ข้ามไปเนื้อหา

คอนกรีตอัดแรง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คอนกรีตอัดแรง เป็นกระบวนการผลิตและเสริมแรงให้ชิ้นส่วน หรือองค์อาคารคอนกรีตให้สามารถรับน้ำหนักได้สูงมากขึ้น

ประวัติ

[แก้]
  • พ.ศ. 2429 P.H. Jackson วิศวกรชาวอเมริกัน ได้จดทะเบียนการก่อสร้างแผ่นพื้นคอนกรีตโดยการขันท่อนเหล็กเพื่อยึดพื้นคอนกรีตเข้าด้วยกัน ซึ่งวิธีการนี้ยังไม่ได้รับความนิยม เนื่องจากส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสูงขึ้น
  • พ.ศ. 2431 C.E.W. Doehring วิศวกรชาวเยอรมัน ได้จะทะเบียนการก่อสร้างแผ่นพื้นคอนกรีตโดยการอัดแรงก่อนการรองรับน้ำหนักบรรทุกในประเทศเยอรมัน
  • พ.ศ. 2451 CHARLES R. STEINER วิศวกรชาวอเมริกัน ได้ขอจดทะเบียนการก่อสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยวิธีการขันน็อตเพื่อดึงเหล็กในขณะที่คอนกรีตกำลังเริ่มแห้งโดยวิธีการนี้ ก็ไม่ได้รับความนิยมอีกเช่นกัน
  • พ.ศ. 2468 R.E. Dill ได้เสนอวิธีการใหม่คือ การใช้การเคลือบเหล็กด้วยสารที่ไม่ทำให้คอนกรีตเกาะกับเหล็ก ซึ่งเมื่อคอนกรีตหดตัวลงก็จะไม่ทำให้เหล็กนั้นหดตามลงไปด้วย ซึ่งวิธีการนี้ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการใช้สารเคลือบเหล็กมากขึ้นไปอีก
  • พ.ศ. 2471 E. Ereyssinet วิศวกรชาวฝรั่งเศส เริ่มใช้ลวดเหล็กซึ่งกำลังประลัยสูง 17,500 กก.ต่อตารางเซนติเมตร ในการผลิตคอนกรีตอัดแรง

ประเภทของคอนกรีตอัดแรง

[แก้]
  • ประเภทอัดแรงก่อน (Pre-tensioning) การอัดแรงประเภทนี้ จะทำการดึงลวดอัดแรงก่อน แล้วจึงหล่อคอนกรีต ตัวอย่างการอัดแรงประเภทนี้ได้แก่ เสาเข็ม คานสำเร็จรูป พื้นสำเร็จรูป เป็นต้น
  • ประเภทอัดแรงภายหลัง (Post-tensioning) การอัดแรงประเภทนี้ จะหล่อคอนกรีตก่อนแล้วจึงทำการดึงลวดอัดแรงภายหลัง ตัวอย่างการอัดแรงประเภทนี้ได้แก่ พื้นแผ่นเรียบไร้คาน (Flat Plate) คานสะพาน (Girder)เป็นต้น

อ้างอิง

[แก้]
ประวัติคอนกรีตอัดแรง
มาตรฐานคอนกรีตอัดแรง
หนังสือ และบทเรียนออนไลน์

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]