในชัยชนะ 5–0 ในบ้านเหนือโบลตันวอนเดอเรอส์เมื่อวันที่ 20 เมษายน 1984
เขาลงเล่นไม่มากนักในช่วงลุ้นแชมป์ดิวิชัน 3 แต่ในฤดูกาลถัดมาเขาก็ได้ร่วมทีมกับบิลลี แฮมิลตัน และกลายเป็นผู้เล่นดิวิชัน 2 คนแรกในรอบ 19 ปีที่สามารถทำประตูได้ 30 ประตู เขาทำประตูได้ 34 ประตู (30 ประตูในลีก) ในฤดูกาล 1984–85 ทำลายสถิติการทำประตูสูงสุดของสโมสรในหนึ่งฤดูกาล[11] ขณะที่ออกซ์ฟอร์ดเลื่อนชั้นสู่ดิวิชั่น 1 (เดิม) เป็นครั้งแรก นอกจากนี้ อัลดริดจ์ยังได้รับเหรียญแชมป์ดิวิชัน 2 อีกด้วย
ในที่สุด ในวัย 27 ปี อัลดริดจ์ก็มีโอกาสได้เล่นในดิวิชัน 1 เขาเป็นผู้ทำประตูสูงสุดเป็นอันดับสามในดิวิชัน 1 (เป็นรองเพียงแกรี ลินิเกอร์ และแฟรงค์ แม็กอาเวนนี่ ) และช่วยให้ยูไนเต็ดคว้าแชมป์ลีกคัพเมื่อปี 1986 ในชัยชนะ 3–0 เหนือควีนส์พาร์กเรนเจอส์ ในรอบชิงชนะเลิศที่สนามเวมบลีย์ นี่คือถ้วยรางวัลสำคัญเพียงถ้วยเดียวของออกซ์ฟอร์ดจนถึงปัจจุบัน 23 ประตูจาก 39 เกมของเขาช่วยให้ออกซ์ฟอร์ดรอดพ้นการตกชั้นได้
อัลดริดจ์ลงเล่นให้ออกซ์ฟอร์ด 141 นัด ยิงได้ 90 ประตู[10] – 1 ประตูทุก 1.5 เกม – รวมถึง 14 ประตูในลีกคัพจาก 17 นัด เขาทำได้ 4 ประตูในการเจอกับจิลลิงงัมในลีกคัพเมื่อวันที่ 24 กันยายน 1989 และทำแฮตทริกได้ 3 ครั้ง โดยครั้งแรกเกิดขึ้นในชัยชนะ 5–2 เหนือลีดส์ยูไนเต็ด เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 1984 เขายังทำประตูให้กับออกซ์ฟอร์ด 1 ใน 2 ประตูที่เอาชนะแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดในเกมแรกของอเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ในฐานะผู้จัดการทีม เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 1986 โดยยังคงรักษาฟอร์มการเล่นอันยอดเยี่ยมของเขาไว้ได้จนถึงฤดูกาล 1986–87[12]
ลิเวอร์พูล
[แก้]ในช่วงต้นปี 1987 ลิเวอร์พูลต้องเสียกองหน้าคนสำคัญอย่างเอียน รัช ให้กับยูเวนตุสในช่วงปลายฤดูกาล 1986–87 และต้องการตัวแทนที่มีประสบการณ์และพิสูจน์ตัวเองได้แล้ว เขาเซ็นสัญญากับทีมของเคนนี แดลกลีชเมื่อวันที่ 27 มกราคม 1987 ด้วยค่าตัว 750,000 ปอนด์ และในช่วงแรกเขาเล่นเป็นคู่หูของรัช (โดยเล่นในตำแหน่งของแดลกลีชซึ่งเป็นผู้เล่นและเป็นผู้จัดการทีม และพอล วอล์ช) และเป็นตัวสำรองในบางครั้ง แดลกลีชมีความสนใจในการเซ็นสัญญากับกองหน้าคนอื่นๆ รวมถึงเดวิด สปีดีของเชลซีและชาร์ลี นิโคลัสของอาร์เซนอลเป็นเวลาหลายเดือนก่อนที่จะซื้อตัวอัลดริดจ์[13] ในช่วงเวลาที่เขาย้ายไปลิเวอร์พูลในฤดูกาล 1986–87 อัลดริดจ์ยิงไปแล้ว 15 ประตูให้กับออกซ์ฟอร์ดจากทั้งหมด 25 เกม[8]
ลิเวอร์พูลจบฤดูกาลด้วยการไม่มีถ้วยแชมป์ใด ๆ รวมทั้งความพ่ายแพ้ที่เวมบลีย์ต่ออาร์เซนอลใน รอบชิงชนะเลิศลีกคัพซึ่งทำให้อัลดริดจ์ไม่มีสิทธิ์ลงเล่น
อัลดริดจ์ลงประเดิมสนามให้กับลิเวอร์พูลเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 1987 โดยเขาลงมาเป็นตัวสำรองในนาทีที่ 46 แทนเครก จอห์นสตัน ในเกมลีกที่เสมอกับแอสตันวิลลา 2–2 ที่วิลลาพาร์ก[14] ประตูแรกของเขากับสโมสรใหม่มาในอีกหนึ่งสัปดาห์ต่อมาคือในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ในนาทีที่ 60 ซึ่งเป็นประตูเดียวของเกมในเกมที่ลิเวอร์พูลเอาชนะเซาแทมป์ตันในลีกที่แอนฟีลด์[15]
อัลดริดจ์ทำประตูได้ 26 ประตูในฤดูกาลที่ประสบความสำเร็จกับลิเวอร์พูล รวมทั้งทำประตูได้ 1 ลูกจาก 9 เกมแรก ทำให้เขามีสถิติการทำประตูต่อเนื่อง 10 นัด เช่นเดียวกับที่เขาทำได้ในการลงเล่นในลีกนัดสุดท้ายของฤดูกาลที่แล้ว[16]
เขาได้ร่วมงานกับผู้เล่นใหม่อย่างปีเตอร์ เบียร์ดสลีย์และจอห์น บานส์ ซึ่งลิเวอร์พูลแพ้เพียงสองนัดในลีกฤดูกาลและไม่แพ้ใครมา 29 นัด ลิเวอร์พูลคว้าแชมป์ลีกในปี 1988 โดยมีคะแนนนำแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดถึง 9 คะแนน ถึงแม้ว่าช่องว่างระหว่างลิเวอร์พูลกับคู่แข่งจะกว้างขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วงส่วนใหญ่ของฤดูกาลก็ตาม
อัลดริดจ์ยิงสองประตูในนัดรองชนะเลิศเอฟเอคัพที่พบกับนอตทิงแฮมฟอเรสต์[17] ในขณะที่วิมเบิลดันขึ้นนำ 1–0 ในรอบชิงชนะเลิศเอฟเอคัพที่สนามเวมบลีย์ในช่วงกลางครึ่งหลัง ลิเวอร์พูลได้ลูกจุดโทษจากอัลดริดจ์ที่โดนฟาวล์ แต่เขายิงจุดโทษไม่เข้าส่งผลให้ทีมแพ้ไป ฤดูกาลนั้น อัลดริดจ์ยิงจุดโทษ 11 ครั้งแต่เดฟ บีแซนต์ ผู้รักษาประตูกัปตันทีมวิมเบิลดันสังเกตเห็นว่าเขามักจะวางบอลไว้ทางซ้ายของผู้รักษาประตูเสมอ อัลดริดจ์ทำตามที่คาดไว้โดยยิงไปทางซ้ายของบีแซนต์ แต่บีแซนต์ก็รีบกระโดดไปป้องกัน[18] เขากลายเป็นผู้รักษาประตูคนแรกที่ป้องกันจุดโทษในรอบชิงชนะเลิศเอฟเอคัพที่เวมบลีย์ ความล้มเหลวของอัลดริดจ์ถือเป็นการยิงจุดโทษพลาดครั้งแรกของเขากับลิเวอร์พูล เขาถูกเปลี่ยนตัวออกในเวลาไม่นานหลังจากนั้นซึ่งลิเวอร์พูลแพ้ไป 1–0
ฤดูกาลถัดมาถือเป็นฤดูกาลที่ยากลำบากและมีเหตุการณ์มากมายสำหรับอัลดริดจ์ รัชที่ไม่สามารถยึดตำแหน่งตัวจริงในทีมยูเวนตุสได้ลิเวอร์พูลจึงต้องจ่ายเงิน 2.8 ล้านปอนด์เพื่อนำเขากลับมายังแอนฟีลด์ก่อนที่ฤดูกาลจะเริ่มต้น แดลกลีชเล่นร่วมกับอัลดริดจ์และรัช ในการแข่งขันแชริตี้ชีลด์ที่พบกับวิมเบิลดันที่สนามเวมบลีย์ อัลดริดจ์ได้ลงเป็นตัวจริงและยิงประตูให้กับลิเวอร์พูลได้ทั้ง 2 ประตูในเกมที่ชนะ 2–1 อัลดริดจ์ยังคงรักษาสถิติการทำประตูไว้ได้ โดยมักจะลงเล่นร่วมกับรัชและเบียร์ดสลีย์ในแนวรุก ขณะที่รัชพลาดการลงสนามหลายเกมเนื่องจากอาการบาดเจ็บ ในเกมลีกนัดแรกของฤดูกาลในอีกหนึ่งสัปดาห์ต่อมา อัลดริดจ์ทำแฮตทริกในเกมที่ชนะชาร์ลตันแอทเลติก 3–0[19] เขาทำแฮตทริกในลีกอีกครั้งเมื่อวันที่ 14 มีนาคม ในเกมเหย้าที่ชนะลูตันทาวน์ 5–0 ซึ่งทำให้เขายิงประตูในลีกรวม 15 ประตูในฤดูกาลนี้ เขาทำประตูได้ครบ 20 ประตูเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ในเกมที่เอาชนะวิมเบิลดัน 2–1 และจบฤดูกาลในฐานะผู้ทำประตูสูงสุดของสโมสรด้วยผลงาน 22 ประตูในลีก 8 ประตูในเอฟเอคัพ 2 ประตูในลีกคัพและ 2 ประตูในแชริตี้ชิลด์ รวม 34 ประตูในทุกรายการ[19]
ในรอบชิงชนะเลิศเอฟเอคัพ ปี 1989 ที่สนามเวมบลีย์ ซึ่งพบกับเอฟเวอร์ตันคู่แข่งร่วมเมือง อัลดริดจ์ทำประตูได้หลังจากผ่านไป 4 นาทีจากการสัมผัสบอลครั้งแรก รัชซึ่งลงมาแทนที่อัลดริดจ์ในฐานะตัวสำรอง ยิงสองประตูในช่วงต่อเวลาพิเศษช่วยให้ลิเวอร์พูลเอาชนะไป 3–2 อัลดริดจ์ทำไป 21 ประตูในลีก และ 31 ประตูในทุกรายการ ทำให้เขาเป็นหนึ่งในผู้ทำประตูสูงสุดในดิวิชันหนึ่งในฤดูกาลนั้น แชมป์ลีกและเอฟเอคัพที่ลิเวอร์พูลคว้าได้ในปี 1986 เกิดขึ้นอีกครั้ง ในเกมตัดสินกับอาร์เซนอลที่แอนฟีลด์ อัลดริดจ์ลงเล่นในเกมที่รับประกันแชมป์ให้ลิเวอร์พูลได้ตราบใดที่อาร์เซนอลไม่สามารถชนะด้วยสกอร์ห่าง 2 ประตู ในช่วงทดเวลาบาดเจ็บ ลิเวอร์พูลตามหลังอยู่ 1–0 พวกเขาเสียประตูอีกลูกให้กับไมเคิล โธมัส ซึ่งเป็นประตูสุดท้ายของฤดูกาล ทำให้เสียตำแหน่งแชมป์ลีกไป
อัลดริดจ์ลงเล่นให้ลิเวอร์พูล 104 นัด ยิงได้ 63 ประตู โดย 50 ประตูอยู่ในลีก[20]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Dunk, Peter, บ.ก. (1987). Rothmans Football Yearbook 1987–88. London: Queen Anne Press. p. 222. ISBN 978-0-356-14354-5.
- ↑ Quinn, Philip (6 November 2000). "Irate Aldo refutes phoney Irish claim". Irish Independent. สืบค้นเมื่อ 15 July 2024.
- ↑ England – All-Time Topscorers – All Football League Divisions (and Premiership) rsssf.org, retrieved 2 April 2011
- ↑ "Irish Football and the 'Granny Rule'". www.soccer-ireland.com. สืบค้นเมื่อ 28 August 2021.
- ↑ Hilton, Nick (18 March 2011). "Shamrock Scousers: Liverpool FC hero John Aldridge recalls his happiness playing international football for Ireland". Liverpool Echo (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 28 August 2021.
- ↑ Byrne, Peter. "Magical memories of Italia '90 linger still". The Irish Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 28 August 2021.
- ↑ "Daniel McDonnell: Ireland's Generation Game - How the post Italia '90 class are finally making their mark". independent (ภาษาอังกฤษ). 17 July 2020. สืบค้นเมื่อ 28 August 2021.
- ↑ 8.0 8.1 "John Aldridge". สืบค้นเมื่อ 2 September 2010.
- ↑ "Newport County A-Z of transfers".
- ↑ 10.0 10.1 "John Aldridge History with Oxford United".
- ↑ "Oxford United Club Records". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-03-16. สืบค้นเมื่อ 2024-07-21.
- ↑ "Oxford United 2–0 Manchester United". Rage Online. สืบค้นเมื่อ 23 July 2020.
- ↑ "Newell Hits a Hat-trick". New Straits Times. 27 October 1986. สืบค้นเมื่อ 23 July 2020 – โดยทาง Google News Archive Search.
- ↑ "Aston Villa 2 – 2 Liverpool". lfchistory.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 June 2010. สืบค้นเมื่อ 16 December 2009.
- ↑ "Liverpool 1 – 0 Southampton". lfchistory.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2007. สืบค้นเมื่อ 16 December 2009.
- ↑ Statistics. "A timeline for Liverpool Football Club". LFChistory.net. สืบค้นเมื่อ 30 October 2011.
- ↑ "Liverpool 2 – 1 Nottingham Forest". lfchistory.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 June 2010. สืบค้นเมื่อ 16 December 2009.
- ↑ "Liverpool 0 – 1 Wimbledon". lfchistory.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 June 2010. สืบค้นเมื่อ 16 December 2009.
- ↑ 19.0 19.1 "Liverpool Results 1988–89". Liverweb. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 March 2012. สืบค้นเมื่อ 25 April 2011.
- ↑ "Total goals scored per season by John Aldridge". lfchistory.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 February 2006. สืบค้นเมื่อ 16 December 2009.
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2501
- ผู้เล่นในฟุตบอลโลก 1990
- ผู้เล่นในฟุตบอลโลก 1994
- กองหน้าฟุตบอลชาย
- นักฟุตบอลชายชาวอังกฤษที่ค้าแข้งในต่างประเทศ
- นักฟุตบอลชาวไอริช
- นักฟุตบอลทีมชาติสาธารณรัฐไอร์แลนด์
- ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลนิวพอร์ตเคาน์ตี
- ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลออกซฟอร์ดยูไนเต็ด
- ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล
- ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลแทรนเมียร์โรเวอส์
- ผู้เล่นเรอัลโซซิเอดัด
- บุคคลจากลิเวอร์พูล
- นักฟุตบอลจากลิเวอร์พูล