คุณธรรมหลัก
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
คุณธรรมหลัก[1] (อังกฤษ: cardinal virtues) หมายถึง คุณธรรมขึ้นพื้นฐาน 4 ประการ ซึ่งเป็นแม่บทของคุณธรรมอื่น ๆ พบในงานเขียนสมัยคลาสสิก ต่อมาศาสนาคริสต์ได้เพิ่มคุณธรรมทางเทววิทยาอีก 3 ประการ จึงรวมเป็น 7
คุณธรรมหลัก 4 ประการ ประกอบด้วย:
- ความรอบคอบ - ความสามารถในการตัดสินระหว่างสิ่งที่ควรจะเลือกปฏิบัติ เรียกอีกอย่างว่า ปัญญา
- ความยุติธรรม - ความสามารถในการสร้างดุลยภาพระหว่างความต้องการของอัตตากับสิทธิและความต้องการของผู้อื่น
- ความพอประมาณ - ความสามารถในการรู้ถึงความพอดีไม่เกินเลย รู้จักควบคุมตนเอง
- ความกล้าหาญ - ความอดทน ความเข้มแข็ง
คุณธรรมพื้นฐานสี่ประการมาจากปรัชญาดั้งเดิมของเพลโต ต่อมามีนักบุญ เช่น แอมโบรสแห่งมิลาน ออกัสตินแห่งฮิปโป และทอมัส อไควนัส นำมาประยุกต์ใช้
ในภาษาอังกฤษ คำว่า cardinal มาจากภาษาลาตินว่า "cardo" หรือ "บานพับ" ซึ่งหมายถึงสี่งที่ยึดเหนี่ยวประตูที่เปิดไปสู่ชีวิตอันเต็มไปด้วยกิเลส ซึ่งเป็นพื้นฐานที่มีความสำคัญเช่นสำนวนที่ว่า "Cardinal rules" หรือ "กฎพื้นฐาน" ที่ไม่ควรเลี่ยง
Iustitia (ความยุติธรรม) |
Fortitudo (ความอดทน) |
Sapienta (ความรอบคอบ) |
Temperantia (ความพอประมาณ) |
---|---|---|---|
เพลโตเปรียบคุณธรรมสี่ประการกับลำดับชั้นของพลเมืองและความสามารถของมนุษย์ไว้ในหนังสือ อุตมรัฐ อันได้แก่:
- ความพอประมาณ เปรียบกับชนชั้นผู้ใช้แรงงาน ชาวนาและช่างฝีมือ ผู้มีความอยากเช่นสัตว์
- ความอดทน เปรียบกับชนชั้นนักการสงคราม ผู้ประกอบด้วยจิตวิญญาณอันกล้าหาญ
- ความรอบคอบ เปรียบกับชนชั้นปกครอง และการใช้เหตุผล
- ความยุติธรรม ไม่อยู่ในระบบชนชั้นใด และเป็นสิ่งที่แบ่งแยกลักษณะของบุคคลในแต่ละกลุ่มแต่ละชั้นของทั้งสามชั้น
ปรัชญาต่าง ๆ นี้อาจจะนำไปสู่ปรัชญาของชาวยิวใน หนังสือปรีชาญาณ 8:7 ที่กล่าวว่า "[ปัญญา] สอนให้มีความพอประมาณ ความอดทน ความรอบคอบ และความยุติธรรม ซึ่งเป็นสิ่งไม่มีสิ่งใดที่มีประโยชน์เหนือไปกว่า’"
ความเกี่ยวข้องกับคุณธรรมทางเทววิทยา
[แก้]ขณะที่คุณธรรมหลัก 4 ประการ มีประวัติย้อนไปได้ถึงนักปรัชญากรีก และเป็นที่ยอมรับอยู่แพร่หลายในหมู่ผู้ประสงค์จะใช้ชีวิตอย่างมีศีลธรรม แต่คุณธรรมทางเทววิทยาเป็นเรื่องของคริสต์ศาสนิกชนโดยเฉพาะ ดังที่เปาโลอัครทูตเขียนไว้ในพันธสัญญาใหม่
ใน หนังสือปฐมกาล บทที่ 28 ข้อ 12 ยาโคบเล่าว่าเห็นนิมิตบันไดไปสู่สรวงสวรรค์ ตามมุขปาฐะ มีตัวการสำคัญสามตัวขึ้นบันได ซึ่งถูกตั้งชื่อว่าเป็น ศรัทธา ความหวัง และความรัก (ใน คัมภีร์ไบเบิลฉบับพระเจ้าเจมส์ กล่าวว่าเป็น "ความกรุณา" (Charity) แต่ว่าความกรุณาก็มีรากศัพท์มาจากคำว่า caritas อันหมายถึง "ความรัก" เช่นเดิม) โดยทั้งสามได้ถูกกล่าวถึงใน 1 โครินธ์ บทที่ 13 และจากการพาดพิงถึงนี้ คุณสมบัติเจ็ดประการนั้นบางครั้งได้ถูกเรียกรวมกันว่าเป็นคุณธรรมพื้นฐานสี่ประการ (ความรอบคอบ ความอดทน ความยุติธรรม และความพอประมาณ) และสามคุณธรรมจากสวรรค์ (ศรัทธา ความหวัง และความรัก)
ในวรรณกรรมเยาวชนชุด อาณาจักรแห่งกาลเวลา คุณธรรมพื้นฐานนั้นก็มีพื้นฐานมาจากคุณธรรมทั้งเจ็ดประการ (มีคุณสมบัติตามคุณธรรมต่าง ๆ ของพินัยกรรม) ซึ่งถูกใช้ต่อต้านกับบาป 7 ประการ ประกอบด้วย ความอ่อนน้อม ความโอบอ้อมอารี ความรักฉันพี่น้อง ความว่านอนสอนง่าย ความบริสุทธิ์ ความพอประมาณ และความขยันหมั่นเพียร
การพรรณนา
[แก้]ความดีพื้นฐานสี่ประการมักจะถูกพรรณาให้เห็นบ่อย ๆ ว่าเป็น รูปปั้นเชิงเปรียบเทียบของสตรี และเคยเป็นหัวข้อที่เป็นที่นิยมกันในหมู่ปฏิมากรที่มีชื่อเสียง โดยที่คุณสมบัติและชื่อของรูปปั้นดังกล่าวนี้จะผันแปรไปตามความหมายของท้องถิ่นที่แตกต่างกัน
บนสุสานของ เซอร์ จอห์น ฮอปแฮม ในโบสถ์เซนต์แมรี่ เซาท์ ดัลตัน ได้ให้ความหมายของรูปปั้นทั้งสี่ว่า
- ความยุติธรรม (Justice) - ถือดาบในมือ
- ความพอประมาณ (Temperence) - ผสมไวน์และน้ำในเหยือกสองใบ
- ความอดทน (Fortitude) - เสาหินปรักหักพัง
- ความซื่อสัตย์ (Truth) - ถือกระจกและถูกโจมตีโดยอสรพิษ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 14
ลิงก์เพิ่มเติม
[แก้]- Catholic Encyclopedia "Cardinal Virtues"
- Seven Virtues (atheism.com)
- Cardinal Virtues according to Aquinas (New Advent)