ความอัปยศแห่งฆิฆอน
สนามเอลโมลินอนซึ่งใช้จัดการแข่งขัน | |||||||
รายการ | ฟุตบอลโลก 1982 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
| |||||||
วันที่ | 25 มิถุนายน ค.ศ. 1982 | ||||||
สนาม | เอลโมลินอน, ฆิฆอน | ||||||
ผู้ตัดสิน | บ็อบ วาเลนไทน์ (สกอตแลนด์) | ||||||
ผู้ชม | 41,000 |
ความอัปยศแห่งฆิฆอน (อังกฤษ: Disgrace of Gijón) เป็นชื่อที่ใช้เรียกการแข่งขันในฟุตบอลโลก 1982 ระหว่างเยอรมนีตะวันตกกับออสเตรียซึ่งจัดขึ้นที่สนามเอลโมลินอน ในเมืองฆิฆอน ประเทศสเปน ในวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 1982 ซึ่งเป็นการแข่งขันนัดสุดท้ายในรอบแบ่งกลุ่มของกลุ่มที่ 2 หลังจากที่แอลจีเรียและชิลีแข่งขันไปแล้วก่อนหน้านี้หนึ่งวัน ในการแข่งขันนัดนี้ ถ้าเยอรมนีตะวันตกชนะ 1 หรือ 2 ประตูก็จะทำให้เยอรมนีตะวันตกและออสเตรียผ่านเข้ารอบไปด้วยกัน และแอลจีเรียซึ่งเอาชนะเยอรมนีตะวันตกได้ก่อนหน้านี้นั้นตกรอบ เยอรมนีตะวันตกออกนำก่อนใน 10 นาทีแรก และ 80 นาทีที่เหลือหลังจากนั้นกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์เนื่องจากทั้งสองฝ่ายไม่ตั้งใจจะทำประตูเพิ่มเลย ทั้งสองทีมถูกตั้งข้อกล่าวหาว่าล้มบอล แม้ว่าฟีฟ่าจะตัดสินว่าทั้งสองทีมไม่ได้ทำผิดกติกาก็ตาม
สืบเนื่องจากการแข่งขันนัดนี้ และเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันในการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งก่อนหน้านี้ที่อาร์เจนตินา ฟีฟ่าได้เปลี่ยนรูปแบบการแข่งขันในรอบแบ่งกลุ่มโดยให้สองนัดสุดท้ายของแต่ละกลุ่มแข่งขันพร้อมกัน[1] เหตุการณ์นี้มีชื่อเรียกเป็นภาษาเยอรมันว่า "สนธิสัญญาไม่รุกรานกันแห่งฆิฆอน" (Nichtangriffspakt von Gijón) หรือ "ความอัปยศแห่งฆิฆอน" (Schande von Gijón)[2] ในขณะที่ชาวแอลจีเรียเรียกเหตุการณ์นี้ว่า "เรื่องอื้อฉาวแห่งฆิฆอน" (อาหรับ: فضيحة خيخون, อักษรโรมัน: Faḍīḥa Khīkhūn) นอกจากนี้เหตุการณ์นี้ยังมีชื่อเรียกว่า อันชลุส ซึ่งอ้างอิงถึงการผนวกรวมออสเตรียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของนาซีเยอรมนีในปี ค.ศ. 1938[3]
ปูมหลัง
[แก้]ทีม | เล่น | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | ต่าง | คะแนน |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ออสเตรีย | 2 | 2 | 0 | 0 | 3 | 0 | +3 | 4 |
แอลจีเรีย | 3 | 2 | 0 | 1 | 5 | 5 | 0 | 4 |
เยอรมนีตะวันตก | 2 | 1 | 0 | 1 | 5 | 3 | +2 | 2 |
ชิลี | 3 | 0 | 0 | 3 | 3 | 8 | −5 | 0 |
- หมายเหตุ: ชนะได้ 2 คะแนน เสมอได้ 1 คะแนน ถ้าคะแนนเท่ากันจะตัดสินด้วยผลต่างประตูได้เสีย
แอลจีเรียเริ่มต้นการแข่งขันด้วยการพลิกล็อกเอาชนะเยอรมนีตะวันตกด้วยผล 2–1 ในการแข่งขันวันแรก ซึ่งเรียกขานกันว่าเป็น "การพลิกล็อกที่เหลือเชื่อที่สุดนับตั้งแต่เกาหลีเหนือชนะอิตาลีในปี 1966"[4] และเป็น "หนึ่งในเหตุการณ์สุดช็อกในประวัติศาสตร์ของฟุตบอลโลก"[5] แอลจีเรียกลายเป็นชาติแอฟริกาและชาติอาหรับชาติแรกที่เอาชนะชาติจากยุโรปได้ในการแข่งขันฟุตบอลโลก ก่อนจะแพ้ออสเตรีย 0–2 และชนะชิลี 3–2 ในนัดสุดท้าย ซึ่งทำให้แอลจีเรียกลายเป็นชาติจากแอฟริกาและชาติอาหรับชาติแรกที่ชนะได้สองครั้งในการแข่งขันฟุตบอลโลกคราวเดียวกันอีกด้วย[5]
เนื่องจากแอลจีเรียแข่งขันนัดสุดท้ายไปแล้วก่อนที่เยอรมนีตะวันตกจะพบกับออสเตรีย ทีมยุโรปทั้งสองทีมจึงรู้ดีว่าผลการแข่งขันจะมีผลอย่างไรต่อการเข้ารอบหรือตกรอบ ถ้าเยอรมนีตะวันตกชนะ 1 หรือ 2 ประตู ทั้งเยอรมนีตะวันตกและออสเตรียก็จะเข้ารอบไปด้วยกัน ถ้าเยอรมนีตะวันตกชนะมากกว่านั้นเยอรมนีตะวันตกกับแอลจีเรียจะเข้ารอบ แต่ถ้าเสมอกันหรือออสเตรียชนะ เยอรมนีตะวันตกจะตกรอบ
การแข่งขัน
[แก้]สรุปเหตุการณ์
[แก้]หลังจากที่สิบนาทีแรกเป็นไปอย่างดุเดือด เยอรมนีตะวันตกก็ทำประตูแรกได้จากฮอสท์ รูเบ็ช และหลังจากที่มีประตูเกิดขึ้นแล้ว ผู้เล่นฝ่ายที่ครองบอลได้ก็ส่งลูกไปมาระหว่างฝ่ายตัวเอง จนกว่าผู้เล่นของฝ่ายตรงข้ามเข้ามาใกล้ ผู้เล่นก็ส่งลูกกลับไปที่ผู้รักษาประตู บางครั้งผู้เล่นก็เล่นลูกยาวบ้างแต่ก็ไม่ค่อยมีอะไรเกิดขึ้นหลังจากนั้น ไม่ค่อยมีการเข้าแย่งลูกเกิดขึ้นมากนัก และผู้เล่นทั้งสองฝ่ายแทบจะไม่พยายามทำประตูเพิ่มเลย ผู้เล่นออสเตรียเพียงคนเดียวที่ดูเหมือนจะพยายามเล่นอย่างจริงจังคือวัลเทอร์ ชัคเนอร์ แม้ว่าจะทำอะไรไม่ได้มากนักก็ตาม ในขณะที่ว็อลฟ์กัง เดร็มเลอร์ ของเยอรมนีตะวันตกเป็นผู้เล่นหนึ่งในไม่กี่คนที่พยายามทำประตู[2]
ผู้ที่เห็นเหตุการณ์ต่างแสดงความไม่พอใจ เอเบอร์ฮาร์ท สตันเย็ค ผู้บรรยายของสถานีโทรทัศน์ อาแอร์เด ของเยอรมนีตะวันตกไม่บรรยายหรือออกความเห็นใด ๆ กับการแข่งขันอีกเลย โรแบร์ท เซเกอร์ ผู้บรรยายของออสเตรียผิดหวังกับสิ่งที่เห็นและบอกให้ผู้ชมปิดโทรทัศน์ จอร์จ เวกซีย์ นักข่าวของ เดอะนิวยอร์กไทมส์ กล่าวว่าทั้งสองทีม "ดูเหมือนจะร่วมมือกัน" แม้ว่าจะกล่าวเสริมว่าพิสูจน์ได้ยากก็ตาม[4] เอลโกเมร์ซิโอ หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นตีพิมพ์รายงานการแข่งขันนัดนี้ลงในหมวดข่าวอาชญากรรม[6]
ผู้ชมในสนามก็ไม่พอใจและแสดงอาการโกรธเคืองต่อผู้เล่นในสนามเช่นกัน ผู้ชมชาวสเปนตะโกนว่า "Fuera, fuera" ("ออกไป ออกไป") "Argelia, Argelia" ("แอลจีเรีย แอลจีเรีย") และ "Que se besen, que se besen" ("จูบกันเลยสิ จูบกันเลยสิ")[7] ในขณะที่ผู้ชมชาวแอลจีเรียโบกธนบัตรใส่ผู้เล่น แม้แต่ผู้ชมชาวเยอรมันและออสเตรียเองก็แสดงอาการไม่พอใจเช่นกัน เนื่องจากพวกเขาหวังจะได้การแข่งขันที่ดุเดือดเช่นเดียวกับ "ปาฏิหาริย์แห่งกอร์โดบา" ซึ่งออสเตรียเอาชนะเยอรมนีตะวันตกได้ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 1978 แฟนบอลชาวเยอรมันคนหนึ่งถึงกับเผาธงชาติเพื่อประท้วง[8][9]
รายละเอียด
[แก้]เยอรมนีตะวันตก | 1–0 | ออสเตรีย |
---|---|---|
รูเบ็ช 10' | รายงาน |
เยอรมนีตะวันตก
|
ออสเตรีย
|
|
|
หลังจากเหตุการณ์
[แก้]ทีม | เล่น | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ได้ | เสีย | ต่าง | คะแนน |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เยอรมนีตะวันตก | 2 | 2 | 0 | 1 | 6 | 3 | +3 | 4 |
ออสเตรีย | 3 | 2 | 0 | 1 | 3 | 1 | +2 | 4 |
แอลจีเรีย | 3 | 2 | 0 | 1 | 5 | 5 | 0 | 4 |
ชิลี | 3 | 0 | 0 | 3 | 3 | 8 | −5 | 0 |
เนื่องจากเยอรมนีตะวันตกชนะ 1–0 ทำให้มี 4 คะแนนเท่ากับออสเตรียและแอลจีเรีย เยอรมนีตะวันตกและออสเตรียผ่านเข้ารอบต่อไปเนื่องจากผลต่างประตูได้-เสียดีกว่าแอลจีเรีย ออสเตรียผ่านเข้ารอบที่สองไปพบกับฝรั่งเศสและไอร์แลนด์เหนือ ในขณะที่เยอรมนีตะวันตกผ่านเข้าไปพบกับสเปนซึ่งเป็นเจ้าภาพ และอังกฤษซึ่งเอาชนะฝรั่งเศสมาได้ก่อนหน้านี้
หลังจบการแข่งขัน แฟนฟุตบอลชาวเยอรมันบางส่วนที่โกรธแค้นมารวมตัวกันที่โรงแรมที่พักของนักฟุตบอลทีมชาติเยอรมนีตะวันตก พร้อมทั้งขว้างปาไข่และสิ่งของต่าง ๆ ใส่ผู้เล่น ผู้บรรยายทางโทรทัศน์ของทั้งเยอรมนีตะวันตกและออสเตรียไม่พอใจถึงกับบอกให้ผู้ชมเปลี่ยนช่องไปดูรายการอื่นแทน สหพันธ์ฟุตบอลแอลจีเรียประกาศประท้วงอย่างเป็นทางการ นอกจากนั้น ประธานสหพันธ์ฟุตบอลแอลจีเรียแสดงความเห็นว่าบ็อบ วาเลนไทน์ ผู้ตัดสินในการแข่งขันนัดนี้ควรเข้าจัดการ และการที่บ็อบไม่เข้าไปจัดการนั้นเป็นเหตุสมควรที่จะประท้วง[10] อย่างไรก็ตาม ฟีฟ่าพิจารณาว่าไม่มีการทำผิดกติกาเกิดขึ้น และตัดสินใจไม่ดำเนินการใด ๆ ทั้งสองฝ่ายปฏิเสธการสมรู้ร่วมคิด[11] ยุพ แดร์วัล ผู้จัดการทีมชาติเยอรมนีตะวันตกปกป้องลูกทีมจากข้อวิจารณ์ โดยอ้างว่าสภาพร่างกายของอุลลี ชตีลีเคอ และคาร์ล-ไฮนทซ์ รุมเมอนิกเกอไม่พร้อมลงแข่งขัน[12] เยอรมนีตะวันตกผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศไปพบกับอิตาลีก่อนจะแพ้ไปด้วยผล 3–1 ส่วนออสเตรียตกรอบในรอบถัดมา
เนื่องจากการแข่งขันนัดนี้ ทำให้การแข่งขันนับตั้งแต่ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1984 และฟุตบอลโลก 1986 เป็นต้นมา นัดสุดท้ายของรอบแบ่งกลุ่มในกลุ่มเดียวกันจะแข่งพร้อมกัน[13]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Booth, Lawrence; Smyth, Rob (11 August 2004). "What's the dodgiest game in football history?". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 16 June 2018.
- ↑ 2.0 2.1 Smyth, Rob (25 February 2014). "No3: West Germany 1–0 Austria in 1982". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 23 June 2014.
- ↑ Spurling, Jon (2010). Death or Glory The Dark History of the World Cup. p. 67. ISBN 978-1905326-80-8.
- ↑ 4.0 4.1 Vecsey, George (29 June 1982). "When West Germany and Austria danced a Vienna waltz". Pittsburgh Post-Gazette. p. 12. สืบค้นเมื่อ 24 July 2014.
- ↑ 5.0 5.1 Murray, Scott; Walker, Rowan (2008). "June 25 - West Germany 1-0 Austria: 'El Anchluss' (1982)". Day of the Match. Boxtree. p. 183. ISBN 978-0-7522-2678-1.
- ↑ Honigstein, Raphael (29 June 2014). "Germany won't repeat 1982 mistakes". ESPNFC.com. ESPN Internet Ventures, LLC. สืบค้นเมื่อ 16 July 2014.
- ↑ https://www.youtube.com/watch?t=290&v=PosNh9VGMPI
- ↑ "World Cup Tales: The Shame Of Gijon, 1982". twohundredpercent.net. London. 9 May 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-19. สืบค้นเมื่อ 30 December 2010.
- ↑ Doyle, Paul (13 June 2010). "The day in 1982 when the world wept for Algeria". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 30 December 2011.
- ↑ "Cup game labeled as 'fix'". The Register-Guard. Eugene. 26 June 1982. สืบค้นเมื่อ 24 July 2014.
- ↑ Molinaro, John (16 June 2008). "No agreement between Germany and Austria this time around". CBC Sports. สืบค้นเมื่อ 15 September 2009.
- ↑ "German victory in World Cup stirs controversy". Milwaukee Journal. Associated Press; United Press International. 26 June 1982. p. 10. สืบค้นเมื่อ 24 July 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "The Game that Changed the World Cup — Algeria". algeria.com. สืบค้นเมื่อ 15 September 2009.