ฮกไกโด คอนซาโดเล ซัปโปโระ
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ชื่อเต็ม | ฮกไกโด คอนซาโดเล ซัปโปโระ | |||
---|---|---|---|---|
ฉายา | เค้าแมวเมืองเหนือ | |||
ก่อตั้ง | 1935 | (ในชื่อ โตชิบา โฮริกาวะ โช เอสซี)|||
สนาม | ซัปโปโระโดม ซัปโปโระ | |||
ความจุ | 41,484 ที่นั่ง | |||
เจ้าของ | อิซาโอะ อิชิมิซุ (11.4%) อิชิยะ (9.5%)[1] | |||
ประธาน | ยาชิคาซุ โนโนมูระ | |||
ผู้จัดการ | ไดกิ อิวามาสะ | |||
ลีก | เจลีก ดิวิชัน 2 | |||
2024 | เจลีก ดิวิชัน 1, อันดับที่ 19 (ตกชั้น) | |||
เว็บไซต์ | เว็บไซต์สโมสร | |||
|
สโมสรฟุตบอลฮกไกโดคอนซาโดเลซัปโปโระ (ญี่ปุ่น: 北海道コンサドーレ札幌; โรมาจิ: Hokkaidō Konsadōre Sapporo; อังกฤษ: Hokkaido Consadole Sapporo)[2] เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพของญี่ปุ่น ปัจจุบันอยู่ในระดับเจลีก ดิวิชัน 2 โดยมีสนามเหย้าอยู่ที่เมืองซัปโปโระ จังหวัดฮกไกโด
ชื่อสโมสรคำว่า "คอนซาโดเล" นั้นมาจากคำว่า "คนซะโด" ที่แปลงมาจากการอ่านกลับหลังของคำในภาษาญี่ปุ่นว่า "โดซังโคะ" (道産子) ที่หมายถึง "ลูกหลานชาวฮกไกโด" ผสมกับคำว่า "โอเล" (Ole) ในภาษาสเปน
สนามเหย้า "ซัปโปโระโดม" ของสโมสรนั้นยังเป็นรังเหย้าของทีมเบสบอล ฮกไกโด นิปปอน-แฮม ไฟท์เตอร์ส อีกด้วย เกมเหย้าบางเกมจึงต้องย้ายไปใช้สนาม "ซัปโปโระ อัตสึเบ็ตสึ พาร์ก" แทน
ปัจจุบัน สโมสรมีผู้เล่นทีมชาติไทยมาค้าแข้งอยู่ด้วยคือ สุภโชค สารชาติ ในอดีตสโมสรมีผู้เล่นทีมชาติไทยมาค้าแข้งอยู่ด้วยคือ ชนาธิป สรงกระสินธ์[3][4] และ กวินทร์ ธรรมสัจจานันท์
ประวัติ
[แก้]โตชิบา เอสซี (1935-1995)
[แก้]คอนซาโดเล ซัปโปโระ เริ่มต้นจากการเป็นทีมองค์กรของบริษัทโตชิบาในชื่อ โตชิบา โฮริกาวะ โช ซอคเกอร์ คลับ มีรังเหย้าอยู่ที่เมืองคาวาซากิ จังหวัดคานางาวะ ใกล้กับกรุงโตเกียว ก่อนจะเลื่อนชั้นขึ้นมาเล่นฟุตบอลลีกอาชีพที่เทียบเท่ากับเจลีก ดิวิชัน 2 ในปัจจุบันในปี 1978[5] และเปลี่ยนชื่อมาเป็น โตชิบา ซอคเกอร์ คลับ ในปี 1980 และเลื่อนชั้นขึ้นสู่ JSL ดิวิชัน 1 ได้สำเร็จในปี 1989 แต่เมื่อมีการก่อตั้งเจลีกในปี 1992 สโมสรมีคุณสมบัติไม่ผ่านที่จะเล่นในลีกสูงสุด จึงได้เล่นในลีกรองที่ชื่อ Japan Football League จนถึงปี 1995
สโมสรต้องการจะยกระดับไปเป็นทีมฟุตบอลอาชีพ แต่ในขณะนั้น เจ้าของบริษัทโตชิบามองว่าการจะให้เมืองคาวาซากิเป็นถิ่นฐานของทีมอาจจะไม่เหมาะนัก เพราะเมืองมีสโมสรเวอร์ดี คาวาซากิอยู่แล้วซึ่งกำลังอยู่ในยุครุ่งเรืองเช่นกันและการจะมีสองทีมใหญ่อยู่ในย่านเดียวกันถือเป็นเรื่องยาก จึงได้ตัดสินใจย้ายถิ่นฐานของสโมสรไปที่เมืองซัปโปโระ โดยทางการของเมืองซัปโปโระให้การต้อนรับอย่างเต็มที่เพราะกำลังสร้างสนามซัปโปโระโดมที่มีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2001 ด้วยเหตุนี้ สโมสรจึงได้เปลี่ยนมือเจ้าของจากบริษัทโตชิบาไปสู่บริษัทสโมสรฟุตบอลฮกไกโดจำกัด (มหาชน) และเริ่มร่วมการแข่งขันฟุตบอลลีกอีกครั้งในฤดูกาล 1996 และแม้ปัจจุบัน โตชิบาจะไม่ได้มีผลประโยชน์ทางการเงินใด ๆ กับสโมสรแล้ว แต่สโมสรยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของการใช้สีแดง-ดำซึ่งเป็นสีของบริษัทโตชิบาเอาไว้ ทำให้สีประจำสโมสรไม่เปลี่ยนแปลงไป[6]
คอนซาโดเล ซัปโปโระ (1996-)
[แก้]คอนซาโดเล ซัปโปโระ เริ่มเล่นฟุตบอลลีกในระดับ JFL โดยใช้สิทธิ์ต่อจากโตชิบา เอสซีในฤดูกาล 1996 แต่ก็จบที่อันดับ 5 ไม่สามารถเลื่อนชั้นได้ แต่ในปีต่อมา สามารถคว้าแชมป์ JFL เลื่อนชั้นไปเล่นเจลีก ดิวิชัน 1สำเร็จ
ฤดูกาล 1998 คอนซาโดเล ซัปโปโระ ได้สัมผัสเกมเจลีกระดับสูงสุดเป็นฤดูกาลแรก แต่ก็จบที่อันดับ 14 จากทั้งหมด 18 ทีม ต้องไปเล่นเพลย์ออฟเพื่อหาทีมที่ต้องตกชั้นและได้เลื่อนชั้น และสโมสรก็พ่ายแพ้ให้กับวิสเซล โคเบะและอวิสปาฟูกูโอะกะในทั้ง 4 เกม จนกลายมาเป็นสโมสรแรกที่ต้องตกชั้นในประวัติศาสตร์ของเจลีก เพราะปีต่อมาเจลีกแบ่งออกเป็น 2 ดิวิชันพอดี คือ เจลีก ดิวิชัน 1 และ เจลีก ดิวิชัน 2 ทีตั้งขึ้นมาแทน JFL[7]
ในปี 1999 สโมสรแต่งตั้งทาเกชิ โอกาดะ อดีตโค้ชฟุตบอลทีมชาติญี่ปุ่นเป็นโค้ชประจำสโมสรโดยมีเป้าหมายเพื่อเลื่อนชั้นไปสู่ลีกสูงุดให้สำเร็จ แต่ก็จบที่อันดับ 5 และไม่สามารถเลื่อนชั้นได้ นับเป็นผลเสียหายอย่างมาก เพราะสโมสรได้ทุ่มเม็ดเงินไปมากมาย ส่งผลให้เป็นหนี้มากกว่า 3 พันล้านเยน (ประมาณ 1 พันล้านบาท) เสี่ยงต่อการล้มละลาย
ในปี 2000 สโมสรจึงดำเนินนโยบายรัดเข็มขัดอย่างเข้มงวด เน้นใช้ผู้เล่นที่มาจากการยืมตัวเป็นหลัก และแผนการนี้ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี เพราะสโมสรสามารถคว้าแชมป์เจลีก ดิวิชัน 2 และเลื่อนขึ้นสู่ลีกสูงสุดได้สำเร็จ แถมยังสามารถทำกำไรจากการดำเนินสโมสรได้เป็นครั้งแรก
ในปี 2001 สโมสรจบที่อันดับ 11 ในลีกสูงสุด แต่โค้ชทาเกชิ โอกาดะตัดสินใจไม่ต่อสัญญากับทีมเมื่อจบฤดูกาล แถมยังต้องเสียผู้เล่นสำคัญไปอีกหลายคน จนในปี 2002 สโมสรจบที่อันดับท้ายสุดของตาราง และตกมาอยู่เจลีก ดิวิชัน 2 อีกครั้งหนึ่ง
ในปี 2003 สโมสรพยายามกลับสู่ลีกสูงสุดอีกครั้งหนึ่งด้วยการลงทุนมหาศาล แต่ผลงานกลับไม่ดีอย่างที่ตั้งเป้าไว้ จบที่อันดับที่ 9 และกลายเป็นหนี้สูงถึง 3 พันล้านเยนอีกครั้ง จึงต้องมีการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ รวมถึงการปล่อยผู้เล่นที่ค่าจ้างสูงอย่างยัตสึยูกิ คนโนะออกจากสโมสร ผลพวงจากการรัดเข็มขัดครั้งใหญ่ทำให้ทีมจบที่ท้ายตารางของเจลีก ดิวิชัน 2 ในปี 2004 แต่สถานการณ์ทางการเงินดีขึ้นเพราะเหลือหนี้ต่ำกว่า 100 ล้านเยน
ในปี 2005 และ 2006 สโมสรจบที่อันดับ 6 และปี 2007 สามารถคว้าแชมป์ลีกรองได้ และเลื่อนขึ้นขึ้นสู่เจลีก ดิวิชัน 1 ได้สำเร็จ แต่ก็ต้องกลับสู่เจลีก ดิวิชัน 2 อีกครั้งเมื่อไม่ประสบความสำเร็จในฤดูกาล 2008 กลายเป็นทีมที่ตกชั้นเป็นจำนวนครั้งมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของลีก
ในปี 2011 ทีมจบที่อันดับ 3 ของลีกรอง และเลื่อนชั้นขึ้นสู่ลีกสูงสุด แต่ก็ต้องตกชั้นอีกครั้งในปีต่อมา ด้วยผลงานที่ไม่น่าประทับใจนัก คือ การเสียประตูต่อเกมมากที่สุด ได้แต้มต่อหนึ่งเกมน้อยที่สุด และอัตราการแพ้สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของเจลีกหลังจากผ่านไปแค่ 27 นัด[8] นับว่าเป็นฤดูกาลที่น่าผิดหวังที่สุดในลีกสูงสุดของสโมสร
แต่ในปี 2016 ทีมสามารถคว้าแชมป์ลีกรอง และเลื่อนชั้นขึ้นมาเล่นเจลีก ดิวิชัน 1 ได้สำเร็จในฤดูกาล 2017 และได้ทำสัญญายืมตัวกับผู้เล่นไทยอย่างชนาธิป สรงกระสินธ์ มาจากสโมสรเมืองทอง ยูไนเต็ด และในปี 2022 ได้ทำสัญญายืมตัวกับผู้เล่นไทยอย่างสุภโชค สารชาติ มาจากสโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
เกียรติยศ
[แก้]โตชิบา เอสซี
[แก้]- แชมป์ All Japan Senior Football Championship: 1977
- แชมป์ Japan Soccer League Division 2: 1979,1988-89
- แชมป์ Japan Soccer League Cup: 1981 (แชมป์ร่วมกับ มิตซูบิชิ มอเตอร์)
คอนซาโดเล ซัปโปโระ
[แก้]- แชมป์ Japan Football League: 1997
- แชมป์ เจลีก ดิวิชัน 2: 2000, 2007, 2016
- รองแชมป์ เจลีกคัพ (ลูวาน คัพ): 2019
ผู้เล่นปัจจุบัน
[แก้]- ณ วันที่ 27 สิงหาคม 2024
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว
[แก้]หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
|
|
ฤดูกาล | ดิวิชัน | จำนวนทีม | อันดับ | ผู้ชมต่อเกม | เจลีกคัพ | ถ้วยจักรพรรดิ |
---|---|---|---|---|---|---|
1998 | J | 18 | 14 | 11,953 | รอบแบ่งกลุ่ม | รอบ 4 |
1999 | J2 | 10 | 5 | 10,986 | รอบแรก | รอบ 3 |
2000 | J2 | 11 | 1 | 12,910 | รอบแรก | รอบ 4 |
2001 | J1 | 16 | 11 | 22,228 | รอบแบ่งกลุ่ม | รอบ 3 |
2002 | J1 | 16 | 16 | 19,140 | รอบแบ่งกลุ่ม | รอบ 3 |
2003 | J2 | 12 | 9 | 10,766 | – | รอบ 3 |
2004 | J2 | 12 | 12 | 9,466 | – | รอบก่อนรองชนะเลิศ |
2005 | J2 | 12 | 6 | 11,133 | – | รอบ 3 |
2006 | J2 | 13 | 6 | 10,478 | – | รอบรองชนะเลิศ |
2007 | J2 | 13 | 1 | 12,112 | – | รอบ 3 |
2008 | J1 | 18 | 18 | 14,547 | รอบแบ่งกลุ่ม | รอบ 4 |
2009 | J2 | 18 | 6 | 10,207 | – | รอบ 3 |
2010 | J2 | 19 | 13 | 10,738 | – | รอบ 3 |
2011 | J2 | 20 | 3 | 10,482 | – | รอบ 2 |
2012 | J1 | 18 | 18 | 12,008 | รอบแบ่งกลุ่ม | รอบ 2 |
2013 | J2 | 22 | 8 | 10,075 | – | รอบก่อนรองชนะเลิศ |
2014 | J2 | 22 | 10 | 11,060 | – | รอบ 3 |
2015 | J2 | 22 | 10 | 11,960 | – | รอบ 3 |
2016 | J2 | 22 | 1 | 14,559 | – | รอบ 2 |
2017 | J1 | 18 | 11 | 18,418 | Play-off stage | รอบ 2 |
2018 | J1 | 18 | 4 | 17,222 | รอบแบ่งกลุ่ม | รอบ 4 |
2019 | J1 | 18 | 10 | 18,768 | รองชนะเลิศ | รอบ 2 |
2020 | J1 | 18 | 12 | 4,303 | ก่อนรองชนะเลิศ | – |
2021 | J1 | 20 | 10 | ก่อนรองชนะเลิศ | รอบ 3 |
แหล่งข้อมูล: J. League Data Site
ผู้จัดการทีม
[แก้]- ทะเคโอะ ทะคะฮะชิ (1987–96)
- ฮูโก เฟอร์นานเดซ (1997–98)
- ฮะจิเมะ อิชิอิ (1998)
- ทะเคชิ โอะคะดะ (1999–01)
- เทสึจิ ฮะชิระทะนิ (2002)
- Radmilo Ivančević (2002)
- Chang Woe-ryong (2002)
- João Carlos (2003)
- Chang Woe-ryong (2003)
- มะสะอะคิ ยะนะกิชิตะ (2004–06)
- โทะชิยะ มิอุระ (2007–08)
- โนะบุฮิโระ อิชิซะกิ (2009–12)
- เคอิชิ ไซเซน (2013–14)
- Ivica Barbarić (2014–15)
- ชูเฮ โยะโมะดะ (2015–2017)
- มิไฮโล เปรโตวิช (2018–2024)
- ไดกิ อิวามาสะ (2024–)
ทีมงาน
[แก้]- โยะชิฮิโระ นะสึกะ (โค้ช)
- บรูโน ควาโดรส (โค้ช)
- มะซะรุ โอะคิตะ (โค้ช)
- ยะซุยุกิ อะคะอิเคะ (โค้ชผู้รักษาประตู)
- ชุนซุเกะ โอสึกะ (นักกายภาพบำบัด)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "2013 業務報告書" [2013 Financial report] (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). February 1, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-09-01. สืบค้นเมื่อ January 23, 2015.
- ↑ "Consadole announce name change". J. League. 20 November 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-18. สืบค้นเมื่อ 3 February 2016.
- ↑ คอนซาโดเล่ ซัปโปโร เฉือนหวิว โยโกฮาม่า เอฟซี การันตีอยู่รอด "สุภโชค" ไร้ชื่อ
- ↑ กำลังมั่นใจ! "สุภโชค" หวังพาซัปโปโรโกยแต้ม 6 นัดท้ายเพื่อจบเลขตัวเดียว
- ↑ "北海道コンサドーレ札幌 プロフィール" [Hokkaido Consadole Sapporo; Club profile] (ภาษาญี่ปุ่น). J. League. สืบค้นเมื่อ 3 February 2016.
- ↑ "中村美彦の無頼放談" [A random talk with Yoshihiko Nakamura] (ภาษาญี่ปุ่น). Hokkaido Broadcasting. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-18. สืบค้นเมื่อ 3 February 2016.
- ↑ "Consadole shoot for immediate success in top division". Japan Times. 6 March 2008. สืบค้นเมื่อ 3 February 2016.
- ↑ "Consadole Sapporo: The worst team in J.League history".