ข้ามไปเนื้อหา

คิงคองยักษ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คิงคองยักษ์
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยไพลสโตซีนตอนต้น–กลาง
~2–0.3Ma
ภาพจำลองของ Gigantopithecus ที่มีร่างใหญ่ คล้ายกอริลลา และมีขนสีส้ม
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
อันดับ: อันดับวานร
อันดับย่อย: Haplorhini
อันดับฐาน: Simiiformes
วงศ์: ลิงใหญ่
เผ่า: Sivapithecini
สกุล: คิงคองยักษ์

von Koenigswald, 1935[1]
สปีชีส์: Gigantopithecus blacki
ชื่อทวินาม
Gigantopithecus blacki
von Koenigswald, 1935[1]

ไจแกนโตพิธิคัส (อังกฤษ: Gigantopithecus) จัดเป็นลิงไม่มีหางที่ใหญ่ที่สุดในวงศ์ลิงใหญ่ (Hominidae) ในอันดับวานร (Primates) มีชีวิตอยู่ในสมัยไพลสโตซีน ในยุคควอเทอร์นารี เมื่อราว 2.0–0.3 ล้านปีก่อน ฟอสซิลถูกค้นพบครั้งแรกโดยบังเอิญ ในปี 1935 โดยนักบรรพชีวิน ชาวเยอรมันลูกครึ่งชาวดัตช์ชื่อ ราล์ฟ ฟอน เคอนิกสวาลด์ ในร้านขายยาแผนโบราณจีนแห่งหนึ่งในฮ่องกง

เคอนิกสวาลด์สังเกตพบว่า ฟันกรามที่พบในร้านขายยาดังกล่าว มีขนาดใหญ่เทอะทะผิดปกติ ซึ่งน่าจะเป็นฟันกราม ของสัตว์ตระกูลไพรเมตชนิดหนึ่ง จึงตั้งชื่อว่า ไจแกนโตพิธิคัส แปลว่า "ลิงยักษ์" โดยคาดว่าอายุประมาณ 700,000 - 125,000 ปีมาแล้ว

ต่อมาในปี 1947 นักวิชาการชาวจีนได้ออกสำรวจ และขุดค้นตามถ้ำหลายแห่ง ในตอนกลาง และตอนใต้ของประเทศจีน ได้พบฟันของไจแกนโตพิธิคัส มากกว่า 1,000 ซี่ และพบกระดูกขากรรไกรด้วย ที่สำคัญคือ พบอยู่ในบริเวณที่เชื่อได้ว่า เคยเป็นแหล่งอาศัยของไจแกนโตพิธิคัส โดยพบปะปนกับกระดูกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ชนิดอื่น ๆ เช่น หมีแพนด้า และโฮโม อีเร็กตัส กระดูกขากรรไกรและฟันของ ไจแกนโตพิธิคัส ที่พบในประเทศจีนนี้ มีอายุระหว่าง 400,000 - 300,000 ปีมาแล้ว ซึ่งตรงกับช่วง สมัยไพลสโตซีน

ในช่วงปี 1977 นักวิชาการชาวอเมริกันอีกคนหนึ่งชื่อ รัสเซลล์ ไคิอชอน ได้สำรวจพื้นที่ทางตอนเหนือ ของประเทศเวียดนาม พบตัวอย่างฟันกราม และขากรรไกรของไจแกนโตพิธิคัสที่ถ้ำแห่งหนึ่ง คาดว่าประมาณ 125,000 ปี ซึ่งใกล้เคียงกับอายุที่เคอนิกสวาลด์ ได้เคยเสนอไว้

ลักษณะของไจแกนโตพิธิคัส

[แก้]

ไจแกนโตพิธิคัส มีรูปร่างลักษณะคล้ายลิงอุรังอุตังญาติในปัจจุบัน มีความสูงอยู่ที่ 2.7 เมตร 9 ฟุต น้ำหนัก 270 กก. มีฟันกรามหรือฟันเคี้ยวมีขนาดใหญ่มาก ขากรรไกรใหญ่เทอะทะ ฟันเขี้ยวใหญ่ แต่ก็ไม่ใหญ่เท่าฟันอื่น ๆ และมีเคลือบฟันหนา เหมือนคน ลักษณะบางอย่างเหมือนกับ Sivapithecus แต่บางอย่างก็คล้ายมนุษย์ แสดงให้เห็นว่า เป็นสายวิวัฒนาการอีกสายหนึ่ง การเดินคล้ายลิงกอริลลา การที่ไจแกนโตพิธิคัส มีขากรรไกรใหญ่เทอะทะ แสดงว่ามีการปรับตัวให้เข้ากับการกิน หรือเคี้ยวอาหารที่ค่อนข้างแข็ง ฟันเขี้ยวก็สึก แสดงถึงความสัมพันธ์กับอุรังอุตังและมนุษย์ การเคี้ยวบด อาหารแข็ง อาหารหลักคือ ต้นไผ่ เบิร์ช และโอ๊ก รวมถึงสมุนไพรและเฟิร์นที่มีค่าต่ำหลายชนิด

การสูญพันธ์

[แก้]

เมื่อ 3 แสนปีก่อน คิงคองยักษ์ชนิดนี้ต้องสูญพันธ์ไปเพราะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงนั่นจึงทำให้ไจแกนโตพิธิคัสต้องสูญพันธ์ไปในที่สุด

อ้างอิง

[แก้]
  1. von Koenigswald, G. H. R. (1935). "Eine fossile Säugetierfauna mit Simia aus Südchina" (PDF). Proceedings of the Koninklijke Akademie van Wetenschappen te Amsterdam. 38 (8): 874–879.