คิม (อาหาร)
ชื่ออื่น | สาหร่ายแผ่นเกาหลี |
---|---|
ประเภท | สาหร่ายกินได้ |
แหล่งกำเนิด | เกาหลี |
ชาติที่มีอาหารประจำชาติที่เกี่ยวข้อง | เกาหลี |
ส่วนผสมหลัก | สาหร่ายแดง |
จานอื่นที่คล้ายกัน | โนริ |
ชื่อในภาษาเกาหลี | |
ฮันกึล | 김 |
---|---|
อาร์อาร์ | gim |
เอ็มอาร์ | kim |
IPA | /kim/ |
คิม (เกาหลี: 김; อาร์อาร์: gim; เอ็มอาร์: kim)[1] เป็นคำเรียกกว้าง ๆ ของกลุ่มสาหร่ายแห้งสำหรับใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารเกาหลี ประกอบด้วยสาหร่ายหลายชนิดในสกุล Pyropia และ Porphyra เช่น P. tenera, P. yezoensis, P. suborbiculata, P. pseudolinearis, P. dentata และ P. seriata[2][3]
คิม, วากาเมะ และ เคลป์หวาน เป็นสาหร่ายที่มีผลิตและบริโภคมากที่สุดในประเทศเกาหลีใต้[4] คิมแผ่นแห้งมักนำมาใช้ห่อข้าว ส่วนคิมบับทำมาจากคิมห่อข้าวและไส้ซึ่งทำมาจากเนื้อสัตว์หรือผัก คิมสามารถนำมารับประทานเปล่า ๆ โดยผ่านการนำมาย่างกับน้ำมันงา ผ่านการทอดในน้ำมัน หรือนำมาตัดเป็นชิ้นเพื่อทำอาหารจานเคียง (พันชัน) เช่นพูกัก[4][5] การเพาะปลูก คิม ยังเป็นการเพาะปลูกในทะเลที่เก่าแก่ที่สุดในเกาหลี รวมถึงยังมีเรื่องเล่ามุขปาฐะมากมายเกี่ยวกับจุดเริ่มต้นของการเพาะปลูกคิมในเกาหลี[6]
ประวัติศาสตร์
[แก้]มีปรากฏหลักฐานการกล่าวถึงสาหร่ายสำหรับรับประทานที่เก่าแก่ที่สุดในเกาหลีใน ซัมกุกยูซา (คริสต์ทศวรรษ 1280) ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยโครยอ เป็นประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเกาหลียุคสามอาณาจักร (57 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ. 668)[7] มีความตอนหนึ่งในเล่มซึ่งระบุว่าจักรวรรดิชิลลาจะใช้คิมเป็นส่วนหนึ่งของสินสอด มีการสันนิษฐานว่าคิมในยุคนี้ได้มาจากการเก็บเกี่ยวจากโขดหินและไม้ที่พัดมาติดบนฝั่ง มากกว่าที่จะมาจากการเพาะปลูก[8]
ในบันทึกการสำรวจทางภูมิศาสตร์ที่จัดทำในรัชสมัยของพระเจ้าเซจงมหาราช บรรยายคิมว่าเป็นผลิตภัณฑ์ตัวแทนของแคว้นชุงช็อง, คย็องซัง และช็อลลา[9][10][11] ในเอกสารประวัติศาสตร์ยังพบระบุว่าพระเจ้าซ็อนโจแห่งโชซ็อนทรงถูกโน้มน้าวให้ผ่อนปรนความลำบากของชาวบ้านชายฝั่งตะวันออกของเกาหลีซึ่งถูกบังคับให้ผลิตและส่งคิมเป็นเครื่องราชบรรณาการ[12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Abbot, Isabella A. (1988). "Food and Food products from seaweeds". ใน Lembi, Carole A.; Waaland, J. Robert (บ.ก.). Algae and Human Affairs. Cambridge: Cambridge University Press. pp. 141. ISBN 978-0-521-32115-0.
- ↑ "김(음식)". Namu Wiki. สืบค้นเมื่อ 10 March 2021.
- ↑ "홍조류" [Red algae]. Global World Encyclopedia (ภาษาเกาหลี). Vol. 13. Beomhan. 2004. ISBN 89-8048-326-0 – โดยทาง Wikisource.
- ↑ 4.0 4.1 "gim" 김. Doopedia (ภาษาเกาหลี). Doosan Corporation. สืบค้นเมื่อ 5 June 2017.
- ↑ "Gim". Encyclopedia of Korean Culture.
- ↑ 강, 제원. "gim" 김. Encyclopedia of Korean Culture (ภาษาเกาหลี). Academy of Korean Studies.
- ↑ Iryeon (1281). Samguk yusa 삼국유사(三國遺事) [Memorabilia of the Three Kingdoms] (ภาษาจีนคลาสสิก). Goryeo Korea.
- ↑ 재미있는 김 이야기. KBS 2TV (ภาษาเกาหลี). 16 June 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 March 2012. สืบค้นเมื่อ 5 June 2017 – โดยทาง VitaminMD.
- ↑ "The Annals of Sejong Vol. 149". Veritable Records of the Joseon Dynasty. National Institute of Korean History.
- ↑ "The Annals of Sejong Vol. 150". Veritable Records of the Joseon Dynasty. National Institute of Korean History.
- ↑ "The Annals of Sejong Vol. 151". Veritable Records of the Joseon Dynasty. National Institute of Korean History.
- ↑ "The Annals of Seonjo Vol. 136". Veritable Records of the Joseon Dynasty. National Institute of Korean History.
Original text: 東海一帶, 村落蕭條, 居民不念國事之大, 頗以孝敬殿海衣進上爲苦, 係是民情, 故惶恐敢啓 Translation: "Translation: The rural areas of the East Sea look gloom, yet the people severely feel hard submitting gim to Hyokyungjun shrine while the importance of national affairs are ignored. I sincerely beg you since this is also related to the living conditions of the people."