ข้ามไปเนื้อหา

คุยเรื่องแม่แบบ:รู้ไหมว่า/คิว 18

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
  1. ...สำหรับผู้ที่มีอาการปวดเข่า การผ่าตัดด้วยวิธีส่องกล้อง (arthroscopic surgery) ก็ไม่ได้ทำให้ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญหรืออย่างยั่งยืน และดังนั้นจึงไม่ควรทำเกือบทุกกรณี --Tikmok (คุย) 14:34, 23 กันยายน 2567 (+07)ตอบกลับ
    สองทางเลือกครับ
    1. แก้น้อย ตัด "ก็" เพียงคำเดียว
    2. แก้ไขใหญ่ ไม่มีคำตอบที่แน่ชัด แต่มีประเด็นพึงพิจารณา (1) วิกิพีเดีย:ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบทางการแพทย์ (2) ปกติแล้ว ไม่จำเป็นต้องบอกวิธีที่ไม่ได้ผลในการรักษาโรคให้เป็นประเด็นใหญ่โต (รายงานได้ในลักษณะ negative results เพื่อประโยชน์ทางวิชาการและป้องกัน publication bias) แต่ผมเข้าใจจากบริบทว่าวิธีการ arthroscopic surgery คงเป็นความเชื่อหรือแนวปฏิบัติที่ผิดที่เคยใช้กันมา จึงต้องมีการศึกษาวิจัยและชี้แจงเพื่อปรับปรุงให้ถูกต้องและทันสมัยต่อหลักฐานและวิทยาการสมัยใหม่ (3) น้ำหนักของข้อความเหมาะสมแก่หลักฐานแล้วหรือไม่ บทความ BMJ 2017 10.1136/bmj.j1982 เพียงฉบับเดียวเอาอยู่หรือไม่ ผมดูอย่างรวดเร็วเห็นว่ามีบทความอีก 34 รายการที่อ้างอิงบทความนี้ https://app.dimensions.ai/details/publication/pub.1085379023 หากจะดูคร่าวๆ แล้วเลือกเอามาอ้างอิงเพิ่มเพื่อให้มีหลักฐานสอดรับกันก็ได้ -- โดยสรุป อาจลองให้ผู้เสนอทบทวนทั้งสองประเด็นเองแล้วปรับปรุงข้อความอีกครั้งเพื่อให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ได้ผลกระทบต่อผู้อ่านสูงสุด และรักษามาตรฐานแนวปฏิบัติของวิกิพีเดียในประเด็นข้อปฏิเสธความรับผิดชอบทางการแพทย์ / หรือจะเปลี่ยนเป็นข้อความอื่นจากบทความก้ได้
    --Taweethaも (คุย) 07:16, 24 กันยายน 2567 (+07)ตอบกลับ
    ขอบคุณครับ ที่ให้ความเห็นอย่างละเอียด
    • ...สำหรับผู้ที่มีอาการปวดเข่าเพราะเข่าเสื่อม การผ่าตัดด้วยวิธีส่องกล้อง (arthroscopic surgery) ไม่ได้ทำให้ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญหรืออย่างยั่งยืน และดังนั้นจึงไม่ควรทำเกือบทุกกรณี / ขอเปลี่ยนที่เสนอเดิมครับ อันนี้น่าจะตรงกับแหล่งอ้างอิงมากกว่า มีโอกาสผิดพลาดน้อยกว่า
    • เลือกเนื้อความนี้เพราะ sampling bias ส่วนตัวแน่นอน เพราะได้ยินคนรอบข้างบ่นเรื่องเข่าเสื่อม ในที่สุดก็จะมีการพูดถึงการผ่าตัด (ไม่ค่อยได้พูดเรื่องวิธีการรักษา/รายละเอียดอื่นๆ) ซึ่งไม่ชัดเจนว่าแพทย์ปกติเขาแนะนำอย่างเข้มแข็งว่าไม่ให้ทำหรือไม่ เห็นแนวโน้มสมัยนี้แล้วไม่ค่อยแน่ใจครับ
    • แหล่งอ้างอิงนี้ เป็นของคณะผู้เชี่ยวชาญ อ้างอิง systematic review และ RCT ซึ่งปกติเป็นหลักฐานที่ระบุว่าแน่นสุดอยู่แล้ว แต่ระบุเพิ่มในบทความแล้วครับ
    --Tikmok (คุย) 09:25, 24 กันยายน 2567 (+07)ตอบกลับ
    ตัด "และ" ออกนะครับ --Taweethaも (คุย) 10:11, 24 กันยายน 2567 (+07)ตอบกลับ