ข้ามไปเนื้อหา

ค่ายรามสูร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ค่ายรามสูร
ส่วนหนึ่งของฐานทัพสหรัฐในประเทศไทย
เมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
ประเภทสถานีวิจัยวิทยุภาคสนาม
ข้อมูล
เจ้าของ ไทย
ผู้ดำเนินการ สหรัฐ
ควบคุมโดยสำนักงานความมั่นคงกองทัพบกสหรัฐ
สภาพเป็นส่วนหนึ่งของค่ายพระยาสุนทรธรรมธาดา ประเทศไทย
ประวัติศาสตร์
สร้างพ.ศ. 2507
รื้อถอนพ.ศ. 2519 (12 ปี)
การต่อสู้/สงคราม
สงครามเวียดนาม

ค่ายรามสูร (อังกฤษ: Ramasun Station), หรือนามอีกอย่างว่า สถานีช้าง[1] รู้จักกันในนามอย่างเป็นทางการ คือ สถานีวิจัยวิทยุภาคสนามที่ 7 (อังกฤษ: 7th Radio Research Field Station; 7th RRFS)[2] ค่ายแห่งนี้ตั้งอยู่ในตำบลโนนสูง สร้างขึ้นโดยสหรัฐเมื่อปี พ.ศ. 2507 ในช่วงที่สงครามเวียดนามกำลังทวีความรุนแรงหนัก ค่ายแห่งนี้ดำเนินการโดยสำนักงานความมั่นคงกองทัพบกสหรัฐ (ASA) เป็นหน่วยข่าวกรองคลื่นสัญญาณโดยกองทัพบกสหรัฐบูรณาการร่วมกับสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ (NSA)

ค่ายแห่งนี้วัตถุประสงค์เพื่อดักจับการสื่อสารทางวิทยุและระบุตำแหน่งติดตั้งของศัตรู ภายในค่ายปรากฏถาวรวัตถุอย่างกลุ่มเสาอากาศแบบวงกลมขนาดใหญ่ (CDAA) ในยุครุ่งเรือง พัฒนาเป็นที่พักของเจ้าหน้าที่สหรัฐจำนวน 1,200−1,500 คน พร้อมด้วยห้องพัก โรงภาพยนตร์ ศูนย์ฝึกทหาร โรงยิม สระว่ายน้ำ สนามเทนนิส คลังอาวุธ และอุโมงค์ยาว 300 เมตร ซึ่งปัจจุบันกองทัพไทยอ้างว่าใช้สำหรับจัดเก็บสายเคเบิลอิเล็กทรอนิกส์ ค่ายแห่งนี้จ้างแรงงานไทยมากกว่า 1,400 คนด้วยอัตราค่าจ้างสูง[1] เมื่อสหรัฐถอนกำลังออกจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี พ.ศ. 2518 ค่ายแห่งนี้จึงถูกส่งมอบให้กับกองบัญชาการทหารสูงสุดของไทย เมื่อปี พ.ศ. 2540 ค่ายถูกแปรสภาพเป็นค่ายของกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 13 ตั้งนามใหม่ว่า "ค่ายพระยาสุนทรธรรมธาดา"[3] ค่ายดังกล่าวกลับมามีประเด็นเกี่ยวกับสงครามต่อต้านการก่อการร้ายอีกครั้ง โดยบางคนเชื่อว่าสถานีแห่งนี้อาจเป็นที่ตั้งของ "คุกลับ" ของสำนักข่าวกรองกลางสหรัฐ สำหรับสอบสวนผู้ต้องสงสัยต้องหาว่าเป็นผู้ก่อการร้าย[3][4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Recollections of Camp Ramasun: Life with Udon Thani GIs". The Isaan Record. 22 June 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-23. สืบค้นเมื่อ 20 May 2020.
  2. Lelyveld, Joseph (1974-06-26). "U.S. Military Presence Is in Asia as of Old, but Justification for It Is All New". New York Times. สืบค้นเมื่อ 27 August 2018.
  3. 3.0 3.1 Nanuam, Wassana (27 August 2018). "Ex-US base 'not secret prison'". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 27 August 2018.
  4. "Torture and secrecy in Thailand". Australian Broadcasting Corporation (ABC). 17 Mar 2018. สืบค้นเมื่อ 27 August 2018.