ข้ามไปเนื้อหา

คำยืมภาษากวางตุ้งในภาษาไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โจ๊ก เป็นตัวอย่างของคำภาษากวางตุ้งที่ใช้ทั่วไปในภาษาไทย

ในภาษาไทยมีการใช้คำศัพท์ที่มีที่มาจากภาษากวางตุ้งอยู่จำนวนหนึ่ง เนื่องจากมีชาวจีนกวางตุ้งอยู่ในไทยจำนวนหนึ่ง นอกจากนี้ยังเนื่องมาจากอิทธิพลของภาษากวางตุ้งในสมัยใหม่อีกด้วย

หน้านี้ทำการรวบรวมคำศัพท์ที่เป็นคำยืมมาจากภาษากวางตุ้ง อย่างไรก็ตาม มีบางส่วนที่ยังไม่เป็นที่สรุปที่มาแน่ชัดหรือเป็นไปได้ว่าอาจมีที่มาจากภาษาจีนถิ่นอื่นที่ใกล้เคียงด้วยเช่นกัน

คำอ่านกำกับในที่นี้ยึดตามภาษากวางตุ้งมาตรฐานสำเนียงกว่างโจว อย่างไรก็ตามยังมีบางส่วนที่อาจมาจากภาษากวางตุ้งเซย์ยับ ซึ่งมีความแตกต่างไปเล็กน้อย

รายการคำศัพท์

[แก้]
คำศัพท์ อักษรจีน คำอ่าน หมายเหตุ
ตัวเต็ม ตัวย่อ ยฺหวิดเพ็ง ถอดเสียง
กั๊ก gaak3 กาก ในคำว่า "เสื้อกั๊ก"
เคาหยก 扣肉 kau3 juk6 เคาหยก
งิ้ว jau1 เย้า บ้างก็ว่าคำนี้มาจากภาษากวางตุ้งเซย์ยับ แต่ที่มาของคำที่จริงแล้วยังไม่เป็นที่แน่ชัด[1]
เจ๋ง zeng3 แจง คำนี้ในภาษาจีนส่วนใหญ่หมายถึง "ถูกต้อง" แต่มีการใช้ในความหมายว่า "ดีเยี่ยม" เฉพาะในภาษากวางตุ้ง[2]
โจ๊ก zuk1 จ๊ก [3]
ชา caa4 ฉ่า
ติ่มซำ 點心 点心 dim2 sam1 ติ๋มซั้ม
ไต๋ dai2 ไต๋ ความหมายเดิมในภาษาจีนหมายถึง "ไต้ก้น"
ไต้ฝุ่น 颱風 台风 daai6 fung1 ต่ายฟ้ง ที่มาของคำนี้ยังเป็นที่ถกเถียง[4]
ปักกิ่ง 北京 bak1 ging1 ปั๊กเก๊ง
ปาท่องโก๋ 白糖糕 baak6 tong4 gou1 ปากถ่องโก๊ว ชื่อเรียกนี้มาจากความเข้าใจผิด เดิมทีชื่อนี้ใช้เรียกขนมน้ำตาลทรายขาว[5][6][7]
ม่อง mong4 หม่อง
ลิ้นจี่ 荔枝 lai6 zi1 ไหล่จี๊
หยก juk6 หยก
หยำฉ่า 飲茶 饮茶 jam2 caa4 หยัมฉ่า ความหมายเดิมในภาษากวางตุ้งหมายถึงธรรมเนียมการดื่มชาคู่กับกินติ่มซำ[8]

ชื่อตัวละครในดรากอนบอล หยำฉา ก็มีที่มาเดียวกัน

เย็นตาโฟ 釀豆腐 酿豆腐 joeng6 dau6 fu6 เหยิ่งเต่าฝู่ บ้างก็ว่ามาจากภาษาฮากกา ซึ่งอ่านว่า "งย้องแท้วฟู้" (ngiong theu fu)[9]
ฮะเก๋า 蝦餃 虾饺 haa1 gaau2 ฮ้าก๋าว

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]