ข้ามไปเนื้อหา

ความสัมพันธ์คิวบา–สหรัฐ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความสัมพันธ์คิวบา–สหรัฐอเมริกา
Map indicating location of Cuba and USA

คิวบา

สหรัฐอเมริกา

คิวบาและสหรัฐอเมริกามีความสนใจอีกฝ่ายตั้งแต่ก่อนขบวนการเอกราชของทั้งสองเสียอีก สหรัฐอเมริกามีการเสนอแผนซื้อคิวบาจากจักรวรรดิสเปนหลายครั้ง เมื่ออิทธิพลของสเปนเสื่อมในแคริบเบียน สหรัฐอเมริกาค่อย ๆ ได้ฐานะภาวะครอบงำทางเศรษฐกิจและการเมืองเหนือคิวบา โดยมีการถือหุ้นลงทุนต่างประเทศส่วนใหญ่และการนำเข้าและส่งออกส่วนใหญ่ในกำมือ ตลอดจนมีอิทธิพลแข็งแรงต่อกิจการการเมืองของคิวบา

หลังการปฏิวัติคิวบาปี 2502 ความสัมพันธ์เสื่อมลงมากและมีลักษณะความตึงเครียดและการเผชิญหน้านับแต่นั้น สหรัฐอเมริกาไม่มีความสัมพันธ์ทางทูตอย่างเป็นทางการกับคิวบา และคงการห้ามสินค้าซึ่งทำให้บริษัทสหรัฐอเมริกาไม่สามารถทำธุรกิจกับคิวบาโดยชอบด้วยกฎหมาย การเป็นผู้แทนทางทูตของสหรัฐอเมริกาในคิวบาจัดการโดยส่วนผลประโยชน์สหรัฐอเมริกาในกรุงฮาวานา เช่นเดียวกับมีส่วนผลประโยชน์คิวบาในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ซึ่งต่างเป็นส่วนหนึ่งอย่างเป็นทางการของสถานทูตสวิสเซอร์แลนด์ของสองประเทศ สหรัฐอเมริกากำหนดการห้ามสินค้าเพราะการโอนทรัพย์สินของบริษัทสหรัฐเป็นของรัฐระหว่างการปฏิวัติ และแถลงว่า จะยังคงไว้นานตราบที่รัฐบาลคิวบายังปฏิเสธมุ่งหน้าทำให้เป็นประชาธิปไตยและเคารพสิทธิมนุษยชนมากขึ้น[1] ด้วยหวังเห็นการทำให้เป็นประชาธิปไตยและการนำทุนนิยมกลับมาใช้ประเภทซึ่งเกิดในยุโรปตะวันออกหลังการปฏิวัติ ค.ศ. 1989 ขณะเดียวกัน หลายองค์การ รวมทั้งสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเกือบเป็นเอกฉันท์ เรียกร้องให้ "ยุติการห้ามสินค้าเศรษฐกิจ พาณิชย์และการเงินนานหลายทศวรรษต่อคิวบาของสหรัฐ"[2]

วันที่ 17 ธันวาคม 2557 ประธานาธิบดีสหรัฐ บารัค โอบามา และประธานาธิบดีคิวบา ราอุล กัสโตร ประกาศการเริ่มกระบวนการปรับให้ความสัมพันธ์ระหว่างคิวบาและสหรัฐอเมริกาเป็นปกติ โดยมีการเจรจาลับในประเทศแคนาดาและนครรัฐวาติกัน[3] เป็นเวลาหลายเดือนก่อนหน้า และด้วยความช่วยเหลือของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ความตกลงจะมีการยกเลิกการจำกัดการท่องเที่ยวของสหรัฐบางอย่าง การจำกัดเงินที่ส่งไปให้ลดลง และการตั้งสถานทูตสหรัฐในกรุงฮาวานา (ซึ่งถูกปิดตั้งแต่คิวบาไปฝักใฝ่สหภาพโซเวียตในปี 2504)[4][5]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Cuban Democracy Act of 1992". State Department.
  2. "General Assembly Demands End to Cuba Blockade for Twenty-Second Year As Speakers Voice Concern over Impact on Third Countries". United Nations General Assembly, Department of Public Information, News and Media Division, New York. 29 October 2013. สืบค้นเมื่อ 1 July 2014.
  3. "The Pope's Diplomatic Miracle: Ending the U.S.-Cuba Cold War". The Daily Beast. December 17, 2014. สืบค้นเมื่อ December 18, 2014.
  4. "Cuba's Half Century of Isolation to End".
  5. Baker, Peter (18 December 2014). "Obama Announces U.S. and Cuba Will Resume Relations". New York Times. สืบค้นเมื่อ 18 December 2014.