คุยเรื่องวิกิพีเดีย:การเลือกตั้งคณะอนุญาโตตุลาการ ธันวาคม 2554/เลือกผู้สมัคร
เพิ่มหัวข้อเสียง 20
[แก้]ถ้าไม่ได้เสียงสนับสนุน "เท่ากับหรือมากกว่า" 20 เสียง จะทำอย่างไรครับ ดูแล้วส่วนใหญ่อาจได้ไม่ถึง
อาจเพราะผู้มีสิทธิเลือกตั้ง/ผู้มาใช้สิทธิน้อย?
หรือเพราะพวกเราตั้งเสียงสนับสนุนไว้มากเกินไป? ทั้งมีนโยบายฯ ว่า ตุลาการไม่มีสิทธิเลือกตั้ง ดังนั้น สมมุติว่า ปีนี้มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 30 คน ได้รับเลือกไปเป็นตุลาการ 5 คน, เมื่อมีการเลือกตั้งปีหน้า ถ้า 5 คนนั้นยังอยู่ในตำแหน่ง ก็จะมีผู้มีสิทธิลดลง 5 คน, และถ้าปีนั้น มีได้รับเลือกเพิ่มมาอีก 5 คน โดยที่ทั้ง 10 คนนั้นยังอยู่ในตำแหน่งเมื่อเลือกตั้งปีต่อไป ผู้มีสิทธิเลือกตั้งก็จะลดลงเรื่อย ๆ ๆ ๆ เป็นต้นครับ
หรือเพราะเราไม่ควรกำหนดเสียงสนับสนุนอยู่แล้ว? ในการเลือกตั้งในโลกจริง เขามีบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และบัญชีผู้มีสิทธิที่มาลงคะแนนด้วย เขาจึงกำหนดว่า ได้รับเลือก เมื่อได้เสียงข้างมาจากผู้มีสิทธิที่มาลงคะแนน (แต่คงเพราะของเราไม่ได้ทำระบบแบบนั้น จึงทำเกณฑ์เสียงสนับสนุนขั้นต่ำแทน)
ถ้าจะทำแบบการเลือกตั้งในโลกจริง จะทำได้หรือเปล่านะ? ผมก็สงสัยอยู่ เพราะจะรู้ได้ไงว่า ใครมีสิทธิบ้าง (เป็นผู้ใช้ที่ regularly active, ปัจจุบันต้องให้ กกต. วินิจฉัยเป็นหัว ๆ ไป)
ก็คงมีบ้างที่ผู้ใช้บางคนอาจไม่แน่ใจว่า "เอ๊ะ ตูมีสิทธิหรือยังนะ" หรือบางคนเห็นว่า "ตูเพิ่งมาใหม่ เขาคงไม่นับตู ก็อย่าเพิ่งไปร่วมเลย" ในโลกจริง แก้ปัญหาแบบนี้ด้วยการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งไว้ก่อนแล้ว คนก็มั่นใจว่าตัวมีสิทธิ ส่วนเรื่องผู้มีสิทธิในวิกิพีเดียจะมาใช้สิทธิหรือจะนอนหลับทับสิทธิ ในอนาคตอันใกล้ก็ไม่น่าห่วงเท่าไรครับ เพราะดูการเลือกตั้งปัจจุบัน ผู้ใช้ขาประจำ (ที่มีสิทธิ) ก็มาใช้สิทธิกันพอสมควร
หรือผมอาจคิดมากไป เพราะกว่าจะปิดหีบก็อีกนาน ถึงวันนั้นอาจมีเสียงสนับสนุน "เท่ากับหรือมากกว่า" 20 ก็เป็นได้ ถึงอย่างไรก็ขอมาแสดงความห่วงใยไว้ตรงนี้สักนิดน่ะนะ เผื่อปีหน้าฟ้าใหม่จะได้มีระบบการเลือกตั้งที่ "ชัวร์ ๆ" และ "ชัวร์ขึ้น" ครับ
--Aristitleism 23:59, 18 ธันวาคม 2554 (ICT)
- ผมเห็นว่าประเด็นที่สำคัญอยู่อย่างหนึ่งของเสียง 20 เสียง (ซึ่งผมเองก็เกรงว่าอย่างไรเสียมันก็ไม่น่าจะได้ถึงอยู่แล้ว แต่ทีนี้ดูจากการอภิปรายคร่าว ๆ ก่อนการเลือกตั้งแล้วมันถึง แม้จะผ่าน 20 มาแค่นิดเดียว) คือการที่ผู้ใช้หลาย ๆ คนแม้จะ Regularly active แต่ก็ไม่ใช้สิทธิ์ของตนเพื่อกำหนดอนาคตของวิกิพีเดียไทยก้าวสำคัญ (ว่าไปนั่น ยังกะนักการเมืองซะแล้ว) สักเท่าไรครับ กับอีกประเด็นหนึ่งคือ ผู้ใช้จะแก้ก็แก้อย่างเดียวจริง ๆ ไม่คิดจะใช้สิทธิ์ลงคะแนนในสิ่งที่ดูจะไม่เกี่ยวกับตัวตั้งแต่แรกแล้ว (ซึ่งจริง ๆ แล้วผมว่ามีความสำคัญค่อนข้างมากเพราะ ArbCom นอกจากจะพิจารณาข้อพิพาทยังจะเป็นผู้ให้สัตยาบันในการคัดผู้ตรวจสอบผู้ใช้หรือ CheckUser เพื่อใช้ในการอันเหมาะสม มีเยอะครับ แต่ขอละไว้ในฐานที่เข้าใจ)
- เมื่อพิจารณาจากปัจจัยดังกล่าวนี้ ผมเองอยากให้มีการส่งเสริมการอภิปรายในศาลาชุมชนให้มากขึ้นครับ (แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะต้องเอาทุกเรื่องเข้าศาลา คนเบื่อตายกันพอดีเพราะเดี๋ยวเรื่องนู้นก็เข้าเรื่องนี้ก็เข้า) เพราะว่าลักษณะ Community ของเราไม่ได้ใหญ่แบบใน ENWP ที่ผู้ใช้ส่วนมากจะรับผิดชอบในส่วนใครส่วนมัน (หรือเปล่า อันนี้ผมก็ไม่แน่ใจนะครับ) หรือทำวิธีการอื่นให้ชุมชนตระหนักรู้กันให้มากกว่านี้เกี่ยวกับศาลาชุมชน ซึ่งวิธีการที่ดีวิธีหนึ่งคือรื้อ Signpost ขึ้นมาให้เป็นกิจจะลักษณะกว่าเดิม เน้นเชิงลึกไปทาง THWP มากกว่าข่าวแปล หรือหากมีประเด็นอื่น ๆ ที่ผู้ใช้อื่นจะเสนอก็แล้วแต่สะดวกครับ
- ดูเหมือนว่าผมจะพล่ามมากไปหน่อย ขอตอบคำถามสั้น ๆ ก่อนแล้วกันนะครับ เพิ่งกลับมาจากการไปต่างจังหวัดเลยเขียนยาวไม่ได้เท่าใดนัก
- เราวางตำแหน่งอนุญาโตตุลาการกันไว้สองปี (เข้าใจว่าจะไม่มีการเลือกกลางคัน แต่การเลือกกลางคันอาจหยิบมาพิจารณาอีกได้เพื่อให้ตำแหน่งมีความต่อเนื่อง เช่น ปีนี้ได้ 5 คน ทำหน้าที่สองปี x คน ทำหน้าที่สองปีแล้วเลือกออก 5-x คน ได้รับเลือกมา 5-x คน พอครบสองปีจากเลือกครั้งแรก x คนที่เหลือก็ต้องออก) แล้วอนุญาโตตุลาการจะออกหมด ประเด็นเรื่องผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งไม่น่าจะมีปัญหาครับ เพราะอย่างไรก็ดีทันทีที่ Term expired แล้ว อตก. ก็น่าจะได้สิทธิ์เลือกตั้งกลับมาเหมือนเดิม (ตามที่ผมเข้าใจนะครับ ไม่ถูกต้องทักท้วงได้ครับ)
- ใจจริงอย่างที่ผมพูดสองย่อหน้าไปแล้วว่า Lack of activity เป็นปัญหาสำคัญ ถ้าเราไม่สามารถดึงคนให้เข้ามามีส่วนร่วมได้ (อาจทดลองใช้วิธีการอื่นเช่น Message ที่จะ Deliver ไปหา Active user) เราก็อาจต้องลดจำนวน 20 ลงโดยพิจารณาจาก Activity ของ WP ในขณะนั้นครับ หรือไม่ก็ยกเลิกไปเลยแล้วใช้วิธีคำนวณเป็นเปอร์เซ็นต์ของผู้สนับสนุนต่อผู้สนับสนุนและคัดค้าน (Abstain ไม่คิด) สำหรับบัญชีรายชื่อคาดว่าจัดทำลำบากครับ เพราะต้องพิจารณาข้อกำหนดเรื่องจำนวนการแก้ไขและการ Active ในช่วง Recent before election อีก ผมจึงใช้วิธีว่าเปิดให้ลงโดยเสรีไปก่อน ใครไม่ผ่านก็ไปตัดเอาทีหลังครับ
- จริง ๆ ก็ยอมรับเหมือนกันครับว่ามันค่อนข้างจะขลุกขลักพอสมควร แต่คิดว่าพอเวลาผ่านไปอะไร ๆ น่าจะเข้าที่เข้าทางมากขึ้นครับ เราก็ต้องเรียนรู้การเลือกตั้งจากครั้งนี้ไปแล้วครั้งต่อไปก็ทำให้ดีกว่าเดิมครับ --∫G′(∞)dx 00:38, 19 ธันวาคม 2554 (ICT)
คำวินิจฉัยว่าด้วยระยะเวลาการใช้งานและบัญชีผู้ใช้
[แก้]- มูลเหตุแห่งการพิจารณาคดี
ผู้ใช้ Sasakubo1717 (พูดคุย · เรื่องที่เขียน) ได้ยกข้อพิจารณาการออกเสียงของผู้ใช้ Lux2545 (พูดคุย · เรื่องที่เขียน) ขึ้นพิจารณา (ดูที่ คุยกับผู้ใช้:Lux2545/กรุ 6#รบกวน) ข้อพิจารณาโดยสรุปคือ ผู้ใช้ Lux2545 แม้จะมีการแก้ไขสอดคล้องกับจำนวนการแก้ไขที่ระบุไว้คือ 150 ครั้ง แต่มีบัญชีผู้ใช้วันที่ 08:32, 3 พฤศจิกายน 2554 ซึ่งขัดต่อคุณสมบัติว่าด้วยอายุบัญชีผู้ใช้ซึ่งผู้ลงคะแนนจะต้องมีการแก้ไข 150 ครั้งก่อนวันที่ 30 ตุลาคม 2554 อย่างไรก็ดี ความปรากฏว่าผู้ใช้ดังกล่าวมีบัญชีผู้ใช้ที่สร้างอยู่ก่อนหน้าแล้วคือ แอลยูเอ็กซ์ (พูดคุย · เรื่องที่เขียน) ซึ่งสร้างเมื่อ 20:55, 3 กันยายน 2554 แต่ไม่สามารถใช้บัญชีผู้ใช้เก่าได้ด้วยเหตุผลบางประการ (ดูที่ คำยอมรับ)
- คำวินิจฉัย
การที่ผู้ใช้ Lux2545 ลงคะแนนเสียงโดยสำคัญว่าตนมีสิทธิ์ลงคะแนน เนื่องจากตนมีบัญชีผู้ใช้เก่าอยู่แล้วแต่ไม่สามารถเข้าใช้งานได้ ถือได้ว่าผู้ใช้กระทำการโดยสุจริต ไม่มีเจตนาจะเพิ่มคะแนนเสียงให้ผู้สมัครคนใดคนหนึ่งได้รับการคัดเลือกเพื่อเป็นอนุญาโตตุลาการแต่อย่างใด ทั้งบัญชีผู้ใช้เก่าของผู้ใช้ Lux2545 ก็มีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดเลือกตั้งทั้งหมด คือไม่ถูกระงับการใช้งานและมีการแก้ไขตามที่กำหนด ดังนั้นการใช้สิทธิ์จึงเป็นอันสมบูรณ์ อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาเหตุที่ทำให้ผู้ใช้ Lux2545 ไม่สามารถเข้าใช้บัญชีผู้ใช้เก่าได้ จะเห็นว่าการไม่สามารถเข้าใช้บัญชีผู้ใช้เก่าได้มิได้เกิดจากเหตุสุดวิสัย กล่าวคือ ผู้ใช้ไม่สามารถกลับเข้าใช้บัญชีผู้ใช้เดิมได้เพราะมีสคริปต์ที่จะทำให้ตนเองออกจากระบบเมื่อล็อกอินแล้วอยู่ที่หน้า User:แอลยูเอ็กซ์/common.js ซึ่งเป็นการกระทำเฉพาะบุคคลที่ทำให้ไม่สามารถกลับเข้าใช้บัญชีผู้ใช้เดิมได้ จึงไม่ใช่กรณีการขาดคุณสมบัติลงคะแนนแต่อย่างใด แต่เป็นการปฏิเสธที่จะใช้สิทธิ์ลงคะแนนที่มี นอกจากนี้ แม้สองบัญชีผู้ใช้จะเป็นคนเดียวกันและมิได้มีเจตนาที่จะใช้บัญชีผู้ใช้ในทางสนับสนุนผู้ใช้คนหนึ่งคนใดให้ได้คะแนนเสียงมากขึ้นก็ตาม ก็ไม่อาจนับระยะเวลาระหว่างบัญชีผู้ใช้เข้าด้วยกันได้ เพราะหากยอมให้นับระยะเวลาร่วมกัน อาจทำให้เกิดกรณีอ้างว่าบัญชีผู้ใช้เป็นคนคนเดียวกัน แต่อีกบัญชีหนึ่งขาดคุณสมบัติ อีกบัญชีหนึ่งไม่ขาดคุณสมบัติในภายภาคหน้า
- สรุป
กกต. ขอประกาศไม่นับคะแนนของคุณ Lux2545 ซึ่งได้ลงคะแนนไว้ในหน้าลงคะแนนทุกหน้าที่มี แม้จะได้ถอนการลงคะแนนตามคำทักท้วงและความสมัครใจก็ตาม
- เพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณา กกต. จึงลงนามไว้เป็นสำคัญ
--∫G′(∞)dx 16:14, 26 ธันวาคม 2554 (ICT)