ข้ามไปเนื้อหา

ค่างดำมลายู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ค่างดำมลายู[1]
ภาพวาดค่างดำมลายู
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Primates
วงศ์: Cercopithecidae
วงศ์ย่อย: Colobinae
สกุล: Presbytis
สปีชีส์: P.  femoralis
ชื่อทวินาม
Presbytis femoralis
(Martin, 1838)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์
ชื่อพ้อง
  • Semnopithecus femoralis Raffles, 1821

ค่างดำมลายู หรือ ค่างดำ (อังกฤษ: Banded surili; ชื่อวิทยาศาสตร์: Presbytis femoralis) เป็นค่างชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทย มีรูปร่างทั่วไปคล้ายค่างชนิดอื่น ๆ ขนตามลำตัวสีน้ำตาลเข้มจนถึงดำ ขนบริเวณท้องอ่อนกว่าสีตามลำตัว หน้าอกมีสีขาว มีวงแหวนสีขาวรอบดวงตามากกว่าค่างชนิดอื่น ๆ เหมือนสวมแว่นตา ปลายหางมีรูปทรงเนียวเล็กและมีสีอ่อนกว่าโคนหาง ลูกเมื่อยังแรกเกิดจะมีขนสีทอง ส่วนหัวมีสีเทาเข้ม

มีความยาวลำตัวและหัวประมาณ 48-58 เซนติเมตร ความยาวหาง 72-84 เซนติเมตร มีน้ำหนักประมาณ 5-7 กิโลกรัม

ค่างดำมลายูพบกระจายพันธุ์ตั้งแต่แหลมมลายูลงไปจนถึง เกาะบอร์เนียวและเกาะสุมาตรา ในอินโดนีเซีย มีนิเวศวิทยามักอาศัยในป่าที่ใกล้กับแหล่งน้ำ อาทิ บึงหรือชายทะเล บางครั้งอาจพบในป่าที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 600-2,200 เมตร อยู่รวมกันเป็นฝูง ในจำนวนสมาชิกไม่มากนักเมื่อเทียบกับค่างชนิดอื่น คือ ประมาณ 5-10 ตัวเท่านั้น[3]

สถานะของค่างดำมลายูในประเทศไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Groves, C. (2005-11-16). Wilson, D. E.; Reeder, D. M. (บ.ก.). Mammal Species of the World (3rd ed.). Johns Hopkins University Press. p. 171. ISBN 0-801-88221-4.
  2. Nijman, V., Geissman, T. & Meijaard, E. (2008). Presbytis femoralis. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 2008-12-12.
  3. กองทุนสัตว์ป่าโลก, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน หน้า 43-44 (กรุงเทพมหานคร, พ.ศ. 2543) ISBN 974-87081-5-2
  4. สัตว์ป่าคุ้มครอง (ไทย)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Presbytis femoralis ที่วิกิสปีชีส์