ข้ามไปเนื้อหา

ความสัมพันธ์ยูโกสลาเวีย–ลิเบีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความสัมพันธ์ยูโกสลาเวีย–ลิเบีย
Map indicating location of Libyan Arab Jamahiriya and Yugoslavia

ลิเบีย

ยูโกสลาเวีย
ยอซีฟ บรอซ ตีโต และมูอัมมาร์ กัดดาฟี ในกรุงตริโปลี

ความสัมพันธ์ยูโกสลาเวีย–ลิเบีย เป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในอดีตระหว่างสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวียกับลิเบีย โดยทั้งสองประเทศสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการในปี 1955[1]

ในช่วงสงครามเย็น ทั้งสองประเทศมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ยูโกสลาเวียเป็นสมาชิกหลักของขบวนการซึ่งสนับสนุนให้มีความสัมพันธ์ที่เท่าเทียมระหว่างสองกลุ่มในช่วงสงครามเย็น ถึงกระนั้นยูโกสลาเวียก็สนับสนุนความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างชาติยุโรปและเมดิเตอร์เรเนียนที่เป็นสมาชิกขบวนการ เพื่อรับมือกับความริเริ่มรวมกลุ่มเฉพาะชาติเอเชียและแอฟริกาหรือเฉพาะชาติในสามทวีป (เอเชีย แอฟริกา และลาตินอเมริกา) ยูโกสลาเวียมองว่าความริเริ่มเหล่านี้เป็นความพยายามของสหภาพโซเวียตที่จะบ่อนทำลายและลดทอนบทบาทของยูโกสลาเวียและชาติเมดิเตอร์เรเนียนภายในขบวนการ

ยอซีป บรอซ ตีโต ประธานาธิบดียูโกสลาเวีย เดินทางเยือนลิเบียอย่างเป็นทางการสามครั้งในปี 1970, 1977 และ 1979[2] และพระเจ้าอิดริสที่ 1 แห่งลิเบียเสด็จพระราชดำเนินเยือนยูโกสลาเวียระหว่างวันที่ 8–21 สิงหาคม 1969 และพันเอก มูอัมมาร์ กัดดาฟี เดินทางเยือนยูโกสลาเวียในช่วงที่ประธานาธิบดีตีโตยังมีชีวิตอยู่ในปี 1973, 1977 และ 1978[2] ความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างทั้งสองประเทศพัฒนานำไปสู่การพัฒนาการค้าทางการทหารในที่สุด โดยลิเบียเป็นลูกค้าอาวุธหลักของยูโกสลาเวีย และในบรรดาอุปกรณ์อื่น ๆ โดยได้ซื้อเครื่องบินเจ็ตกาเลบ เก-2 ที่ผลิตในยูโกสลาเวีย 116 ลำ [3] และความร่วมมือทางเศรษฐกิจได้พัฒนาในด้านอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ทางการทหารอย่างเดียว โดยมีบริษัทและคนงานชาวยูโกสลาเวียจำนวนหนึ่งทำงานในลิเบีย[4] และมีเที่ยวบินระหว่างซาราเยโว–เบลเกรด–ตริโปลีเปิดให้บริการประมาณ 2 หรือ 3 ครั้งต่อสัปดาห์[4] แม้ว่ายูโกสลาเวียจะเป็นรัฐสังคมนิยมในยุโรปที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดที่สุดกับสหรัฐ แต่ยูโกสลาเวียประณามการทิ้งระเบิดในลิเบียของสหรัฐเมื่อปี 1986

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Radina Vučetić; Pol Bets; Radovan Cukić; Ana Sladojević (2017). Tito u Africi: slike solidarnosti (PDF). Museum of Yugoslavia. ISBN 978-86-84811-45-7.
  2. 2.0 2.1 R. Radonić, Nemanja (2020). Слика Африке у Југославији (1945-1991) (PDF) (Doctoral Thesis). University of Belgrade. สืบค้นเมื่อ 13 January 2021.
  3. Stamov, Gjorgji. "New meaning for an old relationship: Serbia's arms deals during Gaddafi's reign" (PDF). LSE Ideas.
  4. 4.0 4.1 Nikolić, Zvonimir (21 April 2015). "Sjećate li se kada smo išli raditi u Libiju?". Al Jazeera Balkans. สืบค้นเมื่อ 13 January 2021.