จอร์จ บูล
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
จอร์จ บูล | |
---|---|
เกิด | 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2358 (ลินคอร์น ประเทศอังกฤษ) |
เสียชีวิต | 8 ธันวาคม พ.ศ. 2407 (คันทรี่คอร์ก ไอร์แลนด์) |
ยุค | ปรัชญาศตวรรษที่ 19 |
แนวทาง | ปรัชญาตะวันตก |
สำนัก | ศูนย์คณิตศาสตร์แห่งวิทยาการคอมพิวเตอร์ |
ความสนใจหลัก | คณิตศาสตร์, ตรรกศาสตร์, ปรัชญาคณิตศาสตร์ |
แนวคิดเด่น | พีชคณิตแบบบูล |
ได้รับอิทธิพลจาก | |
เป็นอิทธิพลต่อ |
จอร์จ บูล (อังกฤษ: George Boole) เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ผลงานสำคัญคือการคิดพีชคณิตแบบบูลขึ้น อันเป็นรากฐานสำคัญของ ตรรกศาสตร์ และวงจรดิจิทัล จอร์จ บูล นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ที่ University College Cork ผู้ที่นิยามพีชคณิตดังกล่าวขึ้นมาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของระบบทางตรรกศาสตร์ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 พีชคณิตแบบบูลนำเทคนิคทางพีชคณิตมาใช้กับนิพจน์ในตรรกศาสตร์เชิงประพจน์ ในปัจจุบันพีชคณิตแบบบูลได้ถูกนำไปประยุกต์อย่างแพร่หลายในการออกแบบทางอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ที่นำไปใช้คนแรกคือคลาวด์ อี. แชนนอน นักวิทยาศาสตร์แห่งห้องทดลองเบลล์ (Bell Laboratory) ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยนำมาใช้ในการวิเคราะห์วงจรเน็ตเวิร์กที่ทำงานต่อกันหลาย ๆ ภาค เช่น วงจรของโทรศัพท์ เป็นต้น เมื่อมีการพัฒนาวงจร คอมพิวเตอร์ขึ้นก็ได้มีการนำเอาพีชคณิตบูลีนมาใช้ในการคำนวณ ออกแบบ และอธิบายสภาวะการทำงานของสถานะวงจรภายในระบบคอมพิวเตอร์ โดยพีชคณิตบูลีนเป็นพื้นฐานสำคัญในการออกแบบวงจรตรรกของระบบดิจิทัล