ข้ามไปเนื้อหา

คุยเรื่องแม่แบบ:รู้ไหมว่า/2024-11-18

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แสงแลบของปรากฏการณ์ไฟของนักบุญเอลโมพาดผ่านกระจกหน้าห้องนักบิน
แสงแลบของปรากฏการณ์ไฟของนักบุญเอลโมพาดผ่านกระจกหน้าห้องนักบิน
  1. ...ไฟของนักบุญเอลโมเรืองแสงเป็นแสงสีน้ำเงินหรือสีม่วงจากไนโตรเจนและออกซิเจนในชั้นบรรยากาศของโลก โดยกลไกคล้ายกับที่ทำให้หลอดนีออนเรืองแสง --Siam2019 (คุย) 22:22, 25 กันยายน 2567 (+07) (ในภาพ)ตอบกลับ
  2. ...สำหรับผู้ที่มีอาการปวดเข่า การผ่าตัดด้วยวิธีส่องกล้อง (arthroscopic surgery) ก็ไม่ได้ทำให้ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญหรืออย่างยั่งยืน และดังนั้นจึงไม่ควรทำเกือบทุกกรณี --Tikmok (คุย) 14:34, 23 กันยายน 2567 (+07)ตอบกลับ
    สองทางเลือกครับ
    1. แก้น้อย ตัด "ก็" เพียงคำเดียว
    2. แก้ไขใหญ่ ไม่มีคำตอบที่แน่ชัด แต่มีประเด็นพึงพิจารณา (1) วิกิพีเดีย:ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบทางการแพทย์ (2) ปกติแล้ว ไม่จำเป็นต้องบอกวิธีที่ไม่ได้ผลในการรักษาโรคให้เป็นประเด็นใหญ่โต (รายงานได้ในลักษณะ negative results เพื่อประโยชน์ทางวิชาการและป้องกัน publication bias) แต่ผมเข้าใจจากบริบทว่าวิธีการ arthroscopic surgery คงเป็นความเชื่อหรือแนวปฏิบัติที่ผิดที่เคยใช้กันมา จึงต้องมีการศึกษาวิจัยและชี้แจงเพื่อปรับปรุงให้ถูกต้องและทันสมัยต่อหลักฐานและวิทยาการสมัยใหม่ (3) น้ำหนักของข้อความเหมาะสมแก่หลักฐานแล้วหรือไม่ บทความ BMJ 2017 10.1136/bmj.j1982 เพียงฉบับเดียวเอาอยู่หรือไม่ ผมดูอย่างรวดเร็วเห็นว่ามีบทความอีก 34 รายการที่อ้างอิงบทความนี้ https://app.dimensions.ai/details/publication/pub.1085379023 หากจะดูคร่าวๆ แล้วเลือกเอามาอ้างอิงเพิ่มเพื่อให้มีหลักฐานสอดรับกันก็ได้ -- โดยสรุป อาจลองให้ผู้เสนอทบทวนทั้งสองประเด็นเองแล้วปรับปรุงข้อความอีกครั้งเพื่อให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ได้ผลกระทบต่อผู้อ่านสูงสุด และรักษามาตรฐานแนวปฏิบัติของวิกิพีเดียในประเด็นข้อปฏิเสธความรับผิดชอบทางการแพทย์ / หรือจะเปลี่ยนเป็นข้อความอื่นจากบทความก้ได้
    --Taweethaも (คุย) 07:16, 24 กันยายน 2567 (+07)ตอบกลับ
    ขอบคุณครับ ที่ให้ความเห็นอย่างละเอียด
    • ...สำหรับผู้ที่มีอาการปวดเข่าเพราะเข่าเสื่อม การผ่าตัดด้วยวิธีส่องกล้อง (arthroscopic surgery) ไม่ได้ทำให้ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญหรืออย่างยั่งยืน และดังนั้นจึงไม่ควรทำเกือบทุกกรณี / ขอเปลี่ยนที่เสนอเดิมครับ อันนี้น่าจะตรงกับแหล่งอ้างอิงมากกว่า มีโอกาสผิดพลาดน้อยกว่า
    • เลือกเนื้อความนี้เพราะ sampling bias ส่วนตัวแน่นอน เพราะได้ยินคนรอบข้างบ่นเรื่องเข่าเสื่อม ในที่สุดก็จะมีการพูดถึงการผ่าตัด (ไม่ค่อยได้พูดเรื่องวิธีการรักษา/รายละเอียดอื่นๆ) ซึ่งไม่ชัดเจนว่าแพทย์ปกติเขาแนะนำอย่างเข้มแข็งว่าไม่ให้ทำหรือไม่ เห็นแนวโน้มสมัยนี้แล้วไม่ค่อยแน่ใจครับ
    • แหล่งอ้างอิงนี้ เป็นของคณะผู้เชี่ยวชาญ อ้างอิง systematic review และ RCT ซึ่งปกติเป็นหลักฐานที่ระบุว่าแน่นสุดอยู่แล้ว แต่ระบุเพิ่มในบทความแล้วครับ
    --Tikmok (คุย) 09:25, 24 กันยายน 2567 (+07)ตอบกลับ
    ตัด "และ" ออกนะครับ --Taweethaも (คุย) 10:11, 24 กันยายน 2567 (+07)ตอบกลับ
  3. ...พระเจ้ากุสตาฟที่ 3 แห่งสวีเดนเป็นประมุขแห่งรัฐที่เป็นกลางคนแรกของโลกที่ให้การรับรองสหรัฐ--Waniosa Amedestir (คุย) 12:19, 23 กันยายน 2567 (+07) (เขียนโดยผู้ใชไม่ระบุตัวตน 119.76.70.12 / ปรับปรุงขนาดบทความเป็นสองเท่าโดย Waniosa Amedestir)ตอบกลับ
    เสนอให้ใช้ข้อความอื่นจากบทความครับ เพราะว่า ข้อความนี้มีปัญหาหลายอย่าง เช่น
    • ต้องระบุข้อแม้อื่นหลายอย่างที่จะทำให้ถูกต้อง ทำให้ความเป็น "คนแรก" ของโลกค่อนข้างเจือจาง อาจไม่น่าแปลกใจ หรือน่าเคลือบแคลง
      1. ประมุขแห่งรัฐที่ประกาศตนเป็นกลางอย่างเป็นทางการของโลก
      2. ที่รับรองสหรัฐอย่างเป็นทางการ (โดยสนธิสัญญา)
    • แหล่งอ้างอิงที่ระบุแบบนี้มักจะมีต้นกำเนิดจากสวีเดน
    • ประเทศอื่นค้านได้ (เช่น โปรตุเกส) ดู en:List of countries by date of recognition of the United States
    ข้อความอื่นในบทความในปัจจุบันที่มีแหล่งอ้างอิงอาจไม่เหมาะกับ DYK เสนอให้เพิ่มเนื้อความ (เป็นกษัตริย์ที่ทรงครองราชยาวนาน) ที่นำมาใช้ได้ครับ --Tikmok (คุย) 13:40, 23 กันยายน 2567 (+07)ตอบกลับ
    ตามไปดูต้นฉบับ อ่านเจออันนี้แล้วชอบครับ It was the first time in more than a century that a Swedish king had addressed a Swedish Riksdag in its native tongue. เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง --Taweethaも (คุย) 07:24, 24 กันยายน 2567 (+07)ตอบกลับ
    ประโยคนี้ดูน่าสนใจดี แต่ลองไปดูแล้วไม่มีอ้างอิงระบุไว้ จึงไปสืบค้นดูก็ไม่เจอต้นตอ (บางเว็บก็ดูเหมือนลอกจากวิกิพีเดีย) จึงไม่แน่ใจว่าจะใส่ได้หรือไม่ Waniosa Amedestir (คุย) 19:17, 24 กันยายน 2567 (+07)ตอบกลับ
    @Waniosa Amedestir และ Taweetham: ตัวผมเองคิดว่าผ่านครับ เพราะบทความนี้ อ้างอิง/ลอกจากสารานุกรมบริแทนนิกา 1911 (สาธารณสมบัติ) ค่อนข้างมาก ถ้าไม่มีที่อื่นค้าน คงบอกไม่ได้ว่าไม่ผ่าน เรื่องอื่นจากบริแทนนิกาที่กล่าวในบทความอังกฤษที่อาจใช้ได้
    • The effort to remedy the widespread corruption that had flourished under the Hats and Caps engaged a considerable share of his time and he even found it necessary to put on trial the entire Göta Hovrätt, the superior court of justice, in Jönköping.
    • Gustav even designed and popularized a Swedish national costume (to limit foreign consumption), which was in general use among the upper classes from 1778 until his death (and it is still worn by the ladies of the court on state occasions).
    --Tikmok (คุย) 04:37, 25 กันยายน 2567 (+07)ตอบกลับ
    หลังเพิ่มข้อมูลแล้ว จึงพิจารณาเปลี่ยนเป็น "พระเจ้ากุสตาฟที่ 3 แห่งสวีเดนทรงตรัสแก่รัฐสภาสวีเดนด้วยภาษาแม่ของตนเอง ถือเป็นครั้งแรกในเวลากว่าศตวรรษที่พระมหากษัตริย์สวีเดนตรัสด้วยภาษาแม่ของพระองค์เอง" (ตามข้อเสนอของ Taweetham) หรือ "พระเจ้ากุสตาฟที่ 3 แห่งสวีเดนทรงออกแบบและเผยแพร่ชุดประจำชาติสวีเดนให้หมู่ชนชั้นสูงใช้งานเป็นการทั่วไปใน ค.ศ. 1778 จนกระทั่งพระองค์สวรรคต" (ตามข้อเสนอของ Tikmok) ถ้าของใดดูแล้วเหมาะสมกว่าก็พิจารณาได้ --Waniosa Amedestir (คุย) 13:47, 25 กันยายน 2567 (+07)ตอบกลับ
    ...พระเจ้ากุสตาฟที่ 3 แห่งสวีเดนทรงเปิดรัฐสภาแรกในสมัยของพระองค์ด้วยสุนทรพจน์ภาษาสวีเดน นับเป็นครั้งแรกในรอบกว่าศตวรรษที่กษัตริย์สวีเดนตรัสปราศรัยต่อรัฐสภาในภาษาแม่ / เสนอเป็นอันนี้เพื่อความรวบรัดและเพื่อใจความครับ --Tikmok (คุย) 15:45, 25 กันยายน 2567 (+07)ตอบกลับ
    ดูแล้ว ถือว่าได้ครับ Waniosa Amedestir (คุย) 18:11, 25 กันยายน 2567 (+07)ตอบกลับ
  4. ...หลังพรรคชนตา วิมุกติ เปรมุณะปรับตัวเข้าสู่การเมืองกระแสหลักของศรีลังกา พรรคได้ละทิ้งบางนโยบายมาร์กซิสต์ไป เช่น การยกเลิกการถือครองทรัพย์สินส่วนบุคคล --Chainwit. [ พูดคุย ] 20:03, 25 กันยายน 2567 (+07)ตอบกลับ
    ...หลังพรรค ชนตา วิมุกติ เปรมุณะ ปรับตัวเข้าสู่การเมืองกระแสหลักของศรีลังกา พรรคได้ละทิ้งนโยบายมาร์กซิสต์บางอย่างไป เช่น การยกเลิกการถือครองทรัพย์สินส่วนบุคคล / เสนอเป็นอันนี้นะครับ --Tikmok (คุย) 08:23, 26 กันยายน 2567 (+07)ตอบกลับ
  5. ...ตัวละครของเกมไพ่เอกูมิเลกาซี่ออกแบบโดยทากูยะ เองูจินักพากย์ชาวญี่ปุ่น ซึ่งยังเป็นผู้พากย์เสียงตัวละครชื่อลีเจนดารี่ ไฟนอล ไคลแม็กซ์ บอมในซีรีส์อนิเมะที่สร้างจากเกมไพ่เดียวกันนี้ด้วย (บทความโดย วณิพก) --วณิพก (คุย) 16:44, 27 กันยายน 2567 (+07)ตอบกลับ
    ...ทากูยะ เองูจิ นักพากย์ชาวญี่ปุ่น เป็นผู้ออกแบบตัวละครของเกมไพ่เอกูมิเลกาซี่ และยังเป็นผู้พากย์เสียงตัวละครชื่อลีเจนดารี่ ไฟนอล ไคลแม็กซ์ บอมในซีรีส์อนิเมะที่สร้างจากเกมไพ่เดียวกันนี้ด้วย / เสนออันนี้เป็นทางเลือกครับ เน้นบทบาทของ ทากูยะ เองูจิ ไม่ใช้กรรมวาจก Tikmok (คุย) 19:32, 27 กันยายน 2567 (+07)ตอบกลับ
    เห็นชอบกับแบบทางเลือกครับ -- วณิพก (คุย) 21:57, 27 กันยายน 2567 (+07)ตอบกลับ
  6. ...หมู่บ้านคานาในแคว้นกาลิลีถือเป็นสถานที่ที่พระเยซูทรงกระทำการอัศจรรย์ต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรกคือการเปลี่ยนน้ำให้เป็นเหล้าองุ่น (บทความโดย วณิพก) --วณิพก (คุย) 11:33, 28 กันยายน 2567 (+07)ตอบกลับ
     สำเร็จ --Taweethaも (คุย) 11:12, 29 กันยายน 2567 (+07)ตอบกลับ