คุยกับผู้ใช้:Dhanitar
เพิ่มหัวข้อยินดีต้อนรับคุณDhanitar สู่วิกิพีเดียภาษาไทย | |||
---|---|---|---|
สวัสดีครับคุณDhanitar ขอขอบคุณที่กรุณาสละเวลาของท่านมาร่วมกันสร้างสรรค์สารานุกรมเสรีของทุกคน เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการเริ่มต้นใช้งานผมขออนุญาตแนะนำข้อมูลเบื้องต้นดังนี้
|
--taweethaも 14:52, 12 กรกฎาคม 2552 (ICT)
วรรณคดีไทย
[แก้]สวัสดีค่ะ ได้อ่านการแนะนำตัวจากหน้าผู้ใช้แล้วประทับใจ ขอให้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาบทความเกี่ยวกับฉันทลักษณ์ไทยต่อไปนะคะ ลองศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก วิกิพีเดีย:โครงการวิกิวรรณศิลป์ และจากบทความต่างๆ ใน หมวดหมู่วรรณคดี และ หมวดหมู่ฉันทลักษณ์ ค่ะ สำหรับเรื่องลิขสิทธิ์ของกรมศิลปากร หรือลิขสิทธิ์อื่นใดก็ตาม อาจลองศึกษาเรื่องนโยบายลิขสิทธิ์ในวิกิพีเดียก่อน กล่าวง่ายๆ งานเขียนใดๆ ที่อยู่บนสารานุกรมวิกิพีเดีย จะถือว่ายินยอมอนุญาตให้เผยแพร่ได้โดยไม่ต้องขออนุญาต และนำไปดัดแปลงต่อเติมได้โดยไม่ต้องขออนุญาตเช่นกัน (เงื่อนไขการอนุญาตอื่นๆ ดูในลิงก์เกี่ยวกับลิขสิทธิ์นะคะ) ซึ่งจากเงื่อนไขสำคัญ 2 ข้อนี้เป็นสิ่งที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับลิขสิทธิ์แบบ copyright ค่ะ ดังนั้นเราไม่สามารถคัดลอกข้อมูลใดๆ มาจากงานที่มีลิขสิทธิ์แบบ copyright นะคะ ที่ทำได้คือการเขียนบทความหรือเรียบเรียงบทความขึ้นมาใหม่ (ไม่ใช่ ลอก นะคะ) และสามารถใส่ "อ้างอิง" กลับไปยังบทความต้นฉบับได้ค่ะ
สนทนากันเพิ่มเติมได้นะคะ ยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดียภาษาไทยค่ะ --Tinuviel | พูดคุย 20:11, 12 กรกฎาคม 2552 (ICT)
แหะ ถามหลายข้อ ขออนุญาตอธิบายเป็นข้อๆ ดังนี้นะคะ
- เรื่องลายเซ็น : เราจะลงลายเซ็นกันเวลาที่เขียนในหน้าพูดคุยหรือหน้าอภิปรายต่างๆ เท่านั้นค่ะ เพื่อจะได้ทราบว่าใครแสดงความเห็นในส่วนไหน การลงลายเซ็นทำได้โดยพิมพ์ -- ~~~~ ในตอนท้ายหลังจากข้อความแสดงความเห็นของเขา ซึ่งเมื่อกดบันทึก ระบบจะแสดงชื่อของเราและวันเวลาที่บันทึกโดยอัตโนมัติค่ะ หรือจะใช้ปุ่มตรงข้างบนกล่องใส่ข้อความ จะมีปุ่มนึงช่วยเติมลายเซ็นอัตโนมัติ แสดงผลเหมือนกันค่ะ แต่ว่าในหน้าบทความจะไม่มีการลงลายเซ็นนะคะ
- เรื่องกลอนที่แต่งเอง : เนื่องจากตามนโยบายของวิกิพีเดีย จะไม่รับงานต้นฉบับค่ะ เพราะว่าวิกิพีเดียเป็นสารานุกรม คือเป็นการรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่แล้วค่ะ
- เรื่องบทความที่เขียนเอาไว้ในบล็อก : ก็มีบางส่วนที่เอามาลงในวิกิพีเดียได้นะคะ เช่นที่ในบล็อกบอกว่า "...ในหนังสือ การประพันธ์โคลงสี่สุภาพ ของกรมศิลปากร พ.ศ. 2548 หน้า 15 พูดถึงคำประพันธ์ ที่ต่อท้ายว่า "สุภาพ" ว่าเป็นคำประพันธ์ที่มีลักษณะคำประพันธ์เป็นไทยแท้ ด้วยมีข้อจำกัดในเรื่อง รูปวรรณยุกต์ ในกลอนสุภาพมีข้อจำกัดทั้งรูปและเสียงวรรณยุกต์..." เวลาเอามาเขียนเป็นสารานุกรมก็อาจจะปรับประโยคนิดนึง เช่น "...คำประพันธ์แบบไทยที่มีคำว่า "สุภาพ" ต่อท้าย เช่น กลอนสุภาพ โคลงสี่สุภาพ จะหมายถึง ... ฯลฯ" แล้วก็ใส่อ้างอิงเอาไว้ท้ายประโยคนี้ว่า <ref>กรมศิลปากร, ''การประพันธ์โคลงสี่สุภาพ'', สำนักพิมพ์...., กรุงเทพฯ. 2548.</ref> อะไรทำนองนี้ ตามมาตรฐานการเขียนอ้างอิงน่ะค่ะ ลองศึกษาจากบทความอื่นๆ เช่นจากพวกบทความคัดสรรหรือบทความคุณภาพ เพื่อดูแนวทางและตัวอย่างการเขียนก็ได้ค่ะ
เป็นกำลังใจให้นะคะ ^^ --Tinuviel | พูดคุย 13:13, 14 กรกฎาคม 2552 (ICT)
นำมาฝาก- บทกลอนของครู / ฐะปะนีย์ นาครทรรพ และ ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ
[แก้]ตัวอย่างบทประพันธ์ที่ควรจำ
กลอนแปดสุภาพ
กลอนสุภาพพึงจำมีกำหนด กลอนหนึ่งบทสี่วรรคกรองอักษร
วรรคละแปดพยางค์นับศัพท์สุนทร อาจยิ่งหย่อนเจ็ดหรือเก้าเข้าหลักการ ห้าแห่งคำคล้องจองต้องสัมผัส สลับจัดรับรองส่งประสงค์สมาน เสียงสูงต่ำต้องเรียงเยี่ยงโบราณ เป็นกลอนกานท์ครบครันฉันท์นี้เอย
ฐะปะนีย์ นาครทรรพ ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ ประพันธ์
ไม่ทราบที่มา...ค้นจากอินเตอร์เนต...ไม่แน่ใจ อาจจาก ครูบ้านนอกดอทคอม นะคะ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Dhanitar (พูดคุย • หน้าที่เขียน) 06:11, 16 พฤศจิกายน 2552 (ICT)
ลองดูที่สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ratinath 02:39, 31 ตุลาคม 2553 (ICT)