คอเวินท์การ์เดิน
คอเวินท์การ์เดิน | |
---|---|
ภายในอดีตตลาดผักเมื่อปี 2006 | |
ที่ตั้งในเกรเทอร์ลอนดอน | |
โอเอสกริด | TQ303809 |
ลอนดอนโบโร | |
เซเรมอเนียลเคาน์ที | เกรเทอร์ลอนดอน |
ภูมิภาค | |
ประเทศ | England |
รัฐเอกราช | สหราชอาณาจักร |
โพสท์ทาวน์ | ลอนดอน |
เขตรหัสไปรษณีย์ | WC2 |
ตำรวจ | เมทรอพอลิเทิน |
ดับเพลิง | ลอนดอน |
รถพยาบาล | ลอนดอน |
รัฐสภาสหราชอาณาจักร | |
สภาลอนดอน | |
คอเวินท์การ์เดิน (อังกฤษ: Covent Garden) เป็นย่านในลอนดอนติดกับย่านเวสต์เอนด์ ตั้งอยู่ระหว่างเซนต์มาร์ทินส์เลน กับ ดรีวรีเลน[1] คอเวินท์การ์เดินเป็นที่รู้จักจากอดีตตลาดผักผลไม้ในใจกลางของจัตุรัส ที่ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นพื้นที่ช็อปปิงสำคัญ เช่นเดียวกับโรงละครโอเปราหลวง[2]
พื้นที่นี้ในอดีตเคยเป็นทุ่งหญ้า[3] จนกระทั่งราวปี 1200 พื้นที่บางส่วนได้มีก่อกำแพงขึ้นโดยเจ้าอาวาสของเวสต์มินสเตอร์แอบบีเพื่อใช้เป็นพื้นที่เพาะปลูก ต่อมาจึงเรียกพื้นที่นี้ว่า "เดอะการ์เดินออฟดิแอบบีแอนด์เดอะคอนเวินท์" (the garden of the Abbey and Convent; สวนของแอบบีและคอนเวนต์) และต่อมาเป็น "คอนเวินท์การ์เดิน" (the Convent Garden; สวนคอนเวนต์) ต่อมาภายหลังการยุบสลายอาราม ในปี 1552 กษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่หกขณะทรงพระเยาว์ได้พระราชทานพื้นที่นี้ให้กับจอห์น รัสเซิลล์ เอิร์ลแห่งเบิดเฟิร์ดที่หนึ่ง (c.1485–1555) ที่ปรึกษาหลวงของเฮนรีที่แปด พระบิดาของเอ็ดเวิร์ดที่หก ต่อมาเอิร์ลที่สี่ได้ว่าจ้างให้อินิโก โจนส์ก่อสร้างบ้านหรูหราจำนวนหนึ่งขึ้นมาเพื่อเรียกลูกค้าที่มั่งคั่งมาอาศัย โจนส์ออกแบบจัตุรัสลักษณะคล้ายอิตาลีควบคู่ไปกับโบสถ์เซนต์พอลส์ การก่อสร้างลักษณะอาร์เคทแบบนี้เป็นเรื่องใหม่ในลอนดอน คอนเวินท์การ์เดินในสมัยนั้นจึงเป็นเหมือนต้นแบบที่จัตุรัสอื่น ๆ ในเมืองลอกเลียนแบบตาม[4]
ในปี 1654 ได้มีตลาดผักผลไม้เปิดโล่งตั้งขึ้นที่ฝั่งใต้ของจัตุรัส จนท้ายที่สุด ทั้งตลาดและย่านโดยรอบเริ่มพัฒนากลายเป็นย่านที่มีชื่อเสียงในทางลบ มีทั้งโรงเหล้า โรงละคร ร้านกาแฟ และซ่องเปิดให้บริการ[5] ในศตวรรษที่ 18 ย่านนี้เป็นที่รู้จักในฐานะย่านที่เต็มไปด้วยซ่อง จนกระทั่งมีพระราชบัญญัติออกมาเพื่อควบคุมดูแลพื้นที่และให้ก่อสร้างอาคารทรงนีโอคลาสสิกขึ้นโดยชาลส์ ฟาวเลอร์ในปี 1830 เพื่อคลุมและจัดระเบียบส่วนตลาดใหม่ ต่อมาตลาดได้เติบโตขึ้นตามมาด้วยอาคารใหม่ ๆ เช่น โถงบุษบา (Floral Hall), ตลาดชาร์เตอร์ (Charter Market) และตลาดจูบิลี (Jubilee Market) ในปี 1904 การจราจรบริเวณโดยรอบเริ่มคับคั่งขึ้นมากโดยเฉพาะตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 1960s เป็นต้นมา และในปี 1974 ตลาดได้ย้ายไปยังตลาดนิวโคเวินท์การ์เดิน ห่างออกไปราว 9 กิโลเมตรในย่านไนน์เอล์มส์ อาคารตรงกลางเปิดใหม่ในฐานะศูนย์การค้าเมื่อปี 1980 จนถึงปัจจุบันได้กลายเป็นย่านท่องเที่ยวสำคัญของลอนดอน
คอเวินท์การ์เดินตั้งอยู่ระหว่างเขตเวสต์มินสเอตร์กับคามเดิน การเดินทางสะดวกที่สุดคือรถไฟใต้ดินสายพิคะดิลลีที่สถานีคอเวินท์การ์เดิน ที่ซึ่งตั้งแต่ปี 1907 เป็นช่วงเดินทาง 300 หลาจากสถานีเลสเตอร์สแควร์เป็นการเดินทางระหว่างสถานีที่สั้นที่สุดในรถไฟใต้ดินลอนดอน[6]
ภูมิศาสตร์
[แก้]ในอดีต เบดเฟิร์ดเอสเตท (Bedford Estate) ตีกรอบพื้นที่ของย่านคอเวินท์การ์เดินอยู่ในพื้นที่ระหว่างดรีวรีเลนทางตะวันออก เดอะสแตรนด์ทางใต้ เซนต์มาร์ทินส์เลนทางตะวันตก และลองเอเคอร์ทางเหนือ[1] อย่างไรก็ตาม ในภายหลังพื้นที่ของคอเวินท์การ์เดินได้ขยายออกไปจนถึงไฮโฮลบรอน[7]
สถานที่สำคัญ
[แก้]รอยัลโอเปราเฮาส์
[แก้]รอยัลโอเปราเฮาส์ (Royal Opera House) หรือรู้จักในชื่อ "คอเวินท์การ์เดิน"[2] ก่อสร้างขึ้นภายใต้ชื่อ "เธียเทอร์รอยัล" (Theatre Royal) ในปี 1732 ผลงานออกแบบของเอดเวิร์ด เชเพิร์ด[8] อาคารหลังปัจจุบันเป็นอาคารหลังที่สาม สร้างขึ้นหลังโรงอุปรากรเกิดเพลิงไหม้ไปในปี 1808 และ 1857 ส่วนฟาซาด, ทางเข้าโถง และออดิทอเรียมเป็นผลงานออกแบบของเอ็ดเวิร์ด บารี สร้างขึ้นตั้งแต่ปี 1858 ส่วนที่เหลือขอบอาคารล้วนสร้างขึ้นใหม่ด้วยงบประมาณ £178 ล้าน ในทศวรรษ 1990s[9] ออดิทอเรียมหลักของโรงอุปรากรเป็นอาคารขึ้นทะเบียนอนุรักษ์เกรด I เช่นเดียวกับอดีตโถงบุปผา (Floral Hall) ของตลาดเก่า[9]
คอเวินท์การ์เดินพีอาซซา
[แก้]จัตุรัสใจกลางคอเวินท์การ์เดินคือ "คอเวินท์การ์เดิน" แต่ในบางครั้งก็เรียกกันว่า "คอเวินท์การ์เดินพีอาซซา" (Covent Garden Piazza) เพื่อไม่ให้สับสนกับชื่อของย่านโดยรวม จัตุรัสสร้างขึ้นมาตั้งแต่ราวปี 1630 และเป็นจัตุรัสสาธารณะแห่งแรกของลอนดอน สร้างขึ้นในลักษณะลานเปิดโล่งที่เรียกว่าพีอาซซา[10] และนับตั้งแต่ปี 1635 เป็นต้นมา ได้มีที่อยู่อาศัยจำนวนมากสร้างขึ้นรายรอบ ทั้งที่อยู่อาศัยของขุนนางและกษัตริย์ ตลาดคอเวินท์การ์เดินเริ่มมีขึ้นทางตอนใต้ของจัตุรัส กระทั่งในปี 1830 ที่ซึ่งสร้างอาคารตลาดขึ้นมา จัตุรัสนี้ขึ้นชื่อในฐานะที่แสดงการแสดงสาธารณะแห่งหนึ่งของลอนดอน[11] จัตุรัสนี้สร้างขึ้นมาเริ่มแรกโดยเอิร์ลที่สี่แห่งเบิดเฟิร์ด ฟรันซิส รัสเซิลล์ (Francis Russell) ออกแบบโดยอินิโก โจนส์ (Inigo Jones)[10] ผลงานออกแบบของโจนส์ได้รับแนวทางมาจากปิอัซซาดาร์ม (Piazza d'Arme) ในทอสคานี, ปิอัซซาซานมาร์โกในเวนิส, ปิอัซซาซันทิสซิมาอันนูนซิอาตาในฟลอเรนซ์ และปลาสเดอวูฌในปารีส[12] โดยมีตรงกลางของโครงการเป็นจัตุรัสโล่ง แนวคิดที่ใหม่ในลอนดอนนี้กลายเป็นต้นแบบและอิทธิพลสำคัญต่อการออกแบบเมืองลอนดอนในอนาคต[10] เอสเตทต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นในเวลาถัดมา เช่น ลาดโบรค และ กรอสเวเนอร์[4]
ตลาดคอเวินท์การ์เดิน
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
บันทึกเกี่ยวกับ "ตลาดใหม่ในคอเวินท์การ์เดิน" (new market in Covent Garden) ที่เก่าแก่ที่สุดมาจากปี 1654 ที่ซึ่งผู้ค้าเริ่มตั้งแผงขายของกันริมรั้วสวนของบ้านเบดเฟิร์ด (Bedford House)[13]
โบสถ์เซนท์พอลส์
[แก้]โบสถ์เซนต์พอลส์ (St Paul's) หรือ แอคเทอส์ (Actors')[14] สร้างขึ้นในปี 1633 ด้วยงบประมาณ £4,000 อุทิศแด่นักบุญพอล[15] ไม่ทรายแน่ขัดว่าอาคารโบสถ์หลังเดิมหลงเหลือมาถึงปัจจุบันมากเพียงใดภายหลังถูเพลิงไหม้ไปในปี 1795 ระหว่างการทำนุบำรุงโดยธอมัส ฮาร์ดวิค พบว่าเสาที่เชื่อกันว่าเป็นของเดิมน่าจะสร้างขึ้นใหม่ในรัชสมัยกษัตริย์จอร์จหรือพระนางวิคตอเรีย[16]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Christopher Hibbert; Ben Weinreb (2008). "Covent Garden market". The London Encyclopaedia. Pan Macmillan. pp. 213–214. ISBN 978-1-4050-4924-5. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2020. สืบค้นเมื่อ 25 October 2015.
- ↑ 2.0 2.1 Matthew Hoch (28 Apr 2014). A Dictionary for the Modern Singer. Scarecrow Press. p. 46. ISBN 9780810886568. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 January 2021. สืบค้นเมื่อ 23 September 2020.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อLund
- ↑ 4.0 4.1 Nick Lloyd Jones (25 May 2005). "Garden party". The Independent. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 January 2021. สืบค้นเมื่อ 27 July 2010.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อSocialHistory
- ↑ Time Out editors (17 April 2007). "London's shortest tube journey". Time Out London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 June 2012. สืบค้นเมื่อ 20 May 2011.
{{cite web}}
:|author=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑ Robert Thorne (1980). Covent Garden Market: Its History and Restoration. Architectural Press. p. 2. ISBN 0-85139-098-6. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 January 2021. สืบค้นเมื่อ 25 October 2020.
- ↑ Merriam-Webster's collegiate encyclopedia. Merriam-Webster. 2000. p. 407. ISBN 0-87779-017-5. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2020. สืบค้นเมื่อ 25 October 2015.
- ↑ 9.0 9.1 "History". Royal Opera House. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 April 2014. สืบค้นเมื่อ 17 December 2012.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 F. H. W. Sheppard (1970). Survey of London: volume 36: Covent Garden. Institute of Historical Research. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 July 2010. สืบค้นเมื่อ 27 July 2010.
- ↑ "Street performer auditions". Covent Garden London Official Guide. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 December 2010. สืบค้นเมื่อ 1 August 2010.
- ↑ F. H. W. Sheppard (1970). Survey of London: volume 36: Covent Garden. Institute of Historical Research. pp. 64–76. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2011. สืบค้นเมื่อ 28 July 2010.
- ↑ F. H. W. Sheppard (1970). Survey of London: volume 36: Covent Garden. Institute of Historical Research. pp. 129–150. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2011. สืบค้นเมื่อ 27 July 2010.
- ↑ "Welcome to St. Paul's Church website". The Actor's Church. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 June 2012. สืบค้นเมื่อ 26 July 2010.
- ↑ F. H. W. Sheppard (1970). Survey of London: volume 36: Covent Garden. Institute of Historical Research. pp. 98–128. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 June 2011. สืบค้นเมื่อ 26 July 2010.
- ↑ John Summerson (1966). Inigo Jones. Penguin. p. 95. ISBN 9780140208399. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 January 2021. สืบค้นเมื่อ 25 October 2020.
บรรณานุกรม
[แก้]- Anderson, Christy (2007). Inigo Jones and the Classical Tradition. Cambridge University Press. ISBN 0-521-82027-8.
- Banham, Martin (1995). The Cambridge Guide to Theatre. Cambridge University Press. ISBN 0-521-43437-8.
- Boursnell, Clive; Ackroyd, Peter (2008). Covent Garden: The Fruit, Vegetable and Flower Markets. Frances Lincoln Publishers. ISBN 0-7112-2860-4.
- Burford, E. J. (1986). Wits, Wenchers and Wantons – London's Low Life: Covent Garden in the Eighteenth Century. Robert Hale Ltd. ISBN 0-7090-2629-3.
- Kilburn, Mike; Arzoz, Alberto (2002). London's Theatres. New Holland Publishers. ISBN 1-84330-069-9.
- Porter, Roy (1998). London: A Social History. Harvard University Press. ISBN 0-674-53839-0.
- Sheppard, F. H. W. (1970). Survey of London: volume 36: Covent Garden. Institute of Historical Research.
- Summerson, John (1983). Inigo Jones. Penguin. ISBN 0-14-020839-9.
- Thorne, Robert (1980). Covent Garden Market: its History and Restoration. Architectural Press. ISBN 0-85139-098-6.
- Weinreb, Ben; Hibbert, Christopher (2008). The London Encyclopaedia. Pan Macmillan. ISBN 1-4050-4924-3.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Charles Knight, บ.ก. (1843). "Covent Garden". London. Vol. 5. London: C. Knight & Co.
- John Timbs (1867). "Covent Garden". Curiosities of London (2nd ed.). London: J.C. Hotten. OCLC 12878129.
- Vic Gatrell (2013). "Covent Garden". The First Bohemians: Life and Art in London's Golden Age. Penguin UK. ISBN 978-0-7181-9582-3.