คู่คูเปอร์
คู่คูเปอร์ (Cooper pair) กลไกของการเกิดสภาพนำยวดยิ่งเกิดจากการดึงดูดกันของอิเล็กตรอนสองตัวภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสม โดยอันตรกิริยาแบบดึงดูดระหว่างอิเล็กตรอนสองตัวภายในตัวนำยวดยิ่ง อาศัยโฟนอนเป็นสื่อกลางในการจับคู่อิเล็กตรอน โดยอิเล็กตรอนที่สามารถจะจับคู่กันได้จะต้องมีโมเมนตัมและสปินตรงข้ามกัน ในฟิสิกส์สสารอัดแน่น (condensed matter physics) [1], คู่คูเปอร์หรือคู่ BCS คือคู่ของอิเล็กตรอน (หรือเฟอร์มิออนอื่น ๆ ) ที่ถูกยึดเหนี่ยวเข้าด้วยกันที่อุณหภูมิต่ำในลักษณะที่มีความแน่นอน ผู้ที่ได้อธิบายในเรื่องนี้ไว้เป็นคนแรกในปี ค.ศ. 1956 โดยนักฟิสิกส์ชาวอเมริกันชื่อ ลีออน คูเปอร์ (Leon Cooper) [2] คูเปอร์แสดงให้เห็นว่าการดึงดูดขนาดเล็กโดยพลการระหว่างอิเล็กตรอนในโลหะสามารถก่อให้เกิดสถานะจับคู่ของอิเล็กตรอนที่มีพลังงานต่ำกว่าระดับพลังงานแฟร์มี
ความเป็นมาคู่คูเปอร์
[แก้]จากการทดลองพบปรากฏการณ์ไอโซโทป (Isotope effect) ที่อุณหภูมิวิกฤต โดยจะมีค่าแปรผันกับมวลของไอโซโทปที่เป็นโครงสร้างของแลตทิซและไอออนของแลตทิซ ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับความถี่การสั่นของแลตทิซด้วย ดังนั้นกลไกหลักของการเกิดสภาพนำยวดยิ่ง จึงไม่ได้เกิดจากอิเล็กตรอนแต่เพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีอิทธิพลของการสั่นของแลตทิซหรือโฟนอนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ทำให้เกิดเเนวความคิดที่ให้โฟนอนเป็นตัวกลางทำให้อิเล็กตรอนสองอนุภาคอยู่ใกล้กันเข้ามาดึงดูดกันในช่วงเวลาสั้น ๆ ได้ โดยขนาดของแรงดึงดูดนี้จะมีขนาดมากกว่าแรงผลักคูลอมบ์
โดยอิเล็กตรอนโมเมนตัม ปล่อยโฟนอนที่มีโมเมนตัมขนาด เหลือโมเมนตัมขนาด ดังนั้น และโฟนอนถูกดูดกลืนโดยอิเล็กตรอนอีกอนุภาคที่มีโมเมนตัม ทำให้ได้โมเมนตัม ใหม่เป็น โดย ของกระบวนการดังกล่าว จะให้แอมพลิจูดของการกระเจิงมีค่าเป็นลบ (แบบดึงดูดกัน) เมื่อ โดย เป็นความถี่ของการสั่นของแลตทิซ และเมื่ออันตรกิริยาไม่ขึ้นกับค่า ใน S - state จึงอาจกล่าวได้ว่าอันตรกริยาแบบดึงดูดกันของอิเล็กตรอนสองอนุภาคแบบนี้สามารถเกิดขึ้นได้เมื่ออิเล็กตรอนมีพลังงานในช่วงแคบ ๆ ใกล้กับผิวเฟอร์มิเท่านั้น
แม้ว่าคูเปอร์จะพบว่าอิเล็กตรอนสองอนุภาคสามารถดึงดูดกันได้โดยอาศัยโฟนอนเป็นตัวกลาง แต่อันตรกริยาที่เกิดขึ้นจะไม่รุนแรงเพียงพอทำให้เกิดสถานะยึดเหนี่ยว (Bound state) ได้จนกระทั่ง ในปี 1956 คูเปอร์ จึงสามารถอธิบายการเกิดสถานะยึดเหนี่ยวได้ โดยพบว่าอิเล็กตรอนที่มีพลังงานใกล้ผิวเฟอร์มิเท่านั้นที่สามารถเกิดการจับคู่โดยอาศัยโฟนอนเป็นตัวกลางแล้วเกิดสถานะยึดเหนี่ยวได้ และคู่ของอิเล็กตรอนนี้ จะมีลักษณะเป็นกึ่งอนุภาค (Quasiparticle) ที่สถานะพื้นของแต่ละคู่มีผลรวมโมเมนตัมและสปินเท่ากับศูนย์ เรียกการจับคู่แบบนี้ว่า คู่คูเปอร์ (Cooper pair)[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://wannisa126.wordpress.com/%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99/%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%82%E0%B9%87%E0%B8%87-solid/
- ↑ Cooper, Leon N. (1956). "Bound electron pairs in a degenerate Fermi gas". Physical Review. 104 (4): 1189–1190. Bibcode:1956PhRv..104.1189C. doi:10.1103/PhysRev.104.1189.
- ↑ พงษ์แก้ว อุดมสมุทรหิรัญ. (2019). ตัวนำยวดยิ่งพื้นฐาน (ปรับปรุง). พิมพ์ครั้ง 1. กรุงเทพฯ: ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.