ข้ามไปเนื้อหา

วัลท์ชตาดีอ็อน (แฟรงก์เฟิร์ต)

พิกัด: 50°4′7″N 8°38′43″E / 50.06861°N 8.64528°E / 50.06861; 8.64528
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ค็อมแมทซ์บังค์-อาเรนา)
ค็อมแมทซ์บังค์-อาเรนา
วัลท์ชตาดีอ็อน
แผนที่
ชื่อเดิมวัลท์ชตาดีอ็อน (ค.ศ. 1925–2005)
ที่อยู่Mörfelder Landstraße 362
ที่ตั้งแฟรงก์เฟิร์ต, เยอรมนี
พิกัด50°4′7″N 8°38′43″E / 50.06861°N 8.64528°E / 50.06861; 8.64528
ขนส่งมวลชน ฟรังค์ฟวร์ทชตาดีอ็อน
เจ้าของWaldstadion Frankfurt Gesellschaft für Projektentwicklung
ผู้ดำเนินการStadion Frankfurt Management GmbH
ที่นั่งพิเศษ81
ความจุฟุตบอล: 51,500 ที่นั่ง (จุดยืน 9,300 ที่ สำหรับนัดลีก)
48,500 ที่นั่ง (นัดทีมชาติ)
อเมริกันฟุตบอล: 48,000 ที่นั่ง
คอนเสิร์ต: 44,000 ที่นั่ง
ขนาดสนาม105 × 68 เมตร
พื้นผิวหญ้า
การก่อสร้าง
ก่อสร้างค.ศ. 1925
เปิดใช้สนาม21 พฤษภาคม ค.ศ. 1925
ปรับปรุงค.ศ. 1937, 1953, 1974, 2005
งบประมาณในการก่อสร้าง150 ล้านยูโร[1]
สถาปนิกGerkan, Marg & Partner[2]
Max Bögl[3]
การใช้งาน
ไอน์ทรัคท์ฟรังค์ฟวร์ท (ค.ศ. 1925–ปัจจุบัน)
แฟรงก์เฟิร์ตแกลักซี (ค.ศ. 1991–2007)
ฟุตบอลทีมชาติเยอรมนี (บางนัด)
ภาพถ่ายมุมสูงของสนาม

วัลท์ชตาดีอ็อน (เยอรมัน: Waldstadion) หรือชื่อตามชื่อผู้สนับสนุนในปัจจุบันว่า ค็อมแมทซ์บังค์-อาเรนา (Commerzbank-Arena) เป็นสนามกีฬาที่มีหลังคาเปิด-ปิดได้ ตั้งอยู่ที่เมืองแฟรงก์เฟิร์ต รัฐเฮ็สเซิน ประเทศเยอรมนี ชื่อเดิมของสนามแห่งนี้คือ สนามเปิดใช้งานในปี ค.ศ. 1925 และได้รับการปรับปรุงหลายครั้ง จนในที่สุด ได้มีการปรับปรุงให้เป็นสนามฟุตบอลอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อรองรับการแข่งขันฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2005 และฟุตบอลโลก 2006 สนามมีความจุ 51,500 ที่นั่งสำหรับนัดลีก และลดลงเหลือ 48,500 ที่นั่ง สำหรับนัดอเมริกันฟุตบอลและฟุตบอลทีมชาติ สนามแห่งนี้ติด 1 ใน 10 อันดับสนามฟุตบอลที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ และเป็น 1 ใน 9 สนามที่ใช้จัดแข่งขันฟุตบอลโลกหญิง 2011 ซึ่งใช้จัดการแข่งขันไป 4 นัด รวมไปถึงนัดชิงชนะเลิศ

ศูนย์กีฬาแฟรงก์เฟิร์ต ซึ่งมีนครแฟรงก์เฟิร์ตเป็นเจ้าของ ประกอบด้วยสนามฟุตบอล และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ได้แก่ สระว่ายน้ำ, ศูนย์เทนนิส, สนามวอลเลย์บอลชายหาด และห้องกีฬาฤดูหนาว นอกจากนี้สนามยังมีสถานีรถไฟในตัว คือ สถานีรถไฟฟรังค์ฟวร์ทชตาดีอ็อน

วัลท์ชตาดีอ็อน (ค็อมแมทซ์บังค์-อาเรนา) เป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลไอน์ทรัคท์ฟรังค์ฟวร์ท

การแข่งขันฟุตบอลทีมชาติ

[แก้]
วันที่ เวลา (CET) ทีมแรก ผล ทีมที่สอง รอบ จำนวนผู้ชม
13 มิถุนายน ค.ศ. 1974
17:00
ธงชาติบราซิล บราซิล
0–0
ธงชาติสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย ยูโกสลาเวีย
กลุ่ม 2
59,000
18 มิถุนายน ค.ศ. 1974
19:30
ธงชาติสกอตแลนด์ สกอตแลนด์
0–0
ธงชาติบราซิล บราซิล
กลุ่ม 2
62,000
22 มิถุนายน ค.ศ. 1974
19:30
ธงชาติสกอตแลนด์ สกอตแลนด์
1–1
ธงชาติสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย ยูโกสลาเวีย
กลุ่ม 2
56,000
30 มิถุนายน ค.ศ. 1974
16:00
ธงชาติโปแลนด์ โปแลนด์
2–1
ธงชาติสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย ยูโกสลาเวีย
รอบที่สอง - กลุ่ม บี
58,000
3 กรกฎาคม ค.ศ. 1974
16:30
ธงชาติโปแลนด์ โปแลนด์
0–1
ธงชาติเยอรมนีตะวันตก เยอรมนีตะวันตก
รอบที่สอง - กลุ่ม บี
62,000
วันที่ เวลา (CET) ทีมแรก ผล ทีมที่สอง รอบ จำนวนผู้ชม
15 มิถุนายน ค.ศ. 2005
21:00
ธงชาติเยอรมนี เยอรมนี
4–3
ธงชาติออสเตรเลีย ออสเตรเลีย
กลุ่ม เอ
46,466
19 มิถุนายน ค.ศ. 2005
18:00
ธงชาติกรีซ กรีซ
0–1
ธงชาติญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
กลุ่ม บี
34,314
22 มิถุนายน ค.ศ. 2005
20:45
ธงชาติกรีซ กรีซ
0–0
ธงชาติเม็กซิโก เม็กซิโก
กลุ่ม บี
31,285
29 มิถุนายน ค.ศ. 2005
20:45
ธงชาติบราซิล บราซิล
4–1
ธงชาติอาร์เจนตินา อาร์เจนตินา
ชิงชนะเลิศ
45,591
วันที่ เวลา (CET) ทีมแรก ผล ทีมที่สอง รอบ จำนวนผู้ชม
10 มิถุนายน ค.ศ. 2006
15:00
ธงชาติอังกฤษ อังกฤษ
1–0
ธงชาติปารากวัย ปารากวัย
กลุ่ม บี
48,000
13 มิถุนายน ค.ศ. 2006
15:00
ธงชาติเกาหลีใต้ เกาหลีใต้
2–1
ธงชาติโตโก โตโก
กลุ่ม จี
48,000
17 มิถุนายน ค.ศ. 2006
15:00
ธงชาติโปรตุเกส โปรตุเกส
2–0
ธงชาติอิหร่าน อิหร่าน
กลุ่ม ดี
48,000
21 มิถุนายน ค.ศ. 2006
21:00
ธงชาติเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์
0–0
ธงชาติอาร์เจนตินา อาร์เจนตินา
กลุ่ม ซี
48,000
1 กรกฎาคม ค.ศ. 2006
21:00
ธงชาติบราซิล บราซิล
0–1
ธงชาติฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
ก่อนรองชนะเลิศ
48,000
วันที่ เวลา (CET) ทีมแรก ผล ทีมที่สอง รอบ จำนวนผู้ชม
30 มิถุนายน ค.ศ. 2011
20:45
ธงชาติเยอรมนี เยอรมนี
1–0
ธงชาติไนจีเรีย ไนจีเรีย
กลุ่ม เอ
48,817
6 กรกฎาคม ค.ศ. 2011
18:00
ธงชาติอิเควทอเรียลกินี อิเควทอเรียลกินี
0–3
ธงชาติบราซิล บราซิล
กลุ่ม ดี
35,859
13 กรกฎาคม ค.ศ. 2011
20:45
ธงชาติญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
2–0
ธงชาติสวีเดน สวีเดน
รองชนะเลิศ
45,434
17 กรกฎาคม ค.ศ. 2011
20:45
ธงชาติญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
2–2 (3-1 ลูกโทษ)
ธงชาติสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกา
ชิงชนะเลิศ
48,817

อ้างอิง

[แก้]
  1. Commerzbank Arena in Frankfurt, architect: Max Bögl เก็บถาวร 19 กรกฎาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-14. สืบค้นเมื่อ 2018-02-26. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  3. Max Bögl partnering เก็บถาวร 7 มีนาคม 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน architect: Max Bögl

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]