คุยเรื่องวิกิพีเดีย:คณะอนุญาโตตุลาการ/กรุ 1
หน้านี้เป็นหน้ากรุของการอภิปรายอภิปรายในอดีต อย่าแก้ไขเนื้อหาของหน้านี้ หากต้องการเริ่มการอภิปรายใหม่หรือรื้อฟื้นการอภิปรายเดิมโปรดใช้หน้าพูดคุยปัจจุบันของหน้านี้ |
กรุ 1 |
1 |
คณะอนุญาโตตุลาการหมดอายุ
ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 ได้มีการเลือกตั้งคณะอนุญาโตตุลาการขึ้นมาหนึ่งคณะประกอบด้วยสมาชิก 5 คน มีระยะเวลาในตำแหน่งอาสาสมัครดังกล่าว 2 ปี ซึ่งจะครบวาระในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556 นี้ มีคำถามปลายเปิดหลายประการที่ต้องพิจารณาดังนี้
- ผลงานที่ผ่านมาสองปีเป็นอย่างไร และควรมีอนุญาโตตุลาการแบบนี้ต่อไปหรือไม่ ควรปรับปรุงอย่างไร (ในเชิงการปฏิบัติงาน) หรือควรยุบเลิกเสีย
- หากควรมี อนุญาโตตุลาการต่อไป จะมีวิธีการได้มาซึ่งอนุญาโตตุลาการที่จะทำหน้าที่ใน พ.ศ. 2557 ต่อไปอย่างไร จะใช้กติกาเดิมเลือกตั้งใหม่ ต่ออายุ หรือใช้ผู้ดูแลระบบที่มีอายุงาน/ผลงาน เช่น จำนวนการตอบใน WP:AN จำนวนการลบ จำนวนการตรวจ ฯลฯ) ถีงระดับหนึ่งปฏิบัติหน้าที่ไปโดยอัตโนมัติ
- หากต้องดำเนินการในทางใดทางหนึ่งให้ได้มาซึ่งอนุญาโตตุลาการ ก็พึงทำให้เสร็จก่อน 1 มกราคม พ.ศ. 2557 มิฉะนั้นแล้วจะเกิดสุญญากาศและแสดงถึงความอ่อนแอไม่เป็นระบบระเบียบของชุมชน ต้องมีอาสาสมัครจำนวนหนึ่งเข้าประสานงานเป็นคนกลางในการจัดการดังกล่าว
- ผมเสนอให้อภิปรายแต่ละหัวข้อไปตามลำดับ หัวข้อละประมาณ 1 สัปดาห์ด้านล่างนี้ครับ
--Taweethaも (พูดคุย) 08:34, 3 ตุลาคม 2556 (ICT)
ผลงาน/ความจำเป็น
จากหน้า วิกิพีเดีย:การอนุญาโตตุลาการ/ดัชนี พบว่ามีผลงานดังนี้
- แต่งตั้ง ผู้ตรวจสอบผู้ใช้ 2 ครั้ง
- ระงับสิทธิ์ผู้ดูแล 2 ครั้ง
- พิจารณาข้อพิพาท 1 เรื่อง
- กรณีศึกษา 2 เรื่อง/การจัดการภายในเกี่ยวกับการรายงานตัวและนายทะเบียน 3 เรื่อง
ทั้งหมดเป็นเรื่องวิกิพีเดียภาษาไทยทั้งสิ้น (ไม่ได้รับคำร้องขอจากโครงการพี่น้องให้ช่วยเหลือแต่อย่างใด) เห็นว่ากิจกรรมที่ทำมีปริมาณน้อย แต่ต้นทุนของการมีคณะอนุญาโตตุลาการ ตั้งแต่การเลือกตั้ง รับรอง ไม่ใช่น้อยทีเดียว อย่างไรก็ดี คณะอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นสิ่งที่มาพร้อมกับผู้ตรวจสอบผู้ใช้ หากคิดว่าจะยุบเสียเพื่อประหยัดเวลาไปทำอย่างอื่น ก็จะสูญเสียความสามารถเกี่ยวกับผู้ตรวจสอบผู้ใช้ไป ซึ่งต้องช่วยกันชั่งน้ำหนักตรงนี้ให้ดี
ข้อเสนอเพิ่มเติม หากจะมีคณะอนุญาโตตุลาการต่อไป
- อาจจะให้อนุญาโตตุลาการมีสิทธิ์เป็นผู้ดูแลด้วยโดยอัตโนมัติและหมดสิทธิ์นั้นไปเมื่อลงจากตำแหน่ง (เพราะว่าใน WP:AN ไม่ได้รับการรับตอบที่รวดเร็วเท่าที่ควร และเป็นการใช้อนุญาโตตุลาการให้เป็นประโยชน์ คุ้มค่ากับที่ต้องเสียเวลาเลือกมา) ส่วนผู้ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ดูแลอยู่แล้วหรือได้รับเลือกเป็นผู้ดูแลขณะดำรงตำแหน่งอนุญาโตตุลาการไม่ได้รับผลกระทบจากการได้สิทธิในส่วนนี้
- ให้โครงการพี่น้อง (ในภาษาไทย) มีสิทธิเลือกด้วยและยอมรับผูกพันกับคณะอนุญาโตตุลาการนี้ไปจนกว่าจะเติบโตไปมีคณะอนุญาโตตุลาการของตนเอง
--Taweethaも (พูดคุย) 08:48, 3 ตุลาคม 2556 (ICT)
หากจะกล่าวถึงความจำเป็น ก็คิดว่ามีความจำเป็นในระดับหนึ่งครับ เมื่อเกิดข้อพิพาท ย่อมจะเห็นถึงความสำคัญ ในการหาทางออก แต่เมื่อพิจารณาแล้วว่าที่ผ่านๆ มา ได้มีการใช้ประโยชน์จากคณะอนุญาโตตุลาการมากน้อยเพียงใด และจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องใช้เครื่องมือนี้ ในทัศนะส่วนตัวยังคงเห็นว่าจำเป็นครับ --Pongsak ksm (พูดคุย) 00:50, 10 ตุลาคม 2556 (ICT)
วิธีการได้มา
ส่วนตัวเห็นว่าการเลือกตั้งแบบเดิมนั้นดีอยู่แล้ว โปร่งใสและทำให้ผู้ใช้งานเชื่อมั่นในคำตัดสิน ไม่ควรให้ตำแหน่งนี้เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติโดยพ่วงกับตำแหน่งอื่นอย่างตำแหน่งผู้ดูแล --Tinuviel | talk 11:22, 3 ตุลาคม 2556 (ICT)
- ไม่ว่าจะเป็นผู้ดูแลก่อนแล้วมาเป็น คอต. หรือเป็น คอต. มาก่อนแล้วเป็นผู้ดูแล หรือผู้ที่ได้สิทธิ CU เห็นว่า สิทธิแต่ละอย่างไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกัน เกิดขึ้นเป็นเอกเทศ หากพ่วงกันไปโดยอัตโนมัติ ชาวบ้านจะครหาว่าฮั้วกัน
- เกี่ยวกับเรื่องคนเดิมหมดอายุ ไม่เสนอให้ต่ออายุ (ไม่ต้องมีรักษาการ เพราะคดีไม่ได้ถี่มาก) ให้เลือกตั้งใหม่ตามกติกา ทั้งนี้จะเสนอคนเดิมหรือคนใหม่ก็ได้ และเราอาจจะเลือกตั้งก่อนหรือหลังก็ได้ (กรณีก่อน คือ 30 วัน)
--奥虎 ボンド 11:25, 3 ตุลาคม 2556 (ICT)
- "ให้โครงการพี่น้อง (ในภาษาไทย) มีสิทธิเลือกด้วยและยอมรับผูกพันกับคณะอนุญาโตตุลาการนี้ไปจนกว่าจะเติบโตไปมีคณะอนุญาโตตุลาการของตนเอง" ถ้าให้ไปจัดการเลือกตั้งในโครงการพี่น้องต่างหาก ก็เห็นด้วย แต่ถ้าให้วิกิพีเดียภาษาไทยเลือกตั้งแล้วผูกพันโครงการพี่น้องด้วย ไม่เห็นด้วย (และทำไม่ได้อยู่แล้ว)
- ไม่เห็นด้วยกับการให้สมาชิก คอต. ได้สิทธิผู้ดูแลระบบโดยอัตโนมัติ เพราะเป็นคนละเรื่องกัน เหมือนกับว่า ผู้ใดได้รับแต่งตั้งเป็นตุลาการแล้ว ให้เป็นตำรวจด้วยโดยอัตโนมัติ เพราะคุณสมบัติและความเหมาะสมในการเป็นสมาชิก คอต. และผู้ดูแลระบบต่างกันและควรพิจารณาแยกกัน วัตถุประสงค์ในการเลือกตั้งก็ต่างกัน ที่เลือกผู้ดูแลระบบเพราะต้องการผู้ดูแลระบบ ไม่ได้ต้องการผู้วินิจฉัยข้อพิพาท เป็นต้น ทั้งนี้ ไม่เป็นไรถ้าผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิก คอต. อยู่แล้วจะได้รับเลือกเป็นผู้ดูแลระบบอีกตำแหน่งในภายหลัง หรือกลับกัน (เพราะถ้ามีการขัดกันของผลประโยชน์หรืออาจกระทบต่อความไม่เป็นธรรมในปฏิบัติหน้าที่ สมาชิก คอต. ก็ถอนตัวหรือถูกคัดค้านได้อยู่แล้ว)
- เรื่องต่ออายุ เห็นว่าไม่จำเป็น (เช่น วาระหมดลง แล้วลงคะแนนเสียงว่า ให้อยู่ต่ออีกหนึ่งปีหรือหนึ่งวาระ) เพราะไม่ต่างอะไรกับเลือกตั้งใหม่ เลือกตั้งใหม่เสียทีเดียวเลยจะดีกว่า
- ในโอกาสนี้ เสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมนโยบายตามตารางท้ายนี้
- --Aristitleism (พูดคุย) 13:55, 3 ตุลาคม 2556 (ICT)
ข้อความเดิม | ข้อความใหม่ | เหตุผล |
---|---|---|
ข้อ 3 เงื่อนไขการเป็นผู้สมัคร
|
ข้อ 3 เงื่อนไขการเป็นผู้สมัคร
|
แก้ไขตามวิกิฯ อังกฤษ และปรับปรุงข้อความ |
ข้อ 4 การดำรงตำแหน่ง
วาระดำรงตำแหน่งของตุลาการคนหนึ่ง ๆ ย่อมเริ่มต้นทันทีที่ได้รับเลือกตั้ง ในกรณีเช่นนี้ เขาย่อมเข้าทำคดีได้โดยพลัน |
ข้อ 4 การดำรงตำแหน่ง
วาระดำรงตำแหน่งตุลาการเริ่มต้นทันทีที่ได้รับแต่งตั้งโดยผู้มีสิทธิแต่งตั้ง |
แก้ไขตามข้อเท็จจริง |
ข้อ 9 เหตุพ้นจากตำแหน่ง
|
ข้อ 9 เหตุพ้นจากตำแหน่ง
ตุลาการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
|
เอาเรื่องที่ไม่จำเป็นออก |
ข้อ 10 การพักหน้าที่
เมื่อมีเหตุตามข้อ 9 วรรค 1 อนุวรรค 3 คอต. โดยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของตุลาการทั้งหมดที่มีอยู่ จะสั่งให้ตุลาการผู้นั้นพักหน้าที่แทนก็ได้ |
ข้อ 10 การพักหน้าที่
(ยกเลิก)
|
เป็นผลมาจากการแก้ไขข้อ 9 |
ข้อ 11 บทเบ็ดเตล็ด
|
ข้อ 11 การพ้นจากตำแหน่ง
|
แก้หัวข้อ เอาข้อความเดิมบางส่วนจากข้อ 9 มาใส่ และเพิ่มข้อความใหม่เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ระหว่างเลือกตั้ง |
ข้อ 12 เขตของ คอต.
|
ข้อ 12 เขตของ คอต.
คอต. มีเขตในวิกิพีเดียภาษาไทย แต่ไม่ห้าม คอต. ที่จะพิเคราะห์เรื่องราวทั้งหลายที่เกิดนอกเขตของตน เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาและวินิจฉัยตามอำนาจของตนได้ แต่เรื่องราวดังกล่าวนี้ต้องมีหรือน่าจะมีผลกระทบต่อวิกิพีเดียภาษาไทยหรือผู้ใช้โดยรวมด้วย |
คอต. วิกิฯ ไทยไม่สามารถมีอำนาจในโครงการอื่นได้ ตราบที่สมาชิกโครงการอื่นไม่ได้เลือกด้วย |
ข้อ 13 อำนาจพิจารณาและวินิจฉัยของ คอต.
|
ข้อ 13 อำนาจพิจารณาและวินิจฉัยของ คอต.
|
ปรับปรุงข้อความ |
ข้อ 16 ระเบียบว่าด้วยวิธีพิจารณา
คอต. จะตรา และแก้ไขเพิ่มเติม ระเบียบว่าด้วยวิธีพิจารณา โดยไม่ขัดหรือแย้งกับนโยบายนี้ก็ได้ |
ข้อ 16 ระเบียบว่าด้วยวิธีพิจารณา
คอต. จะวางและแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบว่าด้วยวิธีพิจารณาโดยไม่ขัดหรือแย้งกับนโยบายนี้ก็ได้ |
ปรับปรุงข้อความ |
ข้อ 27 รูปแบบคำวินิจฉัย
|
ข้อ 27 รูปแบบคำวินิจฉัย
คำวินิจฉัยของ คอต. นั้น ปรกติแล้วควร
|
แก้ไขตามวิกิฯ อังกฤษ |
ข้อ 34 การแก้ไขเพิ่มเติมนโยบายนี้
|
ข้อ 34 การแก้ไขเพิ่มเติมนโยบายนี้
|
- วรรค 1 คงเดิม - วรรค 2 เปิดให้ผู้ใช้กี่คนก็เสนอแก้ไขนโยบายได้ เพราะวิกิฯ ไทยไม่ได้มีผู้ใช้ประจำมากเท่าวิกิฯ อังกฤษ ไหนจะต้องล่ารายชื่อ อภิปราย แล้วลงคะแนนอีกชั้นหนึ่ง เป็นการสร้างขั้นตอนเกินจำเป็น |
- ผมค่อนข้างสนับสนุน ArbCom ในฐานะว่าเป็น last resort ของการระงับข้อพิพาท แต่เนื่องจากโดยลักษณะของข้อพิพาทมักจะจบไปในระดับระหว่างผู้ใช้กันเองหรือใน venue ที่เกี่ยวข้อง หรือถ้าไม่เช่นนั้นอาจเป็นเพราะผู้ใช้ไม่ทราบหรือไม่ประสงค์จะดำเนินกระบวนพิจารณาที่ซับซ้อน จึงอาจมีความรู้สึกว่า ArbCom ไม่ได้อยู่ในฐานะที่ควรจะเป็นในฐานะผู้ระงับข้อพิพาท อย่างไรก็ดีเนื่องจากตัว ArbCom ไม่ได้ทำหน้าที่ระงับข้อพิพาทระหว่างผู้ใช้แต่ยังมีอำนาจที่เกี่ยวกับการดูแลวิกิพีเดียบางประการเช่นการให้เครื่องมือ CheckUser (Oversight น่าจะไม่จำเป็นเพราะผู้ดูแลมี RevDel และผมเชื่อว่าผู้ดูแลจะไม่ abuse เครื่องมือนี้) และการตรวจสอบการกระทำของผู้ดูแล จึงเห็นว่าแม้อาจไม่ได้มีข้อพิพาทที่จะถึงระดับนี้มาก แต่ควรจะยังมีผู้ใช้ที่มีประสบการณ์และออก decision ในข้อพิพาทที่ยากจะหาข้อยุติอยู่ด้วยอันจะเป็นการประกันว่าจะได้มีคำตัดสินที่สมเหตุสมผลต่อทุกฝ่าย
- ส่วนอื่น ๆ ผมเห็นพ้องกับทั้งสามท่านครับ ส่วนเรื่องร่างนโยบายแก้ไขของคุณอริสไตเติลฯ (ถ้าจะใช้) อาจต้องยกยอดไปรวมใน Election เพื่อให้สัตยาบันไปพร้อมกัน --∫G′(∞)dx 19:30, 3 ตุลาคม 2556 (ICT)
- เห็นด้วยกับคุณ Aristitleism ในส่วนที่ต้องการแก้ไข - ต้องพิจารณาต่อว่าจะแก้ไก่อนเลือกหรือเลือกพร้อมแก้ ผมเห็นด้วยตามคุณ G(x) ให้ยกยอดรวมกันไปเพื่อประหยัดเวลาและทรัพยากร --Taweethaも (พูดคุย) 19:44, 3 ตุลาคม 2556 (ICT)
- เข้าใจข้อทักท้วงเรื่องผู้ดูแลระบบ+อนุญาโตตุลาการ และแปลกใจที่ไม่มีใครบ่นว่าอนุญาโตตุลาการมีผลงานน้อย ถ้าไม่มีใครว่าผลงานน้อย ผมก็ไม่ซีเรียสเรื่องข้อเสนอพ่วงสิทธิผู้ดูแล ที่หาอะไรมาพ่วงเพื่อต้องการให้ทำงานให้คุ้มค่าแรงเหนื่อยที่เลือกมาเท่านั้น --Taweethaも (พูดคุย) 19:44, 3 ตุลาคม 2556 (ICT)
ผมขอเสนอให้อนุญาตโตตุลาการเป็นที่พึ่งสุดท้ายจริง ๆ หมายความว่า คู่ความควรใช้การระงับข้อพิพาทในระดับต่าง ๆ เป็นลำดับ ไม่ใช่กระโดดข้ามขั้นมา จึงเสนอให้อนุญาโตตุลาการดูแลเรื่องการเข้ามาเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทด้วย โดยอาจจะให้ตุลาการ 1 หรือ 2 คน หรือจะให้คนนอกรับหน้าที่เป็นตัวกลาง เมื่อทำดังนี้แล้ว ตุลาการก็คงมีผลงานเพิ่มขึ้นไปด้วยครับ --Horus | พูดคุย 15:17, 6 ตุลาคม 2556 (ICT)
การเลือกตั้ง
เสนอว่าให้ผู้สมัครเสนอชื่อตนเองในเดือนพฤศจิกายน และเปิดลงคะแนนในเดือนธันวาคม แต่ก่อนจะจัดได้จำต้องมีอาสาสมัครอย่างน้อย 2-3 คน ในการประสานงานเป็นกรรมการการเลือกตั้ง จึงขอให้ท่านที่สนใจเป็นกรรมการมาลงชื่อเอาไว้ได้ ภายในเดือนตุลาคม เปิดรับผู้สมัครถึงเดือนพฤศจิกายน และเลือกตั้งตลอดเดือนธันวาคม --Taweethaも (พูดคุย) 07:57, 9 ตุลาคม 2556 (ICT)
- ลงชื่ออาสาสมัครกรรมการเลือกตั้ง
- Taweethaも - อดีต คอต. จะไม่ลงรับเลือกต่อ -- 23:12, 16 ตุลาคม 2556 (ICT)
- ในฐานะเป็นผู้ควบคุม de facto เดิม น่าจะช่วยได้อยู่ครับ --∫G′(∞)dx 19:17, 22 ตุลาคม 2556 (ICT)
- pongsak_ksm - อดีต คอต. ไม่ประสงค์จะลงสมัครต่อ --Pongsak ksm (พูดคุย) 10:30, 4 พฤศจิกายน 2556 (ICT)
- Tmd - อดีต คอต. ไม่ประสงค์จะลงสมัครต่อ --ผู้ใช้Tmd | พูดคุย 00:07, 5 พฤศจิกายน 2556 (ICT)
(เริ่มประกาศหาผู้สมัครใน sitenotice 1 พ.ย. - 30 พ.ย.)
- ลงชื่อผู้สมัคร
- ต้องบรรลุนิติภาวะ
- ต้องกรอกข้อความที่ วิกิพีเดีย:การเลือกตั้งคณะอนุญาโตตุลาการ ธันวาคม 2556/ผู้สมัคร ก่อน 1 ธ.ค. 2556 (ตามเวลาในประเทศไทย)
- B20180 - ได้รับการทาบทามจากสมาชิกท่านหนึ่ง --B20180 (พูดคุย) 11:42, 9 พฤศจิกายน 2556 (ICT)
- Octahedron80 --奥虎 ボンド 10:57, 20 พฤศจิกายน 2556 (ICT)
- Tinuviel 14:23, 21 พฤศจิกายน 2556 (ICT)
- การเลือกตั้ง
(จะจัดทำหน้าพิเศษสำหรับการเลือกตั้ง - ประกาศประชาสัมพันธ์การเลือกตั้ง 1 ธ.ค. - 31 ธ.ค.)
- ประชามติแก้ไขนโยบายทำในลักษณะเดียวกัน คือ เสนอข้อความปรับปรุงระหว่าง พ.ย. ลงคะแนนในเดือน ธ.ค. และรับรองให้ใช้ได้ในเดือน ม.ค.
- ดูนโยบายปัจจุบันที่ วิกิพีเดีย:การอนุญาโตตุลาการ/นโยบาย
- ข้อเสนอของคุณ Aristitleism มีข้อความชัดเจนแล้วดังตารางข้างต้น ซึ่งเป็นการแก้ไขทั่วไป
- ข้อเสนอโดย Taweethaも จำเพาะกับ คอต. วิกิพีเดียภาษาไทย ว่าด้วยการร่วมมือกับโครงการพี่น้องด้วยวิธีรวมประชาคมด้วยความสมัครใจ
- ข้อ 1 บทวิเคราะห์ศัพท์ เดิมระบุว่า "ประชาคม" หมายถึง ประชาคมวิกิพีเดียภาษาไทย อันประกอบด้วยผู้ใช้ทั้งปวง ขอแก้ไขเป็น "ประชาคม" หมายถึง ประชาคมวิกิพีเดียภาษาไทย อันประกอบด้วยผู้ใช้ทั้งปวง รวมถึงโครงการพี่น้องที่มีมติชุมชนยินดีเข้าร่วมกระบวนการอนุญาโตตุลาการกับประชาคมวิกิพีเดียภาษาไทยและคณะอนุญาโตตุลาการได้มีมติรับรองประชาคมโครงการพี่น้องนั้นเข้าไว้ในความดูแล ประชาคมโครงการพี่น้องมีสภาพการเป็นประชาคมในนโยบายคณะอนุญาโตตุลาการทันทีเมื่อทั้งคณะอนุญาโตตุลาการและประชาคมโครงการพี่น้องได้มีมติรับรอง ในขณะที่ประชาคมโครงการพี่น้องอาจสิ้นสภาพการพเป็นประชาคมในนโยบายคณะอนุญาโตตุลาการนี้ได้ทันทีเมื่อคณะอนุญาโตตุลาการหรือประชาคมโครงการพี่น้องนั้นมีมติเพิกถอน
- ข้อ 12 ตามร่างแก้ไของคุณ Aristitleism แก้ วิกิพีเดียภาษาไทย เป็น ประชาคม
- ข้อเสนอโดย Taweethaも จำเพาะกับ คอต. วิกิพีเดียภาษาไทย ว่าด้วยสิทธิผู้ดูแล - ให้ใช้ในการบริหารจัดการหน้าที่เกี่ยวข้องกับธุรการของอนุญาโตตุลาการ (ซึ่งมักมีผู้อื่นเข้ามาเขียน และล็อคไม่ได้เพราะ คอต. ไม่มีสิทธิผู้ดูแล) รวมถึงใช้ดูหน้าที่ถูกลบไปแล้ว ดูรายการที่ซ่อนไว้ ซึ่งจำเป็นต่อกระบวนพิจารณาและอาจต้องรักษาเป็นความลับ (ผมลดสิทธิลงจากข้อเสนอเดิมที่ให้เป็นผู้ดูแลเต็มตัว ซึ่งส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย - ข้อเสนอนี้เป็นกรอบกว้างๆ ยังไม่มีผลจนกว่าประชาคมวิกิพีเดียภาษาไทยหรือประชาคมอื่นๆ จะมีนโยบายจำเพาะไป ซึ่งเอาเป็นไปได้ว่าจะเห็นสิทธิจำเพาะคดีก็ได้)
- ข้อ 4 เพิ่มหัวข้อย่อยที่ 2. หากมีนโยบายของประชาคมวิกิพีเดียไทยหรือประชาคมโครงการพี่น้องรองรับ อนุญาโตตุลาการอาจได้รับสิทธิเป็นผู้ดูแลระบบโครงการนั้นด้วยก็ได้ แต่ทั้งนี้จำกัดเฉพาะระหว่างดำรงตำแหน่งหรือระหว่างพิจารณาข้อหาหรือคำขอ และให้ใช้เพื่อการดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการโดยเคร่งครัดเท่านั้น
- ข้อเสนอของคุณ Horus ว่าด้วยการไกล่เกลี่ยโดยตุลาการ
- ข้อ 4 เพิ่มหัวข้อย่อยที่ 3. ตุลาการหรือคณะตุลาการอาจทำการไกล่เกลี่ย พูดคุย หรือประสานงานเพื่อระงับข้อพิพาท หรือสร้างความเข้าใจอันดีกันในประชาคมในนามส่วนตนก็ได้ ทั้งนี้การที่กระทำไปทั้งปวงในข้อจะไม่ผูกพันต่อ คอต.
- ขอเสริมว่า การทำหน้าที่ดังกล่าวอาจไม่ใช่ในฐานะตุลาการก็ได้ (เพราะไม่ได้พกอำนาจมาด้วย) เพียงแต่ว่า อาศัยความที่เป็นผู้ใช้ที่เป็นที่ยอมรับมาช่วยเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ยข้อพิพาทให้ ที่ผมเสนอ เพราะก่อนที่จะมาพึ่ง คอต. จะได้มีขั้นตอนระหว่างทาง และไม่รู้จะหาตัวกลางที่ไหนก็เลยเสนอให้ผู้ดำรงตำแหน่งตุลาการช่วยดูแลตรงนี้ และหากข้อพิพาทยังไม่ยุติ จะได้แนะนำให้ทั้งสองร้องต่อ คอต. ต่อไปด้วย --Horus | พูดคุย 18:47, 4 พฤศจิกายน 2556 (ICT)
- ระเบียบเดิมไม่ได้บอกว่าต้องมีอย่างน้อยกี่คน? ครั้งก่อนตั้งไว้ลอย ๆ ว่า 5 คนแต่ไม่มีในนโยบาย ผมเสนอว่า คอต. 1 คนต่อบัญชีผู้ใช้ 30,000 คน ไม่นับเศษ (ซึ่งปัจจุบันจะได้ 6 คน; เสนออัตราใหม่ได้ครับ) ถ้าผู้สมัครยังไม่ครบก็คงต้องขยายเวลาออกไป --奥虎 ボンド 16:15, 4 พฤศจิกายน 2556 (ICT)
- น่าจะเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมข้อความในข้อ 2 การเลือกตั้งตุลาการ ผมเสนอว่าให้ยึดตาม พิเศษ:สถิติ และถือเอาสมาชิกที่มีความเคลื่อนไหว 200 คนต่อตุลาการ 1 คน (ซึ่งจะได้ 5 พอดีในปัจจุบัน) และควรกำหนดว่าจำนวนไม่เกิน ไม่ใช่ว่าจะบังคับเอาให้ได้ครบทุกการเลือกตั้ง - แต่อาจจัดให้มีการเลือกตั้งทุกปีหมุนเวียนกันไป จะได้มีคนใหม่กับคนเก่าอยู่สลับกันไป (เปิดโอกาสให้คนใหม่ไฟแรงไม่ต้องรอถึงสองปี) --Taweethaも (พูดคุย) 16:53, 4 พฤศจิกายน 2556 (ICT)
- สมาชิกมีความเคลื่อนไหวในหน้า พิเศษ:สถิติ เขียนว่า 1051 บัญชี แต่ถ้าดูจาก http://stats.wikimedia.org/EN/TablesWikipediaTH.htm จะเห็นว่าผู้ที่เขียนบทความจริงๆ มีเพียง 895 บัญชี (แก้ไขบทความมากว่า 1 ครั้งในเดือน ก.ย.) ถ้าเปลี่ยนเกณฑ์เป็นกว่า 5 ครั้ง จะได้ 307 บัญชี จึงเสนอแนวทางที่สองว่า 100 บัญชีที่แก้ไขมากกว่า 5 ครั้ง ต่อตุลาการหนึ่งคน และให้เลือกทุกปี แต่ตุลาการมีอายุ 2 ปี ตามเดิม --Taweethaも (พูดคุย) 11:08, 9 พฤศจิกายน 2556 (ICT)
- สรุปข้อเสนอนี้เป็นว่าใน "ข้อ 2 การเลือกตั้งตุลาการ" เพิ่มข้อสุดท้าย ในการเลือกตั้งประจำปีครั้งหนึ่ง ไม่จำกัดจำนวนผู้ลงสมัคร แต่จำกัดจำนวนตำแหน่งตุลาการที่ผ่านการรับเลือกไว้ในอัตราตุลาการใหม่ 1 คน ต่อผู้ใช้ที่แก้ไขกว่าห้าคครั้งต่อเดือน 100 คน การคำนวณนี้หากมีเศษให้ปัดขั้นเป็นจำนวนเต็มได้และใช้จำนวนผู้ใช้จากเดือนที่มีการเลือกตั้งเป็นสำคัญ --Taweethaも (พูดคุย) 22:10, 21 พฤศจิกายน 2556 (ICT)
- เรื่องอื่นๆ ของ WMTH
- ขอมติในการตั้งชื่อโครงการ Wikivoyage เสียใหม่ว่า วิกิเดินทาง รวมถึงรับรองโลโก้ใหม่ไปพร้อมกัน m:Wikimedians in Thailand/Wikivoyage --Taweethaも (พูดคุย) 21:40, 8 พฤศจิกายน 2556 (ICT)
- หากเป็นไปได้ช่วยขึ้นประกาศไว้บนวิกิพีเดียด้วยครับ --Sasakubo1717 (พูดคุย) 22:44, 16 พฤศจิกายน 2556 (ICT)
- ลงชื่อสนับสนุน m:Requests_for_new_languages/Wikivoyage_Thai การจัดตั้ง wikivoyage ภาษาไทย --Taweethaも (พูดคุย) 22:07, 8 พฤศจิกายน 2556 (ICT)
- ขออาสาสมัครจัดงาน WLM 2014 ในปีหน้า (รวมถึงหาผู้ประสานงานคนใหม่) --Taweethaも (พูดคุย) 11:28, 11 พฤศจิกายน 2556 (ICT)
- การรับรองและการดำรงตำแหน่ง
ตั้งแต่ 1 ม.ค. เป็นต้นไป
ข้อสังเกตพิเศษในการเลือกตั้ง 2556
ตอนนี้ผมได้ร่างหน้าทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการสมัครแล้วครับ ข้อความส่วนใหญ่ลอกจากตอนปี 2554 เกือบทั้งหมด (ดูความเรียบร้อยใน หมวดหมู่:การเลือกตั้งคณะอนุญาโตตุลาการวิกิพีเดีย ธันวาคม 2556) แต่ในที่นี้ขอตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า
- ผมลอกคำถามทั่วไปมาเกือบทั้งหมด (วิกิพีเดีย:การเลือกตั้งคณะอนุญาโตตุลาการวิกิพีเดีย ธันวาคม 2556/คำถาม/ทั่วไป) ไม่ทราบว่าทุกท่านเห็นว่าควรปรับเปลี่ยนคำถามอย่างไรไหมครับ เพราะไหน ๆ เราก็มีนโยบายเรื่องนี้มาสองปีแล้ว
- ผมยังไม่ได้ขึ้นเรื่องการแก้ไขนโยบายไว้เนื่องจากจะรอให้ทุกท่านเสนอร่างแก้ไขให้เรียบร้อยก่อน อย่างไรก็ดี ผมยังไม่แน่ใจว่าการแก้ไขนโยบายควรจะแยกหรือรวมกับการเลือกผู้สมัคร (เป็นต้นว่าอาจเลือกเอาว่าจะเลือกผู้สมัครหรือแก้ไขนโยบายอย่างเดียว หรือทั้งสองอย่างก็ได้) และควรจะให้ใช้ requirement เดียวกับการเลือกผู้สมัครหรือไม่ จึงขอความเห็นไว้ ณ ที่นี้ครับ
--∫G′(∞)dx 20:26, 4 พฤศจิกายน 2556 (ICT)
- รู้สึกว่าคำถามค่อยข้างเยอะ/ยาว แต่ก็พอใช้ได้ วัดอะไรบางอย่างได้อยู่ แต่คนไม่ได้เรียนกฎหมายมาอาจจะเสียเปรียบในการตอบ
- ผมเห็นว่านโยบายให้เลือกได้เหมือนกับเลือกคนไปเลย โดยระหว่างเดือนพฤศจิกายนนี้ทุกข้อเสนออาจปรับปรุงแก้ไขได้โดยการอภิปรายเบื้องต้น เมื่อถึงเดือนธันวาคมจะเป็นการลงคะแนนรับ/ไม่รับเท่านั้น ไม่ปรับปรุงในรายละเอียดอีก
--Taweethaも (พูดคุย) 20:46, 4 พฤศจิกายน 2556 (ICT)
- ผมทดลองแก้คำถามให้สั้นลงและแทนที่คำถามดูครับ โดยเอา burden of proof ออกแล้วเอาประเด็น community consensus แทนที่ (เทียบกับคำถามในปี 2554) --∫G′(∞)dx 13:42, 6 พฤศจิกายน 2556 (ICT)
- คำถามชุดใหม่นับข้อย่อยได้ถึง 7-8 ข้อครับ ถือว่าดีขึ้นครับ แต่ถ้าให้ดีกว่านี้ ผมคิดว่าจัดคำถามย่อยๆ เหล่านี้เข้าข้อใหญ่เพียงสามข้อคือ
- อนุญาโตตุลาการวิกิพีเดียคืออะไรในความคิดของผู้สมัคร
- ผู้สมัครมีคุณสมบัติดีเด่นอะไร และมีสิ่งใดที่อยากปรับปรุง
- คุณสมบัติของผู้สมัครเหมาะ/ไม่เหมาะกับการทำหน้าที่อนุญาโตตุลาการฯ อย่างไร