ความสัมพันธ์เนปาล–ภูฏาน
ภูฏาน |
เนปาล |
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเนปาลกับประเทศภูฏานได้รับการสถาปนาอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1983[1] ประเทศแถบหิมาลัยทั้งสองนี้ไม่มีทางออกสู่ทะเล ซึ่งแยกจากกันโดยรัฐสิกขิมของอินเดียเท่านั้น ทั้งสองประเทศถูกล้อมรอบด้วยประเทศอินเดียและประเทศจีน อย่างไรก็ตาม สถานะความสัมพันธ์ในปัจจุบันยังคงตึงเครียดเนื่องจากวิกฤตการณ์ผู้ลี้ภัยชาวภูฏาน[2]
สถานะ
[แก้]ทั้งเนปาลและภูฏานเป็นประเทศแถบเทือกเขาหิมาลัย และจนถึง ค.ศ. 2008 ประเทศเนปาลก็เป็นระบอบราชาธิปไตยเช่นกัน ทั้งสองประเทศเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งสมาคมเอเชียใต้เพื่อความร่วมมือระดับภูมิภาค (ซาร์ก) ส่วนสมาคมมิตรภาพและวัฒนธรรมเนปาล-ภูฏาน ได้รับการก่อตั้งขึ้นในกาฐมาณฑุเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีใน ค.ศ. 1969[3] ทั้งสองประเทศได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1983[3] สมเด็จพระราชาธิบดีชิกเม เซ็งเค วังชุก แห่งภูฏาน ได้เสด็จเยือนเนปาลเพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดของสมาคมเอเชียใต้เพื่อความร่วมมือระดับภูมิภาคครั้งที่ 3 ใน ค.ศ. 1987 ส่วนสมเด็จพระราชาธิบดีพีเรนทระแห่งเนปาลได้เสด็จเยือนภูฏานเพื่อเข้าร่วมการประชุมสมาคมเอเชียใต้เพื่อความร่วมมือระดับภูมิภาคใน ค.ศ. 1988 ตลอดจนเมื่อเร็ว ๆ นี้ นายกรัฐมนตรีภูฏานเดินทางเยือนเนปาลใน ค.ศ. 2002 และนายกรัฐมนตรีเชอริง ต๊อบเกย์ แห่งภูฏานได้เดินทางเยือนเนปาลใน ค.ศ. 2015 เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดของสมาคมเอเชียใต้เพื่อความร่วมมือระดับภูมิภาค
วิกฤตการณ์ผู้ลี้ภัย
[แก้]ปัญหาสำคัญที่ทั้งสองประเทศเผชิญคือการมีอยู่ของผู้ลี้ภัยชาวภูฏาน ซึ่งอาศัยอยู่ในค่ายข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติเจ็ดแห่งทางตะวันออกของเนปาล โดยการประมาณการตัวเลขแตกต่างกันไปตั้งแต่ 85,000 ถึง 107,000 คน ในขณะที่ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่อ้างสัญชาติภูฏาน แต่ทางภูฏานอ้างว่าพวกเขาเป็น "ผู้อพยพโดยสมัครใจ" ซึ่งสูญเสียสิทธิความเป็นพลเมืองของตน โดยปฏิเสธสถานะผู้ลี้ภัยของตน ผู้ลี้ภัยดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นชาวโลตชัมปา ซึ่งเป็นบุคคลที่นับถือศาสนาฮินดูที่พูดภาษาเนปาลเชื้อสายเนปาล โดยตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศภูฏาน[4][5][6] ทั้งนี้ กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบหลายกลุ่ม รวมถึงกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มลัทธิเหมา ได้ลุกขึ้นมาจากค่ายผู้ลี้ภัย ซึ่งกองกำลังความมั่นคงของภูฏานกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อเหตุระเบิดหลายครั้งในภูฏานก่อนการเลือกตั้งรัฐสภา ค.ศ. 2008[5][6] โดยหลังจากการเจรจาและความพยายามหลายปีไม่ประสบผลสำเร็จ ประเทศอื่น ๆ อีกหลายประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐ ได้ตกลงที่จะรับผู้ลี้ภัย 60,000 คน[6]
การค้า
[แก้]การเติบโตของการค้าระหว่างทั้งสองประเทศได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ผู้ลี้ภัย ส่วนใน ค.ศ. 2008–2009 การส่งออกของภูฏานไปยังเนปาลอยู่ที่ 300 ล้านรูปี ในขณะที่การส่งออกของเนปาลไปยังภูฏานมีมูลค่า 200 ล้านรูปี ทั้งนี้ ใน ค.ศ. 2004 เนปาลและภูฏานได้ลงนามในข้อตกลงเพื่อเพิ่มจำนวนเที่ยวบินระหว่างพาโรกับกาฐมาณฑุจากสัปดาห์ละสองครั้งเป็นเจ็ดเที่ยวบินต่อสัปดาห์ คณะผู้แทนหอการค้าของทั้งสองประเทศได้แลกเปลี่ยนการเยี่ยมชม และใน ค.ศ. 2010 ทั้งสองประเทศได้จัดการเจรจาระดับเลขาธิการร่วมกันเพื่อบรรลุข้อตกลงทางการค้า[7]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Nepal - Bhutan Relations - Ministry of Foreign Affairs Nepal MOFA". mofa.gov.np. สืบค้นเมื่อ 2021-01-11.
- ↑ Dhakal, Suman (March 2003). "Nepal - Bhutan Relations (A Study of Its Past)" (PDF). Digital Himalaya. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 8 Jun 2012. สืบค้นเมื่อ 8 October 2021.
- ↑ 3.0 3.1 Savada, Andrea Matles, บ.ก. (1993). Nepal and Bhutan: Country Studies (3rd ed.). Washington, D.C.: Federal Research Division, Library of Congress. p. 333. ISBN 0-8444-0777-1. OCLC 27429416. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
{{cite book}}
: CS1 maint: postscript (ลิงก์) - ↑ Stuart Notholt (2008). Fields of Fire: An Atlas of Ethnic Conflict. Troubador Publishing Ltd. p. 5.19. ISBN 978-1-906510-47-3.
- ↑ 5.0 5.1 "Background Note: Bhutan - Bureau of South and Central Asian Affairs". U.S. Department of State. สืบค้นเมื่อ 2010-09-18.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 "First of 60,000 refugees from Bhutan arrive in the U.S." CNN. 2008-03-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-21. สืบค้นเมื่อ 2010-09-18.
- ↑ "Bhutan-Nepal trade talks". Bhutan News Service. 2010-03-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-07. สืบค้นเมื่อ 2010-09-18.