ข้ามไปเนื้อหา

คู่ไหน..ใช่เลย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คู่ไหน..ใช่เลย
ภาพสัญลักษณ์รายการ
"คอปเพิลออร์น็อท? คู่ไหน...ใช่เลย"
ประเภทเกมโชว์
พัฒนาโดยโพลคาดอท เอนเตอร์เทนเมนท์
พิธีกร
ประเทศแหล่งกำเนิดไทย
ภาษาต้นฉบับไทย
จำนวนฤดูกาล1
การผลิต
ผู้อำนวยการสร้างวราวุธ เจนธนากุล
สถานที่ถ่ายทำไม้ยืนต้น สตูดิโอ
ความยาวตอน50 นาที
บริษัทผู้ผลิต
ออกอากาศ
เครือข่ายช่อง 3 เอชดี
(ช่องโทรทัศน์ระบบดิจิทัลหมายเลข 33)
ออกอากาศ22 กรกฎาคม 2561 –
25 ธันวาคม 2565

คอปเพิลออร์น็อท? คู่ไหน...ใช่เลย (อังกฤษ: Couple or Not?) เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์การแข่งขันจับคู่ปรัศนีย์ที่มีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับความรักที่แตกต่างและหลากหลาย เช่น เพศสภาพ, ฐานะ, บุคลิก หรืออายุ เป็นต้น เพื่อชิงเงินรางวัล ผลิตรายการโดย บริษัท เซ้นส์ เอนเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (ในนาม บริษัท โพลคาดอท เอนเตอร์เทนเมนท์ จำกัด) ซึ่งได้ซื้อลิขสิทธิ์รูปแบบรายการ Couple ou pas Couple? จาก วีว็องดี เอนเตอร์เทนเมนท์ ของประเทศฝรั่งเศส เพื่อนำมาผลิตในรูปแบบของประเทศไทย[1] เริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ทางช่อง 3 เอชดี (ช่องโทรทัศน์ระบบดิจิทัลหมายเลข 33) ดำเนินรายการโดย ธนวัฒน์ ประสิทธิสมพร และ ศกุนตลา เทียนไพโรจน์[2]

ผู้ดำเนินรายการ

[แก้]

พิธีกรหลัก

[แก้]

ผู้ช่วยพิธีกร

[แก้]

ในที่นี้คือผู้ที่ทำหน้าที่เป็น "หมอดู" ซึ่งเป็นผู้ที่มาให้ความช่วยเหลือต่อผู้เข้าแข่งขันทั้ง 2 ฝ่าย ในโจทย์บุคคลบางข้อ โดยจะผลัดเปลี่ยนบุคคลที่ทำหน้าที่นี้ตอนละ 1 คน

รูปแบบและกติกาของรายการ

[แก้]

ผู้เข้าแข่งขันที่เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงในวงการบันเทิงจำนวน 2 คู่ จะต้องทำการแข่งขันจับคู่บุคคลทั่วไปที่เป็นปรัศนีย์ที่มีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับความรักที่แตกต่างและหลากหลาย เช่น เพศสภาพ, ฐานะ, บุคลิก หรืออายุ เป็นต้น ทั้งหมด 20 คน ซึ่งมีเพียง 10 คนเท่านั้นที่มีความสัมพันธ์กันในชีวิตจริง โดยจะทำการแข่งขันทั้งหมด 3 รอบ[โน้ต 1] รอบละ 1 โจทย์บุคคล ต่อ 1 การจับคู่ ถ้าผู้เข้าแข่งขันคู่ใดเลือกจับคู่ระหว่าง "โจทย์บุคคล" กับ "คู่รักตัวเลือก" ได้ถูกต้อง[โน้ต 2] จะได้รับเงินรางวัลสะสมไปตามจำนวนขั้นเงินรางวัลที่ทางรายการกำหนดไว้ในแต่ละรอบการแข่งขัน หลังจากการแข่งขันสิ้นสุดลงครบทุกรอบ ถ้าผู้เข้าแข่งขันคู่ใดเก็บสะสมเงินรางวัลได้มากกว่า ผู้เข้าแข่งขันคู่นั้นเป็นฝ่ายชนะพร้อมทั้งเข้าไปชิงเงินรางวัลในรอบแจ็คพอตทันที โดยในรอบแจ็คพอตนั้นจะเป็นการสุ่มหาแล้วจับคู่บุคคลที่เป็นปรัศนีย์เพียง 1 คู่เท่านั้น โดยมีโอกาสในการจับคู่เพียง 4 ครั้ง โดยเงินรางวัลจะลดลงครี่งหนึ่งไปตามขั้นเงินรางวัลที่ทางรายการกำหนดไว้ถ้าเลือกจับคู่ไม่ถูกต้อง ถ้าผู้เข้าแข่งขันจับคู่บุคคลที่เป็นปรัศนีย์คู่นั้นได้ถูกต้อง จะได้รับเงินรางวัลในขั้นนั้น ๆ รวมทั้งเงินรางวัลที่สะสมไว้ในรอบแข่งขันไปทันที[2]

รอบแข่งขัน

[แก้]

พิธีกรหลักจะเปิดตัวบุคคลภายในตู้แคปซูลที่เป็นปรัศนีย์ทั้งหมด 20 คน[โน้ต 3] เพื่อให้ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 2 คู่ ดูลักษณะเฉพาะตัวของบุคคล ๆ นั้น แล้วทำการปิดบังตัวบุคคลเหล่านั้นทั้งหมด หลังจากนั้นจะเริ่มการแข่งขันทั้ง 4 รอบ โดยในแต่ละรอบจะสุ่ม "โจทย์บุคคล" เพียง 1 คน และ "คู่รักตัวเลือก" ในจำนวนที่ทางรายการกำหนดไว้เป็นขั้นบันไดในแต่ละรอบ โดยสามารถพูดคุยโต้ตอบกับผู้เข้าแข่งขันได้ก็ต่อเมื่อพิธีกรอนุญาตเท่านั้น ซึ่งตั้งแต่รอบที่ 2 เป็นต้นไปจะมี "ตัวช่วย" เพิ่อให้ผู้เข้าแข่งขันได้ใช้โดยจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันในแต่ละรอบ เป็นการทำให้โจทย์ในรอบนั้น ๆ ง่ายขึ้นด้วย หลังจากนั้นให้ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 2 คู่ ได้เลือกจับคู่แล้วตอบ[โน้ต 4] โดยรายละเอียดในการแข่งขันแต่ละรอบมีดังนี้

รอบ 1 2 3 4
จำนวน 1 คน
คู่รักตัวเลือก 2 คน 3 คน 4 คน 5 คน
ตัวช่วย ไม่มี วลีเด็ด รูปภาพ หมอดู
เงินรางวัล 5,000 บาท 10,000 บาท 15,000 บาท 20,000 บาท

ทั้งนี้ ตั้งแต่ตอนที่ 4 (ออกอากาศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2561) ทางรายการได้ทำการปรับเปลี่ยนจำนวนรอบการแข่งขัน ลดตัวช่วย และขั้นเงินรางวัลสะสม ดังนี้

รอบการแข่งขัน (คู่ที่) 1 2 3
จำนวน "โจทย์บุคคล" 1 คน
จำนวน "คู่รักตัวเลือก"
(ให้ผู้เข้าแข่งขันเลือกมา 1 คน)
3 คน 4 คน 5 คน
ตัวช่วย ไม่มี "วลีเด็ด" "หมอดู"
เงินรางวัลสะสม
(ถ้าจับคู่ได้ถูกต้อง)
10,000 บาท 20,000 บาท 30,000 บาท

ถ้าผู้เข้าแข่งขันคู่ใด (หรือทั้งสองคู่) เลือกจับคู่บุคคลที่เป็นปรัศนีย์ได้ถูกต้องในแต่ละรอบ[โน้ต 5] จะได้รับเงินรางวัลสะสมไปตามจำนวนขั้นเงินรางวัลที่ทางรายการกำหนด แต่ถ้าจับคู่ไม่ถูกต้องจะไม่ได้รับเงินรางวัลสะสมใด ๆ โดยที่ยังมีสิทธิ์แข่งขันในรอบต่อไปได้[โน้ต 6] หลังจากการแข่งขันสิ้นสุดลงครบทุกรอบ ถ้าผู้เข้าแข่งขันคู่ใดเก็บสะสมเงินรางวัลได้มากกว่า ผู้เข้าแข่งขันคู่นั้นเป็นฝ่ายชนะพร้อมทั้งเข้าไปชิงเงินรางวัลที่สะสมมาในรอบแจ็คพอตทันที แต่ถ้าผู้เข้าแข่งขันเก็บสะสมเงินรางวัลได้เท่ากัน จะได้เข้ารอบแจ็คพอตทั้งคู่ และเงินรางวัลที่ทั้งสองคู่สะสมมาจะนำมารวมกัน

รอบแจ็คพอต

[แก้]

ผู้เข้าแข่งขันคู่ที่ชนะจากรอบแข่งขันจะต้องเข้ามาชิงรางวัลที่สะสมมาได้จากรอบแข่งขันในรอบแจ็คพอต นั่นคือ จะมีบุคคลภายในตู้แคปซูลที่เป็นปรัศนีย์ที่เหลืออยู่จากรอบแข่งขันเพียง 14 คน[โน้ต 7] โดยให้ผู้เข้าแข่งขันคู่ดังกล่าวสุ่มหาแล้วจับคู่บุคคลที่เป็นปรัศนีย์เพียง 1 คู่เท่านั้น โดยมีโอกาสในการจับคู่เพียง 4 ครั้ง โดยเงินรางวัลที่สะสมมาจะลดลงครี่งหนึ่งไปตามขั้นเงินรางวัลที่ทางรายการกำหนดไว้ในกรณีที่เลือกจับคู่ไม่ถูกต้อง ซึ่งในกรณีดังกล่าว ตั้งแต่โอกาสที่ 2 เป็นต้นไปจะมี "ตัวช่วย" เพิ่อให้ผู้เข้าแข่งขันได้ใช้โดยจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันในแต่ละโอกาส ซึ่งเป็นการทำให้โจทย์ในรอบนั้น ๆ ง่ายขึ้นด้วย โดยรายละเอียดเพิ่มเติมในรอบแจ็คพอตมีดังนี้

โอกาสในการเลือกจับคู่ (ครั้งที่) 1 2 3 4
ตัวช่วย ไม่มีใช้ "โจทย์บุคคล" "รูปภาพ" "ตัดตัวเลือก"

ถ้าผู้เข้าแข่งขันในรอบแจ็คพอต จับคู่บุคคลที่เป็นปรัศนีย์คู่นั้นได้ถูกต้อง จะได้รับเงินรางวัลในขั้นเงินรางวัลนั้น ๆ รวมทั้งเงินรางวัลที่สะสมไว้ในรอบแข่งขันไปด้วยทันที แต่ถ้าจับคู่ครั้งที่ 4 ผิด ผู้เข้าแข่งขันจะไม่ได้รับเงินรางวัลกลับบ้าน

ตั้งแต่เทปที่ 52 เป็นต้นไป (11 สิงหาคม 2562) ทางรายการได้ปรับกติกาใหม่ โดยตัวช่วย "โจทย์บุคคล" ทางรายการจะมีให้ตั้งแต่โอกาสแรก และตัวช่วย "รูปภาพ" จะมีให้ในโอกาสที่ 2

ความช่วยเหลือ

[แก้]

ความช่วยเหลือ หรือ "ตัวช่วย" ที่ทางรายการมีไว้ให้ผู้เข้าแข่งขันได้ใช้ จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละรอบการแข่งขัน มีดังนี้

  • "วลีเด็ด"

ในรอบที่ 2 ของการแข่งขัน พิธีกรจะให้ "คู่รักตัวเลือก" แต่ละคน (แต่เดิมในรอบนี้มีอยู่ 3 คน ได้เปลี่ยนแปลงมาเป็น 4 คน จนถึงการออกอากาศในปัจจุบัน) กล่าววลีหรือประโยคสั้น ๆ ผ่านไมโครโฟน เพื่อโน้มน้าวหรือบอกใบ้ให้ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 2 คู่ ได้วิเคราะห์

  • "รูปภาพ" (ปัจจุบันใช้ในรอบแจ็คพอตเท่านั้น)

ในรอบที่ 3 ของการแข่งขัน รวมถึงรอบแจ็คพอต จะมีรูปภาพที่มีความเกี่ยวข้องกับ "คู่รักตัวเลือก" ที่ถูกต้องในรอบนี้ 1 รูป โดยให้ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 2 คู่ (หรือ 1 คู่ในรอบแจ็คพอต) ได้วิเคราะห์

  • "หมอดู"

ในรอบที่ 3 ของการแข่งขัน (แต่เดิมคือรอบที่ 4) จะมีบุคคลที่ทำหน้าที่ "หมอดู" มาให้ข้อมูลที่น่าจะเป็นไปได้เกี่ยวกับ "โจทย์บุคคล" และ "คู่รักตัวเลือก" ในรอบนี้

  • "โจทย์บุคคล" (ในรอบแจ็คพอต)

ในโอกาสที่ 2 ของรอบแจ็คพอต ทางรายการจะเผย "โจทย์บุคคล" เพียง 1 คน โดยให้ผู้เข้าแข่งขันหา "คู่รักตัวเลือก" ที่ถูกต้องในรอบนี้อีก 1 คน

  • "ตัดตัวเลือก" (ในรอบแจ็คพอต)

ในโอกาสที่ 4 ของรอบแจ็คพอต จะปิดแคปซูลของคนที่ไม่ใช่คู่รักกับตัวโจทย์ออก จนกระทั่งเหลือเพียง 5 คน แล้วให้ผู้เข้าแข่งขันตัดสินใจจับคู่อีกครั้ง

เชิงอรรถ

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. แต่เดิมนั้น ในการออกอากาศ 3 ตอนแรก จะแข่งขันกันทั้งหมด 4 รอบ
  2. บุคคลที่เป็นปรัศนีย์คู่ดังกล่าวต้องสมรสแล้ว หรือมีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับความรักจริง ๆ เท่านั้น โดยไม่จำกัดเรื่องเพศสภาพ
  3. ทุกคนจะต้องยืนอยู่ในตู้แคปซูลสีเงินที่เจาะช่องว่างด้านหน้าซึ่งสามารถหมุนได้รอบตัว (180 องศา) ที่อยู่ในฉากรายการ โดยตู้แคปซูลจะหมุนเพื่อเผยให้เห็นบุคคลที่อยู่ภายในก็ต่อเมื่อเปิดตัวบุคคลที่เป็นปรัศนีย์ทั้งหมด, บอกโจทย์บุคคล และบอกคู่รักตัวเลือกเท่านั้น ซึ่งจะมีการติดจอมอนิเตอร์เพื่อบอกชื่อเล่นของบุคคลที่อยู่ภายในตู้ในตำแน่งด้านบนของตู้แคปซูล
  4. เมื่อพิธีกรให้สัญญาณ ผู้เข้าแข่งขันบนโพเดียมทั้ง 2 คู่ จะต้องเขียนคำตอบที่ตนได้เลือกไว้ลงบนหน้าจอระบบสัมผัส (ทัสกรีน) ที่สามารถส่งข้อมูลไปยังทีมงานของรายการเพื่อทำการเฉลยคำตอบได้
  5. บุคคลที่เป็นปรัศนีย์จะเป็นผู้กล่าวเฉลยเองผ่านไมโครโฟน
  6. ในระหว่างนั้นพิธีกรหลักจะเชิญคู่บุคคลที่เป็นปรัศนีย์คู่ดังกล่าวที่ด้านล่างเวที เพื่อสัมภาษณ์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของพวกเขาทั้งคู่ด้วย โดยรับฟังเรื่องราวต่าง ๆ ร่วมกับผู้เข้าแข่งขัน ทั้งนี้ เช่นเดียวกันกับในรอบแจ็คพอตด้วย
  7. แต่เดิมนั้น ในการออกอากาศ 3 ตอนแรก จะมีเหลืออยู่เพียง 12 คน

อ้างอิง

[แก้]
  1. Ryan Watson (21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561). "Global nets ask Couple or Not?". c21media.net (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  2. 2.0 2.1 เซ้นส์ เอนเตอร์เทนเมนท์ (17 กรกฎาคม พ.ศ. 2561). "ช่อง 33 ส่งรายการใหม่ "Couple or Not? คู่ไหน…ใช่เลย" นุ้ย - ต้นหอม แท็กทีม!! จับคู่สืบหาคู่รักตัวจริง!!". zense.co.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-12. สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help) เก็บถาวร 2020-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]