จงรัก พลาศัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จงรัก พลาศัย นายกสภามหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์[1][2] อธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ อดีตผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคนราธิวาส
ประวัติ
[แก้]![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การศึกษา
[แก้]ผศ.ดร.จงรัก พลาศัย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ครุศาสตรอุตสาหกรรมบัณฑิต (วิศวกรรมเครื่องกล) จากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเทเวศน์ กรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2532 ระดับปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ พ.ศ. 2541 และระดับปริญญาเอก ด้านการศึกษา (Ed.D.) จากมหาวิทยาลัยบาเกียว ประเทศฟิลิปปินส์ ปี พ.ศ. 2551
การทำงาน
[แก้]ผศ.ดร.จงรัก พลาศัย เริ่มรับราชการครู ประจำโรงเรียนเกษตรกรรมนราธิวาส เมื่อปี พ.ศ. 2519 ต่อมาในปี พ.ศ. 2525 จึงได้มารับตำแหน่งอาจารย์ ประจำวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ในปี พ.ศ. 2526 เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างนราธิวาส ต่อมา พ.ศ. 2539 เป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพตากใบ และเป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคนราธิวาส ในปี พ.ศ. 2545 กระทั่งในปี พ.ศ. 2548 ได้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ขึ้น และยุบรวมเอาวิทยาลัยเทคนิคนราธิวาสเข้าเป็นหน่วยงานในสังกัด ดร.จงรัก พลาศัย จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 จนถึงปัจจุบัน[3]
ผลงานโดดเด่น
[แก้]ผศ.ดร.จงรัก พลาศัย เคยได้รับคัดเลือกเป็นข้าราชการผลงานดีเด่นของจังหวัดชายแดนภาคใต้ สาขาการบริหารนโยบาย ประจำปี 2546 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานเกียรติบัตร ณ อาคารสิริกาญจนทักษิณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2546 และได้รับคัดเลือกจากกระทรวงวัฒนธรรม ให้เป็นผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ประเภทส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรม มรดกไทยทางพระพุทธศาสนา โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักรเนื่องในวันวิสาขบูชาโลก ประจำปี 2547
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2563 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2555 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[5]
- พ.ศ. 2558 –
เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[6]
- พ.ศ. 2546 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/052/13.PDF
- ↑ วารสาร ประวัติอธิการบดี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๓๙๘, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๑๐๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๗๐, ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๓๐๕, ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๗