ข้ามไปเนื้อหา

คำสั่งปล่อย (มิเล)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คำสั่งปล่อย
ศิลปินจอห์น เอเวอเรตต์ มิเล
ปีค.ศ. 1853
ประเภทจิตรกรรม

คำสั่งปล่อย, 1746 (อังกฤษ: The Order of Release, 1746) เป็นจิตรกรรมที่เขียนโดยจอห์น เอเวอเรตต์ มิเลจิตรกรสมัยพรีราฟาเอลไลท์ชาวอังกฤษ

“คำสั่งปล่อย” ตั้งแสดงครั้งแรกในปี ค.ศ. 1853 เป็นภาพแรกที่มิเลเริ่มทิ้งการเขียนที่เต็มไปด้วยรายละเอียดแบบพรีราฟาเอลไลท์เช่นงานสมัยแรกๆ อีกสิ่งหนึ่งที่น่าสังเกตคือเป็นภาพที่เอฟฟี เกรย์ (Effie Gray) ยืนเป็นแบบให้

ภาพเขียนเป็นภาพของภรรยาของนายทหารผู้ก่อการชาวสกอตผู้ถูกจำขังหลังจากการก่อความไม่สงบของจาโคไบท์ ใน ค.ศ. 1745 ที่กลับมาพร้อมกับใบสั่งปล่อย ภรรยาในภาพอุ้มลูกแสดงใบสั่งปล่อยให้ทหารอีกผู้หนึ่งดูให้ขณะที่สามีกอดเธออยู่


หนังสือพิมพ์ “Illustrated London News” สรรเสริญภาพนี้และบรรยายว่า:

“หัวเรื่องของภาพเป็นเพียงภาพของภรรยาที่อุ้มลูกอยู่ในอ้อมกอดผู้เดินทางพร้อมกับใบสั่งปล่อยเพื่อมารับสามี ผู้ที่ถูกจับตัวไป[โดยฝ่ายอังกฤษ]ระหว่างสงครามกลางเมือง สามีผู้ที่มีท่าทางอ่อนแอจากการบาดเจ็บที่เพิ่งได้รับ เต็มตื้นไปด้วยความรู้สึกที่ทำได้อยู่อย่างเดียวคือซบลงที่ซอกคอของภรรยาและสะอื้น; ครางว่า, “firm of purpose”, อย่าเสียน้ำตา; ภรรยาไม่มีน้ำตาแต่ตายังคงแดงก่ำจากการร้องไห้ก่อนหน้านั้น; และมองหน้าทหารยามผู้ไม่ยินดียินร้ายด้วยสีหน้าที่เต็มไปด้วยความภูมิใจ, แสดงว่าเธอได้รับชัยชนะต่ออดีตที่เต็มไปด้วยความลำบาก การใช้สีและความเขียนที่สวยงามเป็นความสามารถที่เป็นเลิศ (สำหรับสมัยอันเสื่อมโทรม)“[1]

ฉากหลังที่มืดและไม่มีรายละเอียดแตกต่างไปจากงานเขียนที่เต็มไปด้วยรายละเอียดในยุคแรกของการเขียนของมิเลเช่นงาน “โอฟิเลีย” แต่การแสดงความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดในฉากประวัติศาสตร์ยังคงเป็นแนวหัวเรื่องเดียวกับภาพ “อูเกอโนท์” และ “ซ่อนศัตรู, 1651

ขณะที่เขียนภาพนี้มิเลก็ตกหลุมรักเอฟฟีภรรยาของผู้สนับสนุนคนสำคัญและนักวิจารณ์ศิลปะจอห์น รัสคิน การศึกษาภาพเขียนพบภาพวาดหัวของเอฟฟีด้านหนึ่งและภาพผู้ชายคุกเข่าอย่างยอมอีกด้านหนึ่งและคำเขียนว่า “ยอมรับ” ชื่อภาพเขียนนำไปเป็นชื่อหนังสือ “คำสั่งปล่อย” โดยวิลเลียม มิลเบิร์น เจมส์ (William Milbourne James) เกี่ยวกับรักสามเส้าและรายการวิทยุในปี ค.ศ. 1998[2] นอกจากนั้นก็ยังทำเป็นละครเวทีในเรื่อง “มิสเตอร์รัสคิน” โดยคิม มอร์ริสเซย์ (Kim Morrissey) ในปี ค.ศ. 2003[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Illustrated London News, 7 May, 1853[ลิงก์เสีย]
  2. "Radio play". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-05. สืบค้นเมื่อ 2009-12-31.
  3. "text of Mrs Ruskin". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-06-12. สืบค้นเมื่อ 2004-06-12.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]