ข้ามไปเนื้อหา

คิงแอนด์บัลลูน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คิงแอนด์บัลลูน
บัตรรายการการแนะนำภาษาญี่ปุ่น
ผู้พัฒนานัมโค
ผู้จัดจำหน่าย
ออกแบบชิเงรุ โยโกยามะ[1]
คาซูโนริ ซาวาโนะ[1]
ชิเงอิจิ อิชิมูระ[1]
แต่งเพลงโนบูยูกิ โอโนงิ[1]
เครื่องเล่นอาร์เคด, เอ็มเอสเอกซ์, โทรศัพท์เคลื่อนที่
วางจำหน่ายอาร์เคด
เอ็มเอสเอกซ์
แนวเกมยิงที่ตายตัว
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว, หลายผู้เล่น (ผลัดกันเล่น)
ระบบอาร์เคดนัมโคกาแล็กเซียน

คิงแอนด์บัลลูน[a] (อังกฤษ: King & Balloon) เป็นวิดีโอเกมอาร์เคดแบบเกมยิงที่ตายตัวซึ่งวางจำหน่ายโดยบริษัทนัมโคใน ค.ศ. 1980 และได้อนุญาตต่อเกมแพลนสำหรับการผลิตและจำหน่ายในสหรัฐ[3] เกมดังกล่าวเดินเครื่องในฮาร์ดแวร์นัมโคกาแล็กเซียน ซึ่งใช้ไมโครโพรเซสเซอร์แซด80 เพื่อขับเคลื่อนการแปลงสัญญาณดิจิทัลเป็นสัญญาณแอนะล็อกสำหรับเสียงพูด โดยเป็นหนึ่งในเกมแรกที่มีการสังเคราะห์เสียง ส่วนพอร์ตเอ็มเอสเอกซ์ได้รับการเปิดตัวที่ประเทศญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1984

รูปแบบการเล่น

[แก้]
ภาพจับหน้าจอ

ผู้เล่นควบคุมชายชุดเขียวสองคนร่วมกับปืนใหญ่สีส้ม ซึ่งประจำการอยู่ที่เชิงเทินของปราสาท โดยยิงใส่กองบัลลูนอากาศร้อน ด้านล่างของปืนใหญ่ พระราชาเคลื่อนพระวรกายไปมาบนพื้นอย่างช้า ๆ ขณะที่เหล่าบัลลูนยิงตอบโต้กลับและพุ่งเข้าหาพระองค์ หากบัลลูนตกถึงพื้น มันจะตั้งอยู่ที่นั่นจนกว่าพระราชาจะทรงพระดำเนินมา เมื่อถึงเวลานั้นบัลลูนดังกล่าวก็จะลอยขึ้นไปพร้อมกับพระองค์ จากนั้นผู้เล่นจะต้องยิงบัลลูนเพื่อปลดปล่อยพระราชาซึ่งจะทรงกระโดดร่มลงสู่พื้นอย่างปลอดภัย ในบางครั้ง เหล่าบัลลูนลงพื้นมากกว่าสองลูกสามารถรวมกันเป็นบัลลูนขนาดใหญ่ลูกเดียว ซึ่งจะให้คะแนนพิเศษและแยกออกจากกันเมื่อถูกโจมตี

ปืนใหญ่ถูกทำลายจากการชนกับบัลลูนหรือการยิงของพวกมัน แต่ถูกแทนที่ด้วยความล่าช้าชั่วขณะโดยไม่มีผลกระทบต่อจำนวนชีวิตที่เหลืออยู่ ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่บัลลูนนำพระราชาออกจากด้านบนของหน้าจอจะสูญเสียไปหนึ่งชีวิต และเกมจะจบลงเมื่อสูญเสียทุกชีวิตไป

เช่นเดียวกับเกมกาแล็กเซียน จำนวนยกจะหยุดเพิ่มขึ้นที่ยก 48

เสียง

[แก้]

พระราชาตรัสเมื่อพระองค์ถูกจับว่า "เฮลป์!" ("ช่วยด้วย!"), ตรัสเมื่อได้รับการช่วยเหลือว่า "แทงกิว" ("ขอบคุณ") และตรัสเมื่อพระองค์ถูกพาพระองค์ไปว่า "บ๊ายบาย!" ("ลาก่อน!")[4] ส่วนบรรดาบัลลูนมีเสียงหึ่ง ๆ แบบเดียวกับบรรดาเอเลียนจากเกมกาแล็กเซียนที่ได้รับการเปิดตัวเมื่อปีก่อนหน้า และการยิงของปืนใหญ่ก็มีเสียงเดียวกันกับเสียงยานของผู้เล่น (ที่ชื่อ "กาแล็กซิป") จากเกมเดียวกันนี้

ทั้งนี้ ในเกมเวอร์ชันภาษาญี่ปุ่นดั้งเดิม พระราชาตรัสภาษาอังกฤษด้วยสำเนียงภาษาญี่ปุ่นขนาดหนัก โดยตรัสว่า "เฮรูปุ" ("เฮลป์!"), "ซังกีว" ("แทงกิว") และ "ไบไบ" ("บ๊ายบาย!") ซึ่งเกมเวอร์ชันสหรัฐมีพระสุรเสียงของพระราชาที่แตกต่างกันออกไปโดยไม่มีสำเนียงภาษาญี่ปุ่น

สิ่งสืบเนื่อง

[แก้]

คิงแอนด์บัลลูนได้รับการนำเสนอในนัมโคมิวเซียมอันคอร์สำหรับเพลย์สเตชัน ซึ่งเป็นเวอร์ชันภาษาญี่ปุ่นเท่านั้น และเกมนี้ได้รับการเปิดตัวคอนโซลทวีปอเมริกาเหนือในนัมโคมิวเซียมแบตเทิลคอลเลกชันสำหรับเพลย์สเตชัน พอร์เทเบิล ซึ่งผู้เล่นสามารถเลือกเสียงของราชา (เวอร์ชันภาษาญี่ปุ่นดั้งเดิม หรือเวอร์ชันสหรัฐที่เปิดตัวภายหลัง) หลังจากปลดล็อกการตั้งค่าเกี่ยวกับความชื่นชอบ นอกจากนี้ เกมดังกล่าวยังปรากฏในนัมโคมิวเซียมเวอร์ชวลอาร์เคด สำหรับเอกซ์บอกซ์ 360 และนัมโคมิวเซียมเมกามิกซ์สำหรับวี

หมายเหตุ

[แก้]
  1. キング&バルーン Kingu & Barūn

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Szczepaniak, John (11 August 2014). The Untold History of Japanese Game Developers (First ed.). p. 201. ISBN 978-0992926007. สืบค้นเมื่อ 12 August 2019.
  2. Steve L. Kent (2001), The ultimate history of video games: from Pong to Pokémon and beyond, Prima, p. 142, ISBN 0-7615-3643-4, สืบค้นเมื่อ 2011-04-02
  3. King & Balloon ที่ Killer List of Videogames

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]