คำสมาส
หน้าตา
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
คำสมาส เป็นคำที่เกิดจากการรวมคำสองคำซึ่งต่างก็เป็นคำบาลีหรือสันสกฤตเข้าเป็นคำเดียวกัน โดยการนำมาเรียงต่อกัน ไม่ได้มีการดัดแปลงรูปอักษร มีการออกเสียง อะ อิ อุ ระหว่างคำ เช่น ประวัติ+ศาสตร์ → ประวัติศาสตร์
ลักษณะเฉพาะของคำสมาส
[แก้]- คำมูลที่นำมารวมกันนั้นต้องเป็นคำที่มาจากภาษาบาลีหรือสันสกฤตเท่านั้น
- ก่อนรวมเป็นคำสมาสคำหน้าสามารถประวิสรรชนีย์หรือมีตัวการันต์ได้ แต่เมื่อรวมเป็นคำสมาสแล้วต้องตัดทิ้ง เช่น แพทย์+ศาสตร์ → แพทยศาสตร์; พละ+ศึกษา → พลศึกษา
- มีการอ่านสระท้ายของคำหน้า เช่น ประวัติ+ศาสตร์ → ประวัติศาสตร์ [ประ-หวัด-ติ-สาด] แต่ก็มียกเว้นเช่น สุพรรณบุรี
- การแปลต้องแปลจากหลังมาหน้า (คำตั้งอยู่หลังคำขยายอยู่หน้า) เช่น ราชการ การ เป็นคำตั้ง ราช ขยาย การ = งานของพระเจ้าแผ่นดิน; อุบัติเหตุ เหตุ เป็นคำตั้ง อุบัติ ขยาย เหตุ = เหตุการณ์ที่เกิดโดยไม่คาดคิด แต่ก็มีคำสมาสบางคำที่แปลจากหลังไปหน้า และหน้าไปหลังได้ถ้ามีความหมายเหมือนกัน ก็ถือเป็นคำสมาส เช่น บุตร+ธิดา → บุตรธิดา ไม่ว่าจะแปลจากหลังไปหน้าหรือหน้าไปหลัง ก็แปลว่า ลูก เหมือนกัน
- คำที่ขึ้นต้นด้วย พระ แล้วคำหลังเป็นภาษาบาลีหรือสันสกฤตถือว่าเป็นคำสมาส เช่น พระอาทิตย์, พระองค์ ส่วน พระเจ้า ไม่ใช่คำสมาสเพราะ เจ้า เป็นคำไทยแท้
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิตำรา ภาษาไทย/ไวยากรณ์/การใช้คำ/คำสมาสมีหน้าในหัวข้อ คู่มือเกี่ยวกับ
วัตถุประสงค์