คุยเรื่องวิกิพีเดีย:การถูกคุกคามอันเกี่ยวเนื่องจากแก้ไขวิกิพีเดีย
เพิ่มหัวข้อยกร่างแรก
[แก้]ผมมีข้อเสนอแนะคือ (1) ชื่อหน้านี้ผมคิดว่าอาจจะใช้ว่า "การถูกคุกคามอันเกี่ยวเนื่องจากแก้ไขวิกิพีเดีย" ก็เพียงพอแล้ว เพราะมีการพูดถึงที่มาของปัญหาด้วย และ (2) ผมว่าการเขียนรายละเอียดก็ดีอยู่ แต่คิดว่าควรทำสรุปในลักษณะ executive summary อีกทีหนึ่ง แล้วแยกเป็นอีกหน้าหนึ่ง เช่น การถูกคุกคามอันเกี่ยวเนื่องจากแก้ไขวิกิพีเดีย/ย่อ แล้วทำลิงก์มาหน้านี้อีกทีครับ Horus (พูดคุย) 22:28, 30 กรกฎาคม 2565 (+07)
- @Taweetham, Geonuch, และ Athikhun.suw: ถ้ามีประสบการณ์ช่วยดีลกับวิกิมีเดียหรือหน่วยงานอื่นในเรื่องที่เกี่ยวกับผู้ใช้ถูกคุกคาม หรือมีประสบการณ์หลังบ้านอะไรที่แบ่งปันได้ อยากให้เพิ่มเติมในหน้านี้ด้วยครับ --Horus (พูดคุย) 22:31, 30 กรกฎาคม 2565 (+07)
สรุปว่ามี 3 ประเด็นนะครับ
- เปลี่ยนชื่อ สำเร็จ ดำเนินการแล้ว - และหากจะเปลี่ยนอีกก็ยินดีครับ เนื้อหาอาจจะยังไม่นิ่ง และข้อความจากหน้าที่ลิงก์มาก็ยังไม่นิ่ง อาจพอเปลี่ยนแปลงได้อีก ผมไม่ได้ติดขัดอะไร ขอเพียงให้สิ่งที่ทำลงไปได้ใช้งานและเป็นประโยชน์สูงสุด
- สรุปย่อ สำเร็จ ดำเนินการแล้ว - ผมเข้าใจว่าแบบหน้า essay ในภาษาอังกฤษเขามี "This page in a nutshell" ในกล่องด้านบนก็พอ
/ ยังทำไม่ได้เพราะยังเขียนไม่เสร็จ/ ส่วนแบบ executive summary แยกเป็นอีกหน้าหนึ่งผมยังไม่เคยเห็น ถ้าคุณ Horus จะยกตัวอย่างชี้นำทางมาด้วยก็ดีครับ - แบ่งปันประสบการณ์ สำเร็จ ดำเนินการแล้ว -
ก็คือส่วนที่เหลือที่ยังเขียนไม่เสร็จอีกเช่นกันครับ/ ขอคุณ Horus ช่วย 1.2 สภาพปัญหาและภัยคุกคาม ในข้อ 4 ย่อยด้วยเช่นกันครับ
--Taweethaも (คุย) 07:58, 31 กรกฎาคม 2565 (+07)
- ส่วนสรุปย่อผมอยากให้มีหน้าแยกที่อ่านสบายตามากขึ้น ทำนองเดียวกับ en:Wikipedia:Article_wizard หรือ en:Wikipedia:Introduction น่ะครับ ถึงอย่างไรหน้านี้ก็เก็บไว้สำหรับอ้างอิงหรือคนที่สนใจอ่านข้อมูลเต็มอยู่แล้ว --Horus (พูดคุย) 13:32, 31 กรกฎาคม 2565 (+07)
- @Horus, Geonuch, และ Athikhun.suw: draft แรกนะครับ ยังไม่เรียบร้อย
- ผมรู้สึกว่าก่อนจะเข้าไปถึง list รายการควรมีย่อหน้านำสักนิด แต่ยังไม่มีเวลาไปขัดเกลาถึงขั้นนั้น
- เป็นไปได้มันยาวมากมาแล้วก็น่าจะมีรูปประกอบให้ดูสบายตาอ่านง่ายหรืออ่านข้ามได้ถ้าเห็นรูป
- ส่วนตรงที่เน้นอาจเปลี่ยนเป็นกล่องเป็นสีแดงหรือเป็นตัวหนา ฯลฯ
- หลายอย่างที่ยังไม่มีในภาษาไทย ถ้าแปลมาได้ก็ดี (ไม่เกี่ยวกับหน้านี้แต่ช่วยให้หน้านี้ดีขึ้นหรือแปลแล้วจะกลับมาเปลี่ยนถ้อยคำในหน้านี้ให้สอดคล้องกันก็ดีไปอีกแบบ)
ฝากท่านที่สะดวกดำเนินการต่อไปได้เลย --Taweethaも (คุย) 12:24, 31 กรกฎาคม 2565 (+07)
- ส่วนที่เป็นหลักการทั่วไปเกี่ยวกับ cybersecurity หรือ debate ต่าง ๆ เกี่ยวกับความปลอดภัยหรือการรับผิดชอบตนเอง ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับการถูกคุกคามเพราะเขียนวิกิพีเดีย อาจจะไม่จำเป็นในหน้านี้ครับ เพราะจะทำให้ยาวเปล่า ๆ สิ่งที่น่าเพิ่มลงไปมากกว่าคือ ถ้าพยายามระมัดระวังตัวเองตามปกติแล้วยังโดนคุกคาม ก็อาจจะเพิ่มลงไปว่าเกิดขึ้นเพราะอะไร และจะต้องใช้ความระมัดระวังมากกว่าปกติอย่างไรครับ --Horus (พูดคุย) 13:39, 31 กรกฎาคม 2565 (+07)
- @Horus: บริบทหลายอย่างมีความสำคัญครับ หากมีแต่ตัวเนื้อความว่าให้ทำอย่างไรเลยนั่นคือคนเดือดร้อนแล้วจึงเข้ามาหา แต่สิ่งที่อยากให้เกิดขึ้นคือไม่ป้องกันไม่ให้เกิดความเดือดร้อนแต่ต้น เหลือคนเดือดร้อนส่วนน้อยที่เข้ามา เพิ่งตรวจคำผิดไปส่วนแรกนะครับ / สหรัฐ ผมตามไปดูชื่อในพูดคุย:สหรัฐแล้ว แต่ว่าในหน้านี้มีชื่อประเทศอื่นด้วย และอยู่ในสภาพที่สั้นยาวไม่เท่ากันอยู่ ถ้าเลือกได้จะใช้ชื่อยาว (ชื่อเต็ม) นะครับ แต่ถ้าอยากจะตัดให้สั้นเหมือนกันหมดก็ได้เหมือนกัน / คำว่า ค.ศ. ผมเข้าใจว่าต้องระบุสองครั้งถ้ามีเลข 2 ตัว ถ้าผิดพลาดก็แก้ไขกลับได้ครับ / ผมตั้งใจเขียน ค.ศ. ปน พ.ศ. ไปตามแหล่งที่มาของเรื่องที่เกิดเหตุ ถ้าไม่ชอบใจก็เลือกแก้ไปใช้แบบเดียวกันสักแบบด้วยก็ได้ --Taweethaも (คุย) 20:38, 31 กรกฎาคม 2565 (+07)
- @Horus: ผมไม่เคยเห็น en:Wikipedia:Article_wizard หรือ en:Wikipedia:Introduction มาก่อน สวยดี พอเห็นครั้งแรกนึกถึง WP:TWA ครับ เข้าใจว่าสิ่งที่เขียนทั้งชุดนี้อาจถูกดึงเข้าไปแทรกในหน้าแนะนำต่างถ้าหนึ่งเรามี en:Wikipedia:Article_wizard หรือ en:Wikipedia:Introduction เป็นภาษาไทย --Taweethaも (คุย) 21:00, 31 กรกฎาคม 2565 (+07)
- ส่วนที่เป็นหลักการทั่วไปเกี่ยวกับ cybersecurity หรือ debate ต่าง ๆ เกี่ยวกับความปลอดภัยหรือการรับผิดชอบตนเอง ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับการถูกคุกคามเพราะเขียนวิกิพีเดีย อาจจะไม่จำเป็นในหน้านี้ครับ เพราะจะทำให้ยาวเปล่า ๆ สิ่งที่น่าเพิ่มลงไปมากกว่าคือ ถ้าพยายามระมัดระวังตัวเองตามปกติแล้วยังโดนคุกคาม ก็อาจจะเพิ่มลงไปว่าเกิดขึ้นเพราะอะไร และจะต้องใช้ความระมัดระวังมากกว่าปกติอย่างไรครับ --Horus (พูดคุย) 13:39, 31 กรกฎาคม 2565 (+07)
ยกระดับ
[แก้]ผมคิดว่าหน้านี้สามารถยกระดับเป็นแนวปฏิบัติได้ ถ้ามีการพูดคุยว่าในโครงการจะมีวิธีการจัดการอย่างไรเมื่อเกิดเหตุการณ์ทำนองนี้ เช่น ถ้าผู้ใช้ถูกคุกคามจนต้องเซ็นเซอร์เนื้อหาบางส่วน ถ้าผู้ดูแลระบบถูกคุกคาม ถ้ามีการแฮคเข้ามาแก้ไขข้อมูล ฯลฯ แล้วชุมชนวิกิพีเดียจะทำอย่างไรต่อ --Horus (พูดคุย) 13:45, 31 กรกฎาคม 2565 (+07)
เห็นด้วยครับ / ใจร้อนดีจริงครับ - ก็เรื่องมันสำคัญเร่งด่วนนี่นา / เพื่อให้เป็นไปตามขั้นตอนไม่เกิดการลักลั่น อาจจะต้องปิดทีละเรื่องไปนะครับ โดยอาจจะไล่ปิดเรื่องที่สำคัญน้อยกว่าไปก่อน
- ประเด็นในการแก้ไขข้อความ MediaWiki ส่วนต่างๆ ไปก่อน หน้าไหนไม่ต้องแก้ไขก็ปิดจบ หน้าไหนแก้ไขจะแก้ไขชั่วคราว แก้ไขตลอดไป หรือ แก้ไขทวบทวนบ่อยๆ ก็ได้เหมือนกัน อาจจะย้อนไปว่า sitenotice ควรแสดงผลให้ทุกคนได้เห็นทั่วกันรวมถึง IP ด้วยหรือไม่
- ยกร่างแรกยังไม่ได้เห็นความเห็นของท่านอื่นว่าขาดเกินอะไรไปบ้างเลย ถ้ายาวไปจะแยกเป็นหนัาย่อยหรือเปล่า @Geonuch: เป็นคนที่ขอมาแต่ต้นยังไม่ได้มีโอกาสให้ความคิดเห็น และหลายคนที่แสดงความไม่เห็นด้วยในหน้าเดิมเพราะเข้าใจไปว่าจะมีการทำนโยบายบังคับให้เปลี่ยนแปลงชื่อผู้ใช้ มาอ่านตรงนี้แล้วไม่แน่ใจว่าจะรู้สึกอย่างไร ผมอยากให้คนที่มีกันอยู่ไม่มากนักโอเคกับมันที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ก่อนจะก้าวต่อไปพร้อมกันครับ (แม้ว่าจะค่อนข้างรีบด่วนก็ตามที)
- ประเด็นบางอย่างต้องปรึกษา WMF ก่อนครับ และดูเหมือนว่าเขาจะไม่ได้ตอบเราเร็วนัก (ถ้าจะช่วยตั้งประเด็นที่ต้องการปรึกษาให้ครบถ้วนทีเดียวแล้วถามไปทีเดียวจะดียิ่ง)
- ผมเชื่อในความโปร่งใส เปิดเผยเป็นหลัก แต่บางประเด็นมี Security through obscurity อยู่บ้าง
- คำถามข้างบนแบ่งออกเป็นการทำ risk assessment matrix และออกแบบ mitigation measure ส่วนหนึ่งอาจทำ barometer เหมือน fire danger rating / terrorism threat level / travel advice level ในวิกิพีเดียมีการเอามาใช้ในส่วนระดับการก่อกวนในหน้า วิกิพีเดีย:รายชื่อการก่อกวน นะครับ ถ้าเราบอกว่าระดับไหนจะมีการเตรียมตัวและมีการตอบสนองอย่างไรก็น่าจะดีครับ
--Taweethaも (คุย) 20:46, 31 กรกฎาคม 2565 (+07)
- เอ่อ ข้อเสนอนี้ไม่ได้เร่งรัดอะไรครับ เพียงแต่เสนอไว้เฉย ๆ ถ้าไม่มีคนเอาด้วยก็ค้างไว้ที่ระดับเรียงความผมก็ไม่ขัดข้องอะไรครับ
- ส่วนเรื่องมาตรการต่าง ๆ ผมคิดว่ามันน่าจะออกมาในเชิง unified response เฉพาะของชุมชนวิกิมีเดียหรือวิกิพีเดียภาษาไทยมากกว่า ไม่ต้องปรึกษานอกโครงการหรอกครับ ยกเว้นแต่ว่าเราจะขอยืมทรัพยากรหรือความช่วยเหลือจากภายนอก ก็ค่อยปรึกษาเขา --Horus (พูดคุย) 21:21, 31 กรกฎาคม 2565 (+07)
- ความเห็น ข้อแรก เห็นว่าควรครับ
- ความเห็น ข้อห้า คิดว่าเป็นไอเดียดีครับ
- เป็นกลาง ไม่มีความเห็นเรื่องการทำเป็นแนวปฏิบัติครับ เบื้องต้นคือการมีบทความแนะนำก็ถือว่าดีครับ NP-chaonay (คุย) 17:01, 1 สิงหาคม 2565 (+07)