ค็อนราท ชูมัน
ค็อนราท ชูมัน | |
---|---|
Konrad Schumann | |
ค็อนราท ชูมันได้กระโดดก้าวข้ามลวดหนามเข้าสู่เบอร์ลินตะวันตก เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1961. 52°32′20″N 13°23′56″E / 52.5390°N 13.3990°E | |
เกิด | ฮันส์ ค็อนราท ชูมัน 28 มีนาคม ค.ศ. 1942 Zschochau, รัฐซัคเซิน, เยอรมนี |
เสียชีวิต | 20 มิถุนายน ค.ศ. 1998 Kipfenberg, โอเบอร์ไบเอิร์น, เยอรมนี | (56 ปี)
สาเหตุเสียชีวิต | ฆ่าตัวตายโดยการแขวนคอ |
สัญชาติ | เยอรมัน |
อาชีพ | อดีตคนงานผู้ประกอบการรถยนต์ เอาดี้ , อดีตคนงานการผลิตไวน์, อดีตทหาร |
นายจ้าง | เอาดี้ (อดีต) |
มีชื่อเสียงจาก | แปร์พัตร์จากเบอร์ลินตะวันออกไปยังตะวันตก ในปี ค.ศ. 1961. |
คู่สมรส | Kunigunde Schumann (สมรส 1962–1998) |
บุตร | แอร์วีน ชูมัน (บุตรชาย) |
ฮันส์ ค็อนราท ชูมัน (เยอรมัน: Hans Konrad Schumann; 28 มีนาคม ค.ศ. 1942 – 20 มิถุนายน ค.ศ. 1998) เป็นอดีตทหารเยอรมนีตะวันออก ผู้ที่ได้มีชื่อเสียงในการแปรพักตร์ให้กับเยอรมนีตะวันตกในช่วงระหว่างก่อสร้างกำแพงเบอร์ลินในปี ค.ศ. 1961
ชีวิตตอนต้น
[แก้]เขาเกิดใน Zschochau, รัฐซัคเซิน ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง ชูมันได้เข้าเกณฑ์ทหารในหน่วย Bereitschaftspolizei (ตำรวจรัฐ) แห่งเยอรมนีตะวันออก ภายหลังวันเกิดปีที่ 18 ของเขา ภายหลังสามเดือนจากการฝึกในเดรสเดิน เขาได้ถูกส่งไปยังวิทยาลัยเจ้าหน้าที่นายทหารชั้นประทวนในพ็อทซ์ดัม หลังจากนั้นซึ่งเขาได้รับอาสาเพื่อทำหน้าที่ในกรุงเบอร์ลิน
การหลบหนีไปยังเยอรมนีตะวันตก
[แก้]เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1961 ชูมันตอนอายุ 19 ปี ได้ถูกส่งไปยังหัวมุมของ Ruppiner Straße และ Bernauer Straße เพื่อเป็นยามป้องกันกำแพงเบอร์ลินในช่วงสามวันของการก่อสร้าง ช่วงเวลาและสถานที่นั้น, กำแพงนั้นยังเป็นเพียงแค่ขดลวดหนามเท่านั้น จากอีกด้านหนึ่ง ชาวเยอรมนีตะวันตกได้ร้องตะโกนใส่เขาว่า "Komm' rüber!" ("เข้ามา!") และรถตำรวจได้จอดอยู่ใกล้ๆเพื่อรอสำหรับเขา ชูมันได้ตัดสินใจกระโดดข้ามรั้วลวดหนามพร้อมกับละทิ้งปืนพีพีชา-41 และขึ้นรถจนถูกพาออกไปจากที่เกิดเหตุโดยตำรวจเยอรมนีตะวันตก ช่างภาพเยอรมนีตะวันตก Peter Leibing ที่ถ่ายภาพการหลบหนีของชูมัน ภาพถ่ายของเขาได้กลายเป็นภาพถ่ายที่มีความโดดเด่นในช่วงยุคสงครามเย็นและเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างภาพยนตร์ของดีสนีย์เรื่อง Night Crossing ในปี ค.ศ. 1982 ฉากนั้น, ได้ร่วมถึงการเตรียมพร้อมของชูมัน ได้ออกฉายภาพยนตร์ขนาด 16 มม.จากมุมมองเดียวกัน
หลังจากนั้นต่อมา ชูมันได้รับอนุญาตให้เดินทางจากเบอร์ลินตะวันตกไปยังดินแดนหลักของเยอรมนีตะวันตก ที่เขาได้ใช้ชีวิตในรัฐบาวาเรีย ในปี ค.ศ. 1962 เขาได้พบและแต่งงานกับ Kunigunde (Gunda) ในเมือง Günzburg, ซึ่งต่อมาเขาได้ให้กำเนิดลูกชายในปี ค.ศ. 1963[1] เขาได้เข้าทำงานในโรงผลิตไวน์และท้ายที่สุด เขาได้ทำงานในโรงงานผลิตรถยนต์ของเอาดี้ในอิงก็อลชตัท ที่นั้นเขาได้ทำงานมาเกือบ 30 ปี
ชีวิตหลังต่อมาและถึงแก่กรรม
[แก้]ภายหลังการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน เขาได้กล่าวว่า "นับตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1989 [วันของช่วงฤดูใบไม้ร่วง] ผมมีความรู้สึกว่าได้รับอิสรภาพอย่างแท้จริง" แม้ถึงกระนั้น, เขายังมีความรู้สึกมากที่บ้านในบาวาเรียมากกว่าที่บ้านเกิดของเขา จากการอ้างถึงความขัดแย้งเก่ากับอดีตเพื่อนร่วมงานของเขาและมีความลังเลที่จะแวะเยี่ยมพ่อแม่และพี่น้องของเขาในซัคเซิน เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1998 ด้วยความทุกข์ทรมาณจากสภาวะซึมเศร้า เขาได้ตัดสินใจฆ่าตัวตาย ด้วยการแขวนคออยู่ในสวนของเขาใกล้กับเมือง Kipfenberg ในบาวาเรียตอนบน ศพของเขาได้ถูกพบโดยภรรยาของเขาเพียงแค่ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากนั้น[2]
ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2011 ภาพถ่ายของชูมันในหัวข้อว่า"การก้าวกระโดดสู่อิสรภาพ" ได้นำเข้าบรรจุไว้ในโครงการความทรงจำแห่งโลกของยูเนสโก ที่เป็นส่วนหนึ่งของชุดเอกสารที่เกี่ยวกับการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน[3][4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ CONRAD SCHUMANN, 56, SYMBOL OF E. BERLIN ESCAPES; [NORTH SPORTS FINAL Edition] Associated Press. Chicago Tribune. Chicago, Ill.: Jun 23, 1998. p. 8
- ↑ "Escaped soldier found hanged" DENIS STAUNTON. The Guardian. Manchester (UK): Jun 22, 1998. p. K2
- ↑ Diekmann, Kai. Die Mauer. Fakten, Bilder, Schicksale. München: Piper, 2011 (ISBN 978-3-492-05485-0), p. 45
- ↑ German Commission for UNESCO, World Documentary Heritage in Germany