ข้ามไปเนื้อหา

ค่าว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ค่าว หรือ คร่าว คือ กลอนหรือกวีนิพนธ์แบบหนึ่งของภาคเหนือในประเทศไทย มักใช้แต่งรําพันความรักหรือแต่งเป็นเรื่อง[1] ค่าวแบ่งออกเป็น ค่าวธรรม ค่าวซอ ค่าวใช้ ค่าวร่ำ หรือ ค่าวฮ่ำ[2] ค่าวก้อม คร่าวปล่อย และ คร่าวว้อง

เรื่องที่ปรากฏในเทศนาธรรม เรียกว่า "ค่าวธรรม" ถ้านําไปอ่านเป็นทํานองเสนาะเรียกว่า "ค่าวซอ" ถ้าแต่งเป็นจดหมายรักเรียกว่า "ค่าวใช้" และถ้าหากเป็นการขับลํา นําตอนไปแอ่วสาวเรียกว่า "จ๊อย" แม้ชาวบ้านที่พูดคล้องจองกันเรียกว่า "อู้เป็นค่าวเป็นเครือ" ค่าวร่ำเป็นร้อยกรองที่แต่งเพื่อร่ำพรรณนาเรื่องราวต่าง ๆ โดยเฉพาะ ค่าวก้อมเป็นร้อยกรองที่แต่งขึ้นเป็นบทสั้น ๆ มักเป็นโวหารที่กินใจ ค่าวปล่อยเป็นร้อยกรองที่เขียนแล้วให้คนอ่าน โดยไม่บอกที่มาหรือชื่อผู้แต่งทำนองบัตรสนเท่ห์ ค่าวว้อง ได้แก่ร้อยกรองขนาดสั้นโดยคำสุดท้ายของบทจะส่งสัมผัสกับท่อนต้นของบทคร่าวนั้น ๆ[3]

ฉันทลักษณ์

[แก้]

ค่าวมีฉันทลักษณ์ที่ระบุจํานวนคําในวรรค และสัมผัสระหว่างวรรค สรุปเป็นคํากล่าวสั้น ๆ "สามตัวเหลียว เจ็ดตัวเตียว บาทหลัง บาทหน้า"

สํานวนค่าว มี 3 ส่วน คือ บทขึ้นต้น, บทดำเนินเรื่องและบทสุดท้าย ฉันทลักษณ์ คือ[4]

  • ค่าว 1 บท มี 3 บาท (3 บรรทัด) บาทละ 4 วรรค
  • สามวรรคแรกมี 4 คํา ส่วนวรรคที่สี่ มี 2–4 คํา
  • บังคับเสียงวรรณยุกต์สามัญ, โท, ตรีและจัตวา
  • มีสัมผัสคือ สัมผัสระหว่างวรรคและสัมผัสระหว่างบาท สัมผัสระหว่างวรรคส่งจากวรรคท้ายวรรคที่สอง ไปยังคําท้ายวรรคที่สามของทุกบาท
  • บังคับเสียงวรรณยุกต์สามัญ, โท, ตรีและจัตวา ตามตําแหน่งที่กําหนด

ตัวอย่างผังค่าว

● = แทนเสียงสามัญ
   ┌───┐ ┌───┐
○○○○  ○○○○๊  ○○○○้  ○○○○๋  
         ┌─────┌─────┘     
○○○○๊  ○○○○๋  ○○○●  ○○○○้  
         ┌───────────┘ 
○○○○  ○○○○้  ○○○●  ○○๊
         ┌─────────┘

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ค่าว".
  2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิโรจน์ อินทนนท์. "ธรรมค่าว: กลวิธีการเล่านิทานชาดกในล้านนา". ไทยศึกษา.
  3. ชมรมฮักตั๋วเมือง สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. "ล้านนาคำเมือง : ค่าว". มติชนสุดสัปดาห์.
  4. "ค่าว จ๊อย ซอ" (PDF).