ข้ามไปเนื้อหา

คุกกี้โคลน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คุกกี้ดินขณะตากแดด
คุกกี้ดินขณะทำการขึ้นรูป

คุกกี้โคลน บ้างเรียก กาแล็ต (ฝรั่งเศส: galette; แปลว่า คุกกี้) หรือ บงบงแต (ครีโอลเฮติ: bonbon tè; แปลว่า ขนมดิน) เป็นอาหารสำหรับหญิงตั้งครรภ์ในประเทศเฮติ พบได้ตามสลัมต่าง ๆ ตามหัวเมือง เช่น ซีเตซอแลย์ (Cité Soleil) ดินสำหรับทำคุกกี้โคลนถูกรวบรวมมาจากที่ราบสูงทางตอนกลางของประเทศใกล้กับเมืองแอ็งช์ (Hinche) จากนั้นบรรทุกดินเหล่านี้ไปขายที่ตลาดลาซาลีน (La Saline) โดยมีสุภาพสตรีคอยรับซื้ออยู่[1][2][3] จากนั้นดินดังกล่าวจะถูกแปรรูปเป็นคุกกี้ที่เมืองฟอร์ดีม็องช์ (Fort Dimanche) ซึ่งเป็นเมืองที่เกิดจากการบุกรุกพื้นที่คุกเก่าเพื่อสร้างบ้านเรือนจากวัสดุชั่วคราวอย่างสลัม[3] โดยขั้นแรกจะต้องกรองสิ่งสกปรกออกจากดิน (เช่น ก้อนกรวด หญ้า) ออกไป[3] จากนั้นนำดินโคลนที่ผ่านการกรองดังกล่าว มาปรุงรสด้วยเกลือ เนยขาว หรือไขมัน[1][4] ก่อนนำไปขึ้นรูปให้มีลักษณะเป็นแผ่นแบน[1] ตากแดดให้แห้ง[4] คุกกี้ที่เสร็จแล้วจะบรรจุในถังสำหรับใช้วางจำหน่ายตามตลาดหรือร้านตามริมถนน[2]

ชาวเฮติเชื่อว่าคุกกี้โคลนมีแคลเซียม สามารถใช้เป็นยาลดกรด และมีสารอาหาร คุกกี้โคลนจึงกลายเป็นอาหารเสริมสำหรับสตรีมีครรภ์และเด็ก[1][4] แต่แพทย์ได้ออกมาเตือนว่า อาจก่อให้เกิดฟันผุ ท้องผูก หรืออะไรที่แย่กว่านั้น[5][4] นอกจากนี้คุกกี้โคลนมีต้นทุนการผลิตที่ถูกมาก คุกกี้หนึ่งร้อยชิ้นจะมีราคา 5 ดอลลาร์สหรัฐ (เฉลี่ยราวชิ้นละ 5 เซ็นต์) เมื่อ พ.ศ. 2551 ก่อนหน้านี้เคยราคา 1.5 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อ พ.ศ. 2550[2][3] คุกกี้โคลนถูกมองว่าเป็นหนทางสำหรับป้องกันความอดอยาก[1][4] โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงราคาอาหารโลกสูงขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2551[2][6]

ส่วนรสชาติได้รับคำอธิบายกว่า มีสัมผัสนุ่มเหนียวแน่นทำให้ปากแห้งทันที พร้อมกับกลิ่นโคลนฉุน ๆ ติดอยู่ในปากเป็นเวลาหลายชั่วโมง[3]

ในประเทศไทย

[แก้]

ในประเทศไทยเองก็มีการรับประทานอาหารที่ทำจากดิน เรียกว่า ดินลิ่ม ซึ่งทำจากดินเหนียวสีขาว แต่งรสด้วยกะทิ เกลือ หรือผงชูรส[7] นอกจากนั้ยังมีการรับประทานดินอื่น ๆ อีก เช่น ดินโป่ง เช่น ในกลุ่มชาวอาข่าบนดอยแม่มอญ จังหวัดเชียงราย จะขุดดินโป่งที่ขุดได้มาเติมน้ำแล้วปั้นเป็นก้อน อังไฟในครัวจนแห้งสนิทนำมารับประทาน[8] และบางท้องที่มีการรับประทานดินสอพองก็มี[9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Clammer, P. (2016). Haiti. Bradt Travel Guides (ภาษาฝรั่งเศส). Bradt Travel Guides. p. 71. ISBN 978-1-84162-923-0. สืบค้นเมื่อ 2019-12-21.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Agamben, G.; Badiou, A.; Bensaid, D.; Brown, W.; Nancy, J.L.; Rancière, J.; Ross, K.; Žižek, S.; McCuaig, W. (2011). Democracy in What State?. New Directions in Critical Theory. Columbia University Press. p. 109. ISBN 978-0-231-52708-8. สืบค้นเมื่อ 2019-12-21.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 "Poor Haitians on a mud diet". Los Angeles Times. 2008-02-03. สืบค้นเมื่อ 2019-12-21.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 Nevins, D. (2015). Haiti: Third Edition. Cultures of the World (Third Edition) ®. Cavendish Square. p. 123. ISBN 978-1-5026-0802-4. สืบค้นเมื่อ 2019-12-21.
  5. Haitians eat dirt cookies to survive (ภาษาอังกฤษ), เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-21, สืบค้นเมื่อ 2021-10-14
  6. Feeding Frenzy: Land Grabs, Price Spikes, and the World Food Crisis. Greystone Books. 2014. p. 47. ISBN 978-1-77164-014-5. สืบค้นเมื่อ 2019-12-21.
  7. "กินดิน เป็นของว่าง??? ย้อนประวัติและความเป็นมาของ"ดิน" การกินเป็นอาหารเสริม ไม่ใช่แค่ตำนาน แต่มันคือเรื่องจริง!!". Tnews. 29 พฤศจิกายน 2560. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "เจษฎาโอ้โฮ : เปิดสูตรกินดิน บ้านแม่มอญ จ.เชียงราย". สนามข่าว 7 สี. 15 เมษายน 2565. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "สาวใหญ่กินดินสอพองแทนข้าว หมอสระบุรียื่นช่วย". สนุกดอตคอม. 31 พฤษภาคม 2551. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)