คีตาญชลี ราว (นักวิทยาศาสตร์)
คีตาญชลี ราว (อังกฤษ: Gitanjali Rao; เกิด 19 พฤศจิกายน 2005) เป็นนักประดิษฐ์, นักเขียน, นักวิทยาศาสตร์ และผู้สนับสนุนการศึกษาระบบสะเต็มชาวอเมริกัน เธอชนะการแข่งขันนักวิทยาศาสตร์เยาวชนดิสคัฟเวอรีเอดูเคชั่น 3 เอ็มเมื่อปี 2017 เธอมีรายชื่อปราฏในฟอบส์ 30 ที่อายุต่ำกว่า 30 ปี (Forbes 30 Under 30) จากผลงานประดิษฐ์ของเธอ[1] เธอเป็นนักประดิษฐ์เยาว์อันดับต้นของไทม์ (TIME Top young innovator) ในปี 2020 จากผลงานพัฒนาและ "การเวิร์กช็อปการพัฒนา" ของเธอที่จัดขึ้นทั่วโลก[2] ในวันที่ 4 ธันวาคม 2020 เธอได้รับเกียรติปรากฏบนปกของ ไทม์ ในฐานะ "เด็กแห่งปี" (Kid of the Year)[3]
ชีวิตช่วงต้น
[แก้]คีตาญชลีมาจากโลนทรี คอลอราโด เธอเข้าโรงเรียนสะเต็มไฮแลนส์แรนช์[4] เธอมีความฝันจะศึกษาต่อในด้านพันธุศาสตร์และวิทยาการระบาดที่สถาบันเอ็มไอที[5][6][7]
การงาน
[แก้]คีตาญชลีได้รู้ถึงกรณีวิกฤตน้ำที่ฟลินท์จากการชมข่าว[8][9][10] เธอจึงเริ่มมีความสนใจเกี่ยวกับวิธีในการตรวจวัดระดับตะกั่วในน้ำ เธอได้พัฒนาอุปกรณ์ซึ่งใช้คาร์บอนนาโนทูบที่สามารถส่งข้อมูลด้วยระบบบลูทูธ[11] คีตาญชลีมีโอกาสได้ร่สมงานกับนักวิทยาศาสตร์วิจัยที่ 3M[12] ในปี 2017 เธอชนะการแข่งขันนักวิทยาศาสตร์เยาวชนดิสคัฟเวอรีเอดูเคชั่น 3 เอ็ม และได้รับเงินรางวัล $25,000 จากผลงานสิ่งประดิษฐ์ของเธอ เทธิส (Tethys)[5][13][14] เทธิส ประกอบด้วยแบตเตอรีขนาด 9 โวลต์, หน่อยตรวจจับตะกั่ว, ส่วนต่อขยายบลูทูธ และโปรเซสเซอร์[5] สิ่งประดิษฐ์นี้ใช้คาร์บอนนาโนทูบ (carbon nanotubes) ซึ่งค่าความต่างศักย์จะเปลี่ยนเมื่อถูกตะกั่ว[4][15] เธอเรียนรู้เรื่องคาร์บอนนาโนทูบจากเว็บไซต์ของสถาบันเอ็มไอที[16]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Gitanjali Rao". Forbes (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Seven Young Inventors Who See a Better Way". Time (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-24. สืบค้นเมื่อ 2020-12-06.
- ↑ "Meet TIME's First-Ever Kid of the Year". Time. สืบค้นเมื่อ 2020-12-04.
- ↑ 4.0 4.1 Prisco, Jacopo (February 15, 2018). "Gitanjali Rao wants to make polluted water safer with lead detection system". CNN. สืบค้นเมื่อ August 12, 2019.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 "Lone Tree girl named America's Top Young Scientist after inventing lead-detecting sensor to help residents of Flint, Mich". The Denver Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-11-23. สืบค้นเมื่อ 2018-10-23.
- ↑ "What teachers can learn from America's top young scientist, 12-year-old Gitanjali Rao" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2018-10-23.
- ↑ "Indian American Gitanjali Rao is the winner of 2017 Discovery Education 3M Young Scientist Challenge". The American Bazaar (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-10-19. สืบค้นเมื่อ 2018-10-23.
- ↑ "Finding Solutions to Real Problems: An Interview With Gitanjali Rao - Rookie". Rookie (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018-01-11. สืบค้นเมื่อ 2018-10-23.
- ↑ Ryan, Lisa. "11-Year-Old Creates Lead-Detection Device to Help With Flint Water Crisis". The Cut (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-10-23.
- ↑ "Testing the Waters". sn56.scholastic.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-07. สืบค้นเมื่อ 2018-10-23.
- ↑ The Discovery Education 3M Young Scientist Challenge (2017-07-18), 2017 National Finalist: Gitanjali Rao, สืบค้นเมื่อ 2018-10-23
- ↑ "Dr. Kathleen Shafer | Young Scientist Lab". www.youngscientistlab.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-10-23.
- ↑ "The 12 year old inventor protecting your drinking water". BBC (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2018-10-23.
- ↑ News, ABC. "Video: Meet the 11-year-old who developed a new method of testing for lead in water". ABC News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-10-23.
{{cite web}}
:|last=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑ Great Big Story (2018-03-08), This 12-Year-Old Scientist is Taking On Flint's Water Crisis, สืบค้นเมื่อ 2018-10-23
- ↑ "This 11-Year-Old Invented A Cheap Test Kit For Lead In Drinking Water". Fast Company (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-07-13. สืบค้นเมื่อ 2018-10-23.