คะ
ฮิรางานะ |
คาตากานะ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
การถอดอักษร | ka | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
+ดากูเต็ง | ga | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
+ฮันดากูเต็ง | (nga) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
มังโยงานะ ของฮิรางานะ |
加 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
มังโยงานะ ของคาตากานะ |
加 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รหัสเรียกขาน | 為替のカ (คะวะเซะ โนะ คะ) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รหัสมอร์ส | ・-・・ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อักษรเบรลล์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ยูนิโคด | U+304B, U+30AB | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
คะ เป็นคานะของภาษาญี่ปุ่นตัวหนึ่ง ฮิรางานะเขียนว่า か มีที่มาจากตัวเขียนหวัดของมังโยงานะ 加 และคาตากานะเขียนว่า カ มีที่มาจากส่วนซ้ายของมังโยงานะ 加 ออกเสียงว่า เมื่อเติมดากูเต็งจะออกเสียงว่า ในพยางค์แรก และแปรเสียงอยู่ระหว่าง [ŋa] กับ [ɣa] ในพยางค์อื่น
か มักใช้เป็นคำอนุภาคเพื่อแสดงออกมาเป็นคำถาม และบางครั้งใช้เป็นตัวคั่นลำดับรายการ ส่วน が ใช้แสดงจุดสนใจของประโยคโดยเฉพาะประธานของประโยค
か เป็นอักษรลำดับที่ 6 อยู่ระหว่าง お (โอะ) กับ き (คิ) ในการจัดลำดับอักษรปัจจุบัน ส่วนการจัดลำดับแบบอิโรฮะ か เป็นอักษรลำดับที่ 14 อยู่ระหว่าง わ (วะ) กับ よ (โยะ)
รูปแบบ | โรมาจิ | ฮิรางานะ | คาตากานะ | เสียงอ่าน | รูปแบบ | โรมาจิ | ฮิรางานะ | คาตากานะ | เสียงอ่าน | รูปแบบ | โรมาจิ | ฮิรางานะ | คาตากานะ | เสียงอ่าน |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ธรรมดา | ka | か | カ | คะ-กะ | ธรรมดา +ดากูเต็ง |
ga | が | ガ | กะ-งะ | ธรรมดา +ฮันดากูเต็ง |
(nga) | か゚ | カ゚ | งะ |
kā | かあ, かぁ かー, か~ |
カア, カァ カー, カ~ |
คา-กา | gā | があ, がぁ がー, が~ |
ガア, ガァ ガー, ガ~ |
กา-งา | (ngā) | か゚あ, か゚ぁ か゚ー, か゚~ |
カ゚ア, カ゚ァ カ゚ー, カ゚~ |
งา |
อักษรแบบอื่น
[แก้]อักษรแบบอื่นของคะคือคานะขนาดเล็ก ゕ, ヵ ใช้กำกับตัวเลขหรือคันจิตัวเลขเพื่อแสดงหน่วยนับ อ่านว่า คะ-กะ เหมือนตัวปกติ (ใช้แทน ゖ, ヶ ได้) เช่น 一ヵ月 หมายถึงหนึ่งเดือน ในขณะที่ 一月 หมายถึงเดือนมกราคม
เนื่องจากฮิรางานะ か กับคาตากานะ カ มาจากมังโยงานะตัวเดียวกันและมีรูปร่างคล้ายกัน จึงทำให้มีการประดิษฐ์ฮิรางานะ มาจากตัวเขียนหวัดของมังโยงานะ 可 เพื่อแยกแยะความแตกต่างของทั้งสองตัว แต่เมื่อ ค.ศ. 1900 เมื่องานพิมพ์เป็นที่แพร่หลาย หนังสือตำราของโรงเรียนประถมศึกษาตีพิมพ์ด้วยฮิรางานะ か อย่างเดิม ดังนั้นคานะที่ประดิษฐ์ขึ้นจึงถูกยกเลิกไปโดยปริยาย
ข้อความภาษาญี่ปุ่นทั่วไปไม่เติมฮันดากูเต็งบนคะ แต่นักภาษาศาสตร์อาจเติมฮันดากูเต็งบนคะ か゚, カ゚ เพื่อแสดงเสียง [ŋa]
อักขระ | ยูนิโคด | จิส เอกซ์ 0213[1] | ความหมาย |
---|---|---|---|
か | U+304B | 1-4-11 | ฮิรางานะ คะ |
が | U+304C | 1-4-12 | ฮิรางานะ กะ |
ゕ | U+3095 | 1-4-85 | ฮิรางานะ คะ ตัวเล็ก |
か゚ | U+304B U+309A | 1-4-87 | ฮิรางานะ งะ |
カ | U+30AB | 1-5-11 | คาตากานะ คะ |
ガ | U+30AC | 1-5-12 | คาตากานะ กะ |
ヵ | U+30F5 | 1-5-85 | คาตากานะ คะ ตัวเล็ก |
カ゚ | U+30AB U+309A | 1-5-87 | คาตากานะ งะ |
㋕ | U+32D5 | 1-12-64 | คาตากานะ คะ ในวงกลม |
カ | U+FF76 | ไม่มี | คาตากานะ คะ ครึ่งความกว้าง |
ลำดับขีด
[แก้]ฮิรางานะ か มีลำดับขีด 3 ขีดดังนี้
- ขีดเส้นนอนจากซ้ายไปขวา แล้วโค้งลงล่างโน้มไปทางซ้ายเล็กน้อย แล้วตวัดขึ้นที่ปลาย
- ขีดเส้นโค้งหรือเฉียงลงทางซ้ายตัดกับเส้นแรก
- ขีดเส้นเฉียงลงด้านขวาขนาดเล็ก ถัดจากสองเส้นแรก
คาตากานะ カ มีลำดับขีด 2 ขีดดังนี้
- ขีดเส้นนอนจากซ้ายไปขวา หักลงล่างโน้มไปทางซ้ายเล็กน้อย แล้วตวัดขึ้นที่ปลาย
- ขีดเส้นโค้งหรือเฉียงลงทางซ้ายตัดกับเส้นแรก
คันจิ
[แก้]ตัวอย่างคันจิที่อ่านว่าคะ และขึ้นต้นด้วยคะ มีดังนี้
- 下 化 仮 何 伽 価 佳 加 可 嘉 夏 嫁 家 寡 科 暇 果 架 歌 河
- 火 珂 禍 禾 稼 箇 花 苛 茄 荷 華 菓 蝦 課 嘩 貨 迦 過 霞 蚊
- 俄 峨 我 牙 画 臥 芽 蛾 賀 雅 餓 駕 介 会 解 回 塊 壊 廻 快
- 怪 悔 恢 懐 戒 拐 改 魁 晦 械 海 灰 界 皆 絵 芥 蟹 開 階 貝
- 凱 劾 外 咳 害 崖 慨 概 涯 碍 蓋 街 該 鎧 骸 浬 馨 蛙 垣 柿
อ้างอิง
[แก้]- ↑ JIS拡張漢字(JIS X 0213:2004)(全コード表) (ญี่ปุ่น)