คุยเรื่องแม่แบบ:กล่องข้อมูล โรงเรียน
เพิ่มหัวข้อเนื้อหายาวเฟื้อย
[แก้]กล่องข้อมูลจากที่เป็นส่วนสรุปของหน้านั้น ตอนนี้มีเนื้อหาเต็มไปหมดเลยครับ มีแม้แต่ รอง ผอ. ที่ 5 น่าจะปรับแก้ให้มันสรุปเฉพาะที่สำคัญจริงๆ ไม่งั้นส่วนสำคัญจริงๆ ก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาที่ไม่สำคัญเต็มไปหมด และอีกอย่างรูป ผ.อ. ก็ไม่ควรจะใส่ด้วยนะครับ เพราะนอกจากจะทำให้กล่องรกไปแล้ว รูปเหล่านั้นมักจะละเมิดลิขสิทธิ์โรงเรียน --Manop | พูดคุย 23:44, 28 เมษายน 2551 (ICT)
- เพิ่มคำสั่ง collapse เป็นยังไงครับ เหมือนใน แม่แบบ taxobox -- t¸·´ ¯·.¸¸.ღp 07:28, 29 เมษายน 2551 (ICT)
วิสัชนา
[แก้]- ๑) รอง ผอ. เนื่องจากอัตราตำแหน่งนี้ขึ้นอยู่กับการกำหนดของแต่ละเขตพื้นที่การศึกษาค่ะ (ดู กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ และกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลาการทางการศึกษา) จึงไม่ทราบว่าแต่ละสถานศึกษาจะมีกันสักกี่คน เช่น บดินทรฯ มีสี่คน เตรียมฯ อาจมีสามคน จึงใส่เผื่อไว้อะึคะ แต่ถ้าคุณมานพเห็นควรลบรอง ผอ. ที่ ๕ ออกก็ลบได้เลยค่ะ
- ๒) รูป ผอ.
- ก) รูป ผอ. ปรกติจะมีในเว็บของสถานศึกษา ในกรณีที่เป็นโรงเรียนรัฐบาล ข้อมูลทั้งปวงในเว็บของโรงเรียนเรียกว่า "ข้อมูลข่าวสารของราชการ" ตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารค่ะ ซึ่งข้อมูลข่าวสารของราชการนี้ไม่เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายค่ะ
- ข) รูป ผอ. ไม่ได้บังคับให้ใส่นะ (ใครจะไปบังคับมนุษย์ได้) แค่ยกตัวอย่างไว้เฉย ๆ ค่ะ
- ๓) ความรกของกล่อง มันก็รกนะถ้ามีข้่อมูลทุกประการตามนั้นน่ะ แต่โดยปรกติแล้วก็ไม่มีข้อมูลทุกอย่างนินา ในแต่ละบทความบางช่องจึงมีบางช่องจึงไม่มี ทำให้ความสั้นยาวของกล่องต่างกันไป แต่โดยภาพรวมแล้วไม่น่าจะรกมากนะคะ
- ๔) หน้าเหลือง ทีแรกนึกไม่ออก อะไรหว่า "หน้าเหลือง"... อ้อ สมุดหน้าเหลืองน่ะเอง 55+ สาเหตุที่ว่า "ที่อยู่" แทน "ที่ัตั้ง" เพราะ
- ก) ในกล่องข้อมูลโรงเรียนภาคภาษาอังกฤษก็ว่าอย่างนั้นนะคะ แล้วก็มีข้อมูลที่อยู่อย่างนั้นด้วยค่ะ
- ข) สารานุกรมเป็นเล่มของฝรั่งเช่นบริเตนนิกาก็มีข้อมูลที่อยู่นะคะ
- ๕) ปฏิมา เปลี่ยนทางไปหน้า พระพุทธรูป ดีกว่าค่ะ เพราะปฏิมาเป็นคำเรียกพระพุทธรูปอย่างเป็นทางการค่ะ "พุทธปฏิมา" หรือ "พุทธปฏิมากร" ก็เรียกค่ะ (ดู พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตฯ '๔๒)
ผู้ใดมีความคิดเห็นเป็นประการใด เชิญอภิปรายได้ ณ บัดนี้ค่ะ
——YURi | พูดคุย - ๒๙ เมษายน ๒๕๕๑, ๐๒:๒๖ นาฬืกา (GMT)
ช่องข้อมูลว่า "สัญลักษณ์"
[แก้]ที่ลบช่อง "สัญลักษณ์" ออกไปเพราะว่า
- ๑) "สัญลักษณ์" สำหรับช่องที่เพิ่มเข้ามานั้นกินความหมายกว้างมาก ไม่มีการระบุว่าจะให้หมายถึงอะไรแน่ มีแต่การยกตัวอย่างเป็นพระเกี้ยวของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา แต่ "สัญลักษณ์" นั้นกินความหมายกว้าง ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูป เพลง ดอกไม้ สัตว์ สี คำขวัญ ฯลฯ
- ๒) ซึ่งช่องดังกล่าวสร้างก็อยู่ในส่วน "สัญลักษณ์" อยู่แล้ว ทำให้ซ้ำซ้อนกัน เป็น "สัญลักษณ์ (ซึ่งไม่รู้จะหมายเอาสิ่งใดแน่) ในส่วนสัญลักษณ์" อย่างนั้นหรือคะ
- ๓) ช่องอื่น ๆ ก็มีให้ใส่อยู่แล้ว เช่น พระเกี้ยวจะใส่ในช่อง "เครื่องมงคล" ช่อง "วัตถุ" หรือช่อง "อื่น ๆ" ก็ได้ทั้งนั้น
- ๔) เหมือนกับผู้เพิ่มช่องดังกล่าวจะหมายเอาตราของโรงเรียนหรือเปล่า เพราะได้ยกตัวอย่างว่าพระเกี้ยว และตราของโรงเรียนเตรียมอุดมฯ ก็คือพระเกี้ยวอยู่แล้ว ซึ่งในช่อง "ภาพ" ก็มีไว้ใส่ตราโรงเรียนอยู่แล้ว ทำให้ซ้ำซ้อนกันอีกประการหนึ่ง
ดังนั้นจึงไม่เห็นความจำเป็นที่จะมีช่อง "สัญลักษณ์" เพิ่มขึ้นเลยค่ะ
ผู้ใดมีความเห็นเป็นประการใดเชิญอภิปรายได้ ณ บัดนี้ค่ะ
——YURi | พูดคุย - ๒๙ เมษายน ๒๕๕๑, ๐๒:๒๖ นาฬืกา (GMT)
การแก้ไขเต็มรูปแบบ
[แก้]สาเหตุที่แก้ไขรูปแบบกล่องของคุณ Thanyakij และตามที่คุณ Thanyakij เสนอว่าไม่ควรใส่ชื่อภาษาอังกฤษ แต่อย่างไรก็ดี ขอแก้่ไขทั้งหมดโดยยึดกล่องข้อมูลมหาวิทยาลัยเป็นแบบอย่างก็แล้วกันนะคะ ถ้าเห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประการใดก็ดำเนินการเลยค่ะ
——YURi | พูดคุย - ๒๙ เมษายน ๒๕๕๑, ๑๘:๑๕ นาฬืกา (GMT)
- อ๋อ.. ถ้าเช่นนั้น เดี๋ยวผมไปแก้ กล่องมหาลัย ก่อน แล้วกลับมาแก้ กล่องโรงเรียน ละกัน.. จะได้เหมือนกัน
- อนึ่ง ผมขอเหตุผลที่เหมาะสม สำหรับการใช้สีชมพูเป็นสีกล่องโรงเรียนด้วยนะครับ เพราะผมไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง
- นอกจากนี้ ผมขออนุญาตนำข้อมูลบางส่วน ซึ่งผมไม่เห็นว่าเป็นของจำเป็น เช่นต้นไม้ สิ่งศักดิ์สิทธิ์
- วันสำคัญ สัตว์สัญลักษณ์ ฯลฯ ออกจากแม่แบบโรงเรียน หากต้องการให้ใส่กรุณามาอภิปรายเพิ่มเติมได้ พร้อมเหตุผลที่เหมาะสม
- ทั้งนี้ ผมขออนุญาตย้อนทุกการแก้ไขภายหลัง ไปยังรุ่นของผม แล้วผมจะเพิ่ม field ที่เพิ่มมาภายหลัง (เช่น รหัส) ให้ครับ
- -- Lv.66i อะควากับวิศวกรรมเครื่องแกง •ไฟล์:WikiBotany tap.png 23:27, 29 เมษายน 2551 (ICT)
"ระดับ" กะ "ช่วงชั้น"
[แก้]- ๑) ระดับการศึกษา ได้แก่ ระดับประถมศึกษาตอนต้น (ป. ๑-๓), ระดับประถมศึกษาตอนปลาย (ป. ๔-๖), ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม. ๑-๓) และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม. ๔-๖) ซึ่งรวมเรียกว่าการศึกษาภาคบังคับค่ะ
- ๒) ส่วนช่วงชั้นการศึกษา ได้แก่ ช่วงชั้นที่ ๑ (ป. ๑-๓), ช่วงชั้นที่ ๒ (ป. ๔-๖), ช่วงชั้นที่ ๓ (ม. ๑-๓) และช่วงชั้นที่ ๔ (ม. ๔-๖) ซึ่งก็รวมเรียกการศึกษาภาคบังคับเช่นกันค่ะ
น่าจะระบุไปอย่างใดอย่างหนึ่งว่าจะให้ใส่ระดับหรือช่วงชั้น จึงขอแก้เป็นแต่ระดับเพราะคนส่วนใหญ่เข้าใจมากกว่าช่วงชั้นนะคะ
——YURi | พูดคุย - ๓๐ เมษายน ๒๕๕๑, ๑๓:๕๑ นาฬืกา (GMT)
ตัวแปรภาษาอังกฤษ - ไทย
[แก้]อันเก่า ตัวแปรไทย ใช้ง่ายกว่าเยอะเลย มาเปลี่ยนให้เหมือนของฝรั่งอีกแล้ว --Manop | พูดคุย 13:07, 16 มิถุนายน 2551 (ICT)